กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการใจประสานใจ ดูแลห่วงใยผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ (กลุ่มติดบ้าน ติดเตียง) โดยอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เขตเทศบาลตำบลปริก ปีงบประมาณ 2563

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการใจประสานใจ ดูแลห่วงใยผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ (กลุ่มติดบ้าน ติดเตียง) โดยอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เขตเทศบาลตำบลปริก ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 4 เมษายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 49,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุ่งรัชนี เต๊ะหมาน
พี่เลี้ยงโครงการ กองสาธารณสุขฯ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 49,050.00
2 0.00
3 0.00
รวมงบประมาณ 49,050.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันแนวโน้มผู้ป่วย โรคเรื้อรัง ผู้พิการ สังคมผู้สูงอายุ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ทำให้ภาครัฐสูญเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ในกรณีที่มีการรักษาในโรงพยาบาลและการนอนโรงพยาบาล  เพื่อลดค่าใช้จ่าย การดูแลสุขภาพที่ยั่งยืนและการมีส่วนร่วมในการดูแลระดับ ปัจเจค ครอบครัวและชุมชนถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถดูแลสุขภาพผู้ป่วย เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนให้เกิดความพิการของผู้ป่วย แกนนำสุขภาพในชุมชนถือเป็นกำลังหลักและสมารถรู้ปัญหาสุขภาพคนในชุมชนได้ดี บทบาทหน้าที่ที่สำคัญของแกนนำสุขภาพในการให้บริการด้านสุขภาพในเชิงรุก จึงจำเป็นต้องมีความรู้ และทักษะในการให้คำแนะนำ ให้ความช่วยเหลือ ส่งต่อกลุ่มเป้าหมายในชุมชนอย่างถูกวิธี เช่น คำแนะนำเรื่องการรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการในแต่ละกลุ่มวัยและโรคประจำตัวของผู้พิการการทำกายภาพบำบัดที่ถูกวิธี การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และฟื้นฟูมสรรถที่บ้าน แกนนำสุภาพสามารถช่วยในการประเมินภาวะสุขภาพของประชาชนในชุมชน สามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวบุคคล เป็นกิจกรรมที่สำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของการกำเริบของโรคเพิ่มขึ้น

    จากการดำเนินงานของแกนนำสุขภาพในชุมชนที่ผ่านมา ปรากฏว่ายังมีกลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยเรื้อรังจำนวน360 ราย (ข้อมูลจากพรสต.ปริก) ผู้สูงอายุติดบ้าน 15 ราย ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 10 ราย (ข้อมูลจากกองสาธารณสุขฯ) และผู้พิการ 129 ราย (ข้อมูลจากกองสวัสดิการ) ซึ่งกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ยังต้องการความช่วยเหลือในส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันภาวะเสี่ยง และการฟื้นฟูสมรรถภาพ

  ดังนั้นกลุ่มประธานอาสาสมัครสาธารณสุขเขตเทศบาลตำบลปริก จึงเห็นความสำคัญและต้องการการดูแลสุขภาพคนในชุมชนโดยชุมชน จึงได้จัดทำโครงการชุมชนห่วงใย ฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และผู้พิการ ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเป้าหมาย เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงจากโรคที่คุกคาม และฟื้นฟูสมรรถภาพ และส่งเสริมความรู้ และพัฒนาทักษะของผู้ดูแลในบ้านและชุมชน ให้กลุ่มเป้าหมายสามารถดูแลด้านสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม จึงจัดทำโครงการขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 2.1 เพื่อส่งเสริมความรู้ให้กับ ผู้ดูแลผู้ป่วยในครอบครัว แกนนำสุขภาพในชุมชน 2.2 เพื่อเพิ่มทักษะการปฏิบัติผู้ดูแล และแกนนำสุขภาพในชุมชน ให้มีทักษะการปฏิบัติจริงเมื่อดูแลกลุ่มเป้าหมาย 2.3 เพื่อสามารถลดภาวะแทรกซ้อนอาการของโรค และความพิการ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 2.4.เพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพโดยขุมชนเพื่อชุมชน 2.5 เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายภาคประชาชนและภาครัฐ
  • ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นหลังอบรม
  • ร้อยละ 50 ของแกนนำสุขภาพ เขตเทศบาลตำบลปริก  เข้าร่วมโครงการ
  • ร้อยละ 100 ของผู้ดูแลกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
  • ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยเรื้อรัง คนพิการ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ได้รับการเยี่ยมส่งเสริมสุขภาพ และฟื้นฟูสมรรถภาพตามความจำเป็น
  • ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของผู้ป่วยเรื้อรัง คนพิการ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ที่เข้าร่วมโครงการ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะเวลา 4 เดือน (ช่วงดำเนินกิจกรรม)
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 2.1 เพื่อส่งเสริมความรู้ให้กับ ผู้ดูแลผู้ป่วยในครอบครัว แกนนำสุขภาพในชุมชน 2.2 เพื่อเพิ่มทักษะการปฏิบัติผู้ดูแล และแกนนำสุขภาพในชุมชน ให้มีทักษะการปฏิบัติจริงเมื่อดูแลกลุ่มเป้าหมาย 2.3 เพื่อสามารถลดภาวะแทรกซ้อนอาการของโรค และความพิการ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 2.4.เพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพโดยขุมชนเพื่อชุมชน 2.5 เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายภาคประชาชนและภาครัฐ

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

.1 ประชาสัมพันธ์ 4.2 รับสมัครสมาชิกอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม) ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้พิการ (ติดบ้าน ติดเตียง) ในเขตเทศบาลตำบลปริกที่มีจิตอาสา 4.3 สำรวจกลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยเรื้อรัง คนพิการ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง
4.4 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ดูแลและแกนนำสุขภาพ 1 วัน
4.5 ประชุมวางแผนและดำเนินการออกติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง คนพิการ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ในชุมชนเขตเทศบาลตำบลปริก จำนวน 4 ครั้ง 4.6 สรุปผล และจัดทำรูปเล่ม รายงานผลการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 2 ได้เพิ่มทักษะความรู้แก่สมาชิก อสม.และสมาชิกในครอบครัวในการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องแก่คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ 3 ได้ส่งเสริมความเข้าใจให้แก่สมาชิก อสม. เจ้าหน้าที่ รพ.สต. และภาคีเครือข่ายต่างๆ สร้างความเข้มแข็งของระบบเครือข่าย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2563 16:08 น.