กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ กีรออาตีส่งเสริมสุขภาพ ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L4114-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในตำบลสะเอะ
วันที่อนุมัติ 9 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 65,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาแซ ดีสะเอะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)         ประเทศไทยได้เข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2548 กล่าวคือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ อันเป็นผลมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ ทำให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวขึ้น การที่ประชากรวัยสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ประเทศต้องมีรายจ่ายด้านสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ครอบครัวต้องแบกรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น ขณะที่ผู้สูงอายุเองเมื่อมีอายุยืนยาวขึ้นก็ยิ่งต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การดำรงชีพ รวมถึงความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ ความพิการหรือทุพพลภาพ นอกจากนี้ สภาพครอบครัวไทยที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต จากที่มีคนหลายรุ่น อยู่ในครัวเรือนเดียวกัน กลายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุต้องอยู่กันตามลำพัง ขาดผู้ดูแล และอาจเกิดความรู้สึกว่าชีวิตไร้ความหมาย สถานการณ์ของผู้สูงอายุไทย จึงน่าวิตก การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงควรดำเนินการควบคู่กับมาตรการอื่น ๆ ของรัฐ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ซึ่งผู้มีบทบาทสำคัญได้แก่ สมาชิกในครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีภารกิจโดยตรงในการดูแลผู้สูงอายุ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุน และแสวงหาความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายเพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีพื้นที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอดภูมิปัญญา หรือการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ ซึ่งเป็นการยกระดับการจัดสวัสดิการสาหรับผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อให้ผู้สูงอายุมองเห็นคุณค่าและความสาคัญของตนเอง และชุมชนประจักษ์ในศักยภาพและพลังของผู้สูงอายุ ส่งผลให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี และมีความสุข
      แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ.๒๕๖๐ - 2๕๖๔) ซึ่งเป็นแผน ๕ ปีแรกของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) ยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีสำหรับคนไทย พัฒนาคนทุกช่วงวัยและเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ให้ความสำคัญกับการดำเนินการเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ และพัฒนาระบบการดูแลและสร้างสภาพแวดล้อม ที่เหมาะสมกับสังคมสูงวัย และกำหนดตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นองค์กรที่มีความใกล้ชิดกับพี่น้องประชาชน มีอำนาจหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะ โดยเฉพาะด้านสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ทั้งการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล รวมทั้งการพัฒนาสังคมด้านต่างๆจึงสามารถทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการในทุกๆด้านให้แก่พี่น้องประชาชนได้อย่างทั่วถึง จากโครงสร้างพื้นฐานระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) ข้อมูลด้านผู้สูงอายุตำบลสะอะ มีประชากรทั้งหมด 7,583 คน มีผู้สูงอายุอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 519 คน คิดเป็นร้อยละ 6.84 และผู้เตรียมพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ 50-59 ปี จำนวน 609 คน คิดเป็นร้อยละ 8.03 ครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุ 434 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 28.31 จำนวนผู้สูงอายุไม่มีอาชีพ 116 คน คิดเป็นร้อยละ 22.36 ผู้สูงอายุมีโรคเรื้อรัง จำนวน 163 คน คิดเป็นร้อยละ 31.84 สภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังผู้สูงอายุในปัจจุบัน ป่วย ไปไหนมาไหนได้ 78.33 ป่วย อยู่กับบ้าน ไปไหนมาไหนไม่ได้ และป่วย นอนติดเตียง 26 คน คิดเป็นร้อยละ 22
      ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพ ชีวิตผู้สูงอายุในตำบลสะเอะ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและสุขภาพจิตใจที่ดี ไม่ให้เป็นภาระแก่ครอบครัว ชุมชน และสังคมต่อไป จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุกีรออาตีส่งเสริมสุขภาพ ประจำปี 2563ขึ้น.……

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1เพื่อส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มของผู้สูงอายุ ในการทำกิจกรรมร่วมกัน

เกิดการรวมตัวของผู้สูงอายุ หมู่บ้านละ 1 กลุ่ม

1.00
2 2 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้อย่างต่อเนื่องในการดูแลสุขภาพกายและจิตใจ

ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยตัวเองร้อยละ 80

1.00
3 3…เพื่อส่งเสริมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย อาทิตย์ละ 1 ครั้ง

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2563 12:49 น.