กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม . ห่วงใย ครอบครัวใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 63-L8428-02-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม.บ้านนาท่าม
วันที่อนุมัติ 29 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 2,566.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสาโรจ จิตรา
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.บ้านนาท่าม
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 29 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดูแลสุขภาพถือเป็นความรับผิดชอบของบุคคลแต่ละคนโดยเฉพาะพฤติกรรมสุขภาพซึ่งหมายถึง การกระทำของบุคคลที่มีผลต่อสุขภาพโดยแสดงออกให้เห็นได้ในลักษณะของการกระทำในสิ่งที่เป็นผลดีต่อสุขภาพและการไม่กระทำในสิ่งที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ แต่ในปัจจุบันมีพฤติกรรมที่ทำลายสุขภาพมากยิ่งขึ้น โรคที่เกิดจากพฤติกรรมนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมากขึ้นทุกปี เนื่องจากเป็นสาเหตุการป่วย พิการและเป็นสาเหตุการตายก่อนวัยอันควรจำนวนมากได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และหนึ่งในพฤติกรรมที่เป็นปัญหาอย่างมากในปัจจุบันคือ พฤติกรรมการบริโภคโซเดียมเกินความต้องการของร่างกาย ทั้งในรูปของอาหารขนมเครื่องปรุงรสจากรายงานการสำรวจการบริโภคอาหารของคนไทย การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552 ในกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ 2,696 คน อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป พบว่า คนไทยบริโภคโซเดียมจากอาหารเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะในช่วงอายุ 19-59 ปี บริโภคโซเดียมสูงถึง 2,961.9 – 3,366.8 มิลลิกรัม/วัน หรือประมาณ 1.5-1.8 เท่า ของปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับต่อวัน คือ ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วันและอันตรายของการบริโภคโซเดียมเกินความต้องการคือการก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมามากมาย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้นเมื่อเกิดการเจ็บป่วยแล้วก็จะต้องมีการรักษาและการใช้ยาตามมา และแน่นอนว่าโรคหลายๆโรคเป็นโรคเรื้อรัง (Chronic disease) หมายถึง โรคที่เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการหรือต้องรักษาติดต่อกันนาน เป็นแรมเดือนแรมปี หรือตลอดชีวิต และปัญหาการใช้ยาก็จะตามมามากมาย เช่นปรับขนาดยาเองตามใจชอบด้วยความเชื่อที่ว่ารับประทานยามากไม่ดี เมื่ออาการดีขึ้นแล้วก็หยุดยาเอง นำยาของคนอื่นมาใช้ ด้วยความเอื้อเฟื้อจากเพื่อนบ้านหรือคนในบ้านเดียวกัน เมื่อฟังว่ามีอาการเหมือนกัน ก็ขอยาที่เพื่อนใช้มาทดลองใช้บ้างเก็บยาไม่ถูกต้องทำให้ยาเสื่อมก่อนถึงวันหมดอายุประสิทธิภาพยาลดลง
จากผลการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่ามอำเภอเมือง จังหวัดตรัง ปีงบประมาณ 2563เป้าหมายการดำเนินงาน ๑,๘๖๑ คน สามารถดำเนินการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้๑,๘๐๙ คนคิดเป็นร้อยละ ๙๗.๒๐ สามารถจำแนกข้อมูลตามกลุ่มต่าง ๆ กล่าวคือ การตรวจคัดกรองเบาหวาน ทั้งหมด ๑,๕๐๙ คน พบปกติ ร้อยละ ๗๔.๕ ตาลในเลือดสูงกว่าปกติ มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นเบาหวาน ร้อยละ ๓,๕๗๖ ตรวจคัดกรองความดันโลหิตทั้งหมด ๑,๖๔๖ คน พบปกติร้อยละ ๗๓.๒๖ ความดันโลหิตสูงมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๒๖.๗๓ มีผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงในคลินิกโรคเรื้อรัง293 คน เป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูง238 รายสามารถควบคุมความดันให้อยู่ในเกณฑ์ได้ 37 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.54ผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 55รายสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ได้ 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 20 ซึ่งยังมีผู้ที่ยังไม่สามารถควบคุมโรคได้อีกจำนวนมากโดยมีความเกี่ยวข้องทั้งการรับประทานยาอย่างถูกต้องตามแพทย์สั่งและที่สำคัญคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตัวผู้ป่วยเองโดยเฉพาะการรับประทานโซเดียมที่เกินค่ามาตราฐานในภาพรวมของระดับประเทศ ดังนั้น ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่ามอำเภอเมือง จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการอสม. ห่วงใยครอบครัวใส่ใจสุขภาพขึ้นเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาระดับชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. สร้างเครือข่าย“ใช้ยาปลอดภัย อุ่นใจทุกครัวเรือน”เพื่อความเข้มแข็งในการเฝ้าระวังและจัดการยา/ผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

มีเครือข่ายความเข้มแข็งในการเฝ้าระวังและจัดการยา/ผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน 1 เครือข่าย

80.00 80.00
2 2. ลดการใช้ยาปฎิชีวนะโดยไม่จำเป็น ประมวลผลด้วยระบบฐานข้อมูลHosXp ไม่เกินร้อยละ 20

จำนวนการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นลดลง

20.00 20.00
3 เพื่อลดอัตราการสูญเสียยาโดยไม่จำเป็น

อัตราการใช้ยาที่ไม่จำเป็นลดน้อยลง

20.00 20.00
4 เพื่อให้ครอบครัวมีความตระหนักถึงอันตรายของการบริโภคโซเดียมที่มากเกินเกณฑ์

จำนวนครอบครัวที่ตระหนักถึงอันครายของการบริโภคโซเดียมที่มากเกินเกณฑ์

90.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 2,566.00 1 2,566.00
5 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 ติดตามเยี่ยมบ้าน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 2,566.00 2,566.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

แกนนำสุขภาพสามารถนำความรู้ไปใช้สร้างสุขภาพที่ดีแก่ประชาชนในชุมชนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2563 13:53 น.