กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบการดำเนินงานดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง
รหัสโครงการ 16/60
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สาธารณสุขอำเภอคลองหอยโข่ง
วันที่อนุมัติ 24 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 พฤษภาคม 2560 - 31 กรกฎาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.886,100.442place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 3 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของไทยที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษ 3 – 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้ประเทศเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงวัย ตั้งแต่ประมาณปี 2543 – 2544 คือ มีประชากรอายุ 60 ปี คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด และผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ4 ครั้งที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยในปี 2537 มีจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 6.8 ของประชากรทั้งประเทศ และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.4 ร้อยละ 10.7 ร้อยละ 12.2 ในปี 2545, 2550, 2554 ตามลำดับ และรายงานเบื้องต้นการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557 พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุทั้งสิ้น 10,014,699 คน เป็นเพศชาย 4,514,812 คน และเพศหญิง 5,499,887 คน หรือคิดเป็นชายร้อยละ 45.1 และหญิงร้อยละ 54.9 ของผู้สูงอายุทั้งหมด และเป็นร้อยละ 14.9 ของประชากรทั้งหมด ภาวะสุขภาพโดยรวมจากการให้ผู้สูงอายุประเมินภาวะสุขภาพทั่วๆไปโดยรวมของตนเอง ในระหว่าง 7 วันก่อนวันสัมภาษณ์ พบว่า ร้อยละ 40.5 ของผู้สูงอายุประเมินว่า ตนเองมีสุขภาพปานกลาง ร้อยละ 36.9 ประเมินว่าตนเองมีสุขภาพดีและร้อยละ 3.6 ประเมินว่าตนเองมีสุขภาพดีมาก ผู้สูงอายุที่ประเมินตนเองว่ามีสุขภาพไม่ดี มีร้อยละ 16.4 และมีเพียงร้อยละ 2.6 ที่ประเมินว่าตนเองมีสุขภาพไม่ดีมากๆ เมื่อพิจารณาตามกลุ่มช่วงวัย พบว่า ผู้สูงอายุวัยต้นประเมินว่า ตนเองมีสุขภาพดีมากในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้สูงอายุวัยกลางและวัยปลาย (ร้อยละ 45.2 ร้อยละ 29.8 และร้อยละ 18.6 ตามลำดับ) สัดส่วนของผู้สูงอายุชายประเมิน ตนเองว่ามีภาวะสุขภาพดีมากสูงกว่าผู้สูงอายุหญิง (ร้อยละ 40.4 และร้อยละ 34.1 ตามลำดับ)ข้อมูลจำนวนผู้สูงอายุจังหวัดสงขลา จากการสำรวจและคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดสงขลา มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ในจังหวัดสงขลา จำนวน 155,479 คน พบว่าเป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม จำนวน 119,265 คน (ร้อยละ 76.71) กลุ่มติดบ้าน จำนวน 9,930 คน (ร้อยละ 6.38 ) และกลุ่มติดเตียง จำนวน 1,653 คน (ร้อยละ 1.06) และในกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิงที่ไม่ใช่กลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการค้นหาเพิ่มเติม ในปีงบประมาณ 2559 รัฐบาลมุ่งเน้นในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทั้งกลุ่มติด บ้าน และกลุ่มติดเตียง โดยสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมจากงบเหมาจ่ายรายหัวปกติในระบบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จํานวน 600 ล้านบาท ให้แก่สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อบริหารจัดการให้ผู้สูงอายุกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิงจํานวนประมาณ 100,000 ราย ครอบคลุมร้อยละ 10 ของกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ และจะขยายงบประมาณให้ครอบคลุม กลุ่มเป้าหมายให้เต็มพื้นที่ภายใน 3 ปีซึ่งอำเภอคลองหอยโข่ง ได้กำหนดพื้นที่ดำเนินการ ในเรื่องการจัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพี่งพิง Long term care ในพื้นที่ ตำบลโคกม่วง ตำบลคลองหลาและตำบลทุ่งลาน มีผู้สูงอายุ กลุ่มติดบ้านติดเตียง จำนวน20ราย และ10 ราย และ17 ราย ตามลำดับ ปัญหาผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง หรือผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง คือการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพด้วยความยากลำบาก และในการดำเนินชีวิตประจำวันต้องพึ่งพาผู้ดูแล ซึ่งบางคนขาดคนดูแลและพักอาศัยอยู่โดยลำพัง ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการดูแลของชุมชนในการออกเยี่ยมดูแลสุขภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะที่ต้องได้รับการดูแล จึงต้องมีการพัฒนาระบบการดำเนินงานดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาวะที่ดี หรือมีสุขภาพดีขึ้น สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้โดยพึ่งพาน้อยที่สุด ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงรู้สึกมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี และมีความสุข ดังนั้นการเตรียมการเพื่อรองรับสภาพปัญหาของผู้มีภาวะพึ่งพิงจึงเป็นประเด็นสำคัญของอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคลองหอยโข่งและโรงพยาบาลคลองหอยโข่งตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบการดำเนินงานดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2560ขึ้น
ในส่วนของตำบลทุ่งลานเป็นพื้นที่เป้าหมาย ในการดำเนินการ Long Term Care พ.ศ. 2559 ซึ่งได้มีการดำเนินการในการจัดอบรม Care Manager และ Care Giver ของพื้นที่แล้วแต่เนื่องจากจำนวน Care Giver ที่เข้ารับการอบรมบางส่วนไม่สามารถปฏิบัติงานได้ เพื่อให้เป็นไปตามกระบวนการดำเนินงาน Long Term Care ของพื้นตำบลทุ่งลาน จึงได้ส่งบุคลากรเข้าอบรม Care Giverจำนวน 3 คน เพื่อปฏิบัติงานดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามเป้าหมายต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลจากทีมสหสาขาวิชาชีพ ของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตําบล โดยการมี ส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น 2. มีผู้ดูแลผู้สูงอายุ(Caregiver) ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร 70 ชั่วโมง ร่วมให้การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงที่บ้าน 3. มี Caremanager เป็นผู้บริหารจัดการการดูแลผู้ป่วยรายกรณี และมีการประสานงานการดูแลร่วมกับท้องถิ่นในพื้นที่เป้าหมาย ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.จำนวน Care giver ผ่านการอบรม ร้อยละ 90 2.กลุ่มผู้มีภาวะพึ่งพิงได้รับบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ ร้อยละ 100 3.กลุ่มผู้มีภาวะพึ่งพิงได้รับการจัดการวางแผนการดูแล (Care Plan) ร้อยละ 100 4.ร้อยละ๑๐๐ ของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึงพิงเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ
5. สัดส่วนผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุเมื่อเทียบกับจำนวนผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดไม่เกิน๑:๑๐ 6. จํานวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ได้รับการดูแลตามแผนการดูแลรายบุคคล (Care plan) ที่มีระดับคะแนน ADL ดีขึ้นจากกลุ่มติดเตียงเป็นติดบ้านและกลุ่มติดบ้านเป็น กลุ่มติดสังคม

2

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1.จัดทำโครงการเพื่อดำเนินงานตามแนวทางโดยใช้เงินงบประมาณ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พื้นที่ตำบลโคกม่วง, ตำบลคลองหลาและตำบลทุ่งลานเพื่อสนับสนุนการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ต่อเนื่องในพื้นที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.ประชุมวางแผนการดำเนินงานระหว่างคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขอำเภอคลองหอยโข่ง ทีมหมอครอบครัวและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 3 ครั้ง (ระยะก่อนดำเนินการ ระยะดำเนินการ และระยะหลังดำเนินการ) 3.สำรวจชุมชน สถานะสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน คัดกรองผู้สูงอายุ โดยใช้แบบคัดกรองประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activities of Daily Living : ADL) 4. วิเคราะห์ข้อมูล 5. จัดเวทีคืนข้อมูลให้ท้องถิ่นวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน 10. จัดฝึกอบรม Care giver หลักสูตร 70 ชั่วโมง ตำบลทุ่งลานจำนวน 3 คน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. เกิดระบบบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง และผู้มีภาวะพึ่งพิงได้เข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 2. บุคลากรในการดูแลระยะยาวมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถปฏิบัติต่อผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2560 11:58 น.