กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายพฤติกรรมสุขภาพ ในการป้องกันโรคเรื้อรัง เบาหวาน-ความดันโลหิตในกลุ่มไทยมุสลิม
รหัสโครงการ 60-L5211-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาร
วันที่อนุมัติ 2 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 5 กรกฎาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกฤษเนตร เกษสระ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.075,100.45place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 เม.ย. 2560 30 ก.ย. 2560 30,000.00
รวมงบประมาณ 30,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทยในรอบ 10 ปี (พ.ศ. 2543-2552) พบว่า มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น 3.8 เท่า และพบว่าคนที่อายุ 15 ปีขึ้นไปเป็นโรคความดันโลหิตสูง 11.5 ล้านคน มีความชุกของโรคสูงสุด ร้อยละ 55.9 ซึ่งอยู่ในกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป และในปี พ.ศ.2552 พบว่าเป็นสาเหตุการตาย อยู่ในอันดับ 4 ของคนไทยคิดเป็น ร้อยละ 24.66 รองจากโรคมะเร็ง เนื้องอกทุกชนิด อุบัติเหตุและการเป็นพิษ และโรคหัวใจ ตามลำดับในขณะที่คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 13,353 คน เฉลี่ยวันละ 36 คน ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาลรัฐด้วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 2.45 เท่า ทำให้ภาครัฐต้องสูญเสียรายได้ในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยต้นทุนเฉลี่ยเท่ากับ 126,665.93 บาทต่อคนต่อปี ส่วนโรคเบาหวานในปี พ.ศ. 2552 พบเสียชีวิตประมาณ 7,019 คน เฉลี่ยวันละ 19 คน โดยพบคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวาน เพิ่มขึ้น 4.02 เท่า โดยมีความชุกของการเกิดโรคเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.4 ในปี พ.ศ. 2551 เป็นร้อยละ 6.9 ในปี พ.ศ. 2552 และพบว่าประชาชนกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปจำนวน 3.46 ล้านคนกำลังเผชิญปัญหาโรคที่เกิดจากพฤติกรรม ได้แก่ โรคเบาหวานโรคอ้วนและอ้วนลงพุง โดยพบการระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และใน ปี พ.ศ. 2551 - 2552 พบว่า คนไทยอ้วนอยู่ในระดับที่ 1 มากถึง ร้อยละ 26.63 และ 28.79 ตามลำดับ (อังศินันท์ อินทร กำแหง, 2556) จากข้อมูลสถานะสุขภาพในด้านการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังชาวไทยมุสลิม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ประจำปี 2559 พบว่า สถิติการเจ็บป่วย 3 อันดับแรกของโรค อันดับหนึ่งนั้นเป็นโรคไข้หวัด ร้อยละ 32.54 ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 26.86 และเบาหวาน ร้อยละ 24.48 ของจำนวนผู้มารับบริการทั้งหมด (เครือข่ายคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขอำเภอบางกล่ำ, 2559) หรือเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง หมู่บ้านไทยมุสลิมยังไม่มีการรวมกลุ่มในการดูแลสุขภาพเชิงการป้องกันที่ชัดเจนในด้านสุขภาพ และมีการดูแลตนเองตามความเชื่อ เงื่อนไขที่มีผลต่อการจัดการสุขภาพของชาวบ้าน คือ ความไม่สะดวกและกลัวในการเดินทาง การว่างงานและขาดรายได้ การสูญเสียของบุคคลที่เป็นแกนหลักในหมู่บ้าน ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชาวไทยพุทธกับมุสลิม เจ้าหน้าที่เข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ได้น้อย ศาสนสถานเป็นศูนย์รวมกิจกรรมและการสื่อสาร ยังขาดการรวมกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การให้ความสำคัญของการศึกษาของเยาวชนไทยมุสลิมค่อนข้างน้อย (ข้อมูลจากรายงานผลการจัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) อำเภอบางกล่ำ ปี 2559) ควรสนับสนุนภาคประชาชนให้สามารถจัดการสุขภาพของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมเวทีการเรียนรู้ในชุมชน ควรสร้างความเข้าใจที่ดีในชุมชน โดยให้ผู้นำศาสนามีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในระดับปฐมภูมิ ควรสร้างภาคีเครือข่ายการทำงานแบบบูรณาการกับบุคคลหรือหน่วยงานอื่น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาร จึงหารูปแบบแนวทาง วิธีการ กิจกรรมในการดำเนินงานส่งเสริมให้เกิดการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ร่วมกันตัดสินใจ สรุปความคิดเห็นกำหนดวิธีการจัดกิจกรรม การใช้ทรัพยากร ร่วมทำ ร่วมดำเนินการ ร่วมจัดกิจกรรมสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพในโครงการของชุมชนตามขีดความสามารถของตนเอง ความสามารถของของกลุ่ม และความสามารถของของชุมชน ร่วมตรวจสอบหรือร่วมติดตามประเมินผลการจัดกิจกรรมในการดำเนินงาน โดยใช้ข้อมูลปัญหาของชุมชนเป็นฐานและการที่จะให้ภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ด้วยความเต็มใจและสมัครใจ เพื่อให้บูรณาการและผสมผสานกับวิถีชีวิตทางสังคมของชุมชน การวิจัยครั้งนี้มีเป้าหมายภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนารูปแบบพฤติกรรมสุขภาพชาวไทยมุสลิมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของไทยมุสลิม โดยใช้หลักแนวคิดปฏิบัติตนและอิงกับหลักคำสอนของศาสนาอิสลามเชื่อมโยงพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง โดยเน้น 5 ก. (การปฏิญาณตนการละหมาดการถือศีลอดการจ่ายซะกาต การประกอบพิธีฮัจญ์) 3 อ. (ออกกำลังกายอาหารอารมณ์) และหลักการปฏิบัติทางด้านศาสนาวิถีธรรม วิถีอิสลาม เพื่อให้ไทยมุสลิมมีความเชื่อที่สะอาดบริสุทธิ์ พร้อมปฏิบัติตามหลักการศาสนบัญญัติอย่างถูกต้อง มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพที่แข็งแรง โดยไม่ขัดกับหลักศาสนาในเมื่อมีการปฏิบัติ และคาดหวังว่ากลุ่มของภาคีเครือข่ายพฤติกรรมสุขภาพ ในกลุ่มไทยมุสลิม จะเป็นแกนนำทางด้านพฤติกรรมสุขภาพ สามารถแนะนำและจัดกิจกรรมให้ประชาชนไทยมุสลิมมีความรู้ มีทัศนคติ เชิงบวก และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,000.00 2 30,000.00
1 - 2 ก.ค. 60 จัดอบรมภาคีเครือข่ายพฤติกรรมสุขภาพไทยมุสลิม (หลักสูตร 2 วัน) 0 10,500.00 10,500.00
3 - 7 ก.ค. 60 ลงปฎิบัติงานในพื้นที่จริง 0 19,500.00 19,500.00
  1. รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน และการพัฒนาศักยภาพ ภาคีเครือข่ายพฤติกรรมสุขภาพ ไทยมุสลิม เพื่อวางแผนและกำหนด ทิศทางการพัฒนา ศักยภาพภาคีเครือข่ายพฤติกรรมสุขภาพ ไทยมุสลิม
    1. ประชุมชี้แจงโครงการฯ แก่เจ้าหน้าที่และภาคีเครือข่ายพฤติกรรมสุขภาพ ไทยมุสลิม
  2. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
    1. แต่งตั้งคณะทำงาน/ประชุมคณะทำงาน ทีมวิทยากรระดับอำเภอ เพื่อกำหนดเนื้อหาการอบรมและแนว ทางการดำเนินงาน
    2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ ภาคีเครือข่ายพฤติกรรมสุขภาพ ไทยมุสลิม ทุกหมู่บ้านเพื่อประสาน ผู้เข้าประชุม
    3. เตรียมเอกสาร วัสดุ อุปกรณ์ และงบประมาณ
    4. ดำเนินการอบรมฟื้นฟูศักยภาพ ภาคีเครือข่ายพฤติกรรมสุขภาพ ไทยมุสลิม จำนวน 2 วัน
  3. ดำเนินการปฏิบัติงานในในพื้นที่หมู่บ้าน จำนวน 5 วัน
    1. ประเมินผลการอบรม และการจัดกิจกรรมด้านสุขภาพ
  4. สรุป วิเคราะห์ ประเมินผล และจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ภาคีเครือข่ายพฤติกรรมสุขภาพ ไทยมุสลิม มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพ
    แก่ ประชาชนกลุ่มไทย มุสลิม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ชุมชนมีการจัดการระบบการเฝ้าระวังและดูแลโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสุขภาพของชุมชน และสามารถ จัดการด้านสุขภาพในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสุขภาพประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2560 11:18 น.