กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กน้อยวัยใสใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 60-50094-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ควนโดน
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2560
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอัญมณี นาฮับผล
พี่เลี้ยงโครงการ นางธิดา เหมือนพะวงศ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.814,100.06place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันการสาธารณสุขได้ปฎิรูปไปสู่การส่งเสริมสุขภาพ เนื่องจากเป็นกระบวนการเพิ่มสมรรถนะให้คนเราสามารถควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพ และเป็นผลให้บุคคลมีสุขภาพที่ดีขึ้น การส่งเสริมสุขภาพเป็นวิธีสร้างความเข้มแข็งแก่สังคมไทย โดยมุ่งให้คนไทยสามารถพึ่งตนเองได้ สามารถดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน นอกจากนี้การส่งเสริมสุขภาพยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของงานสาธารณสุขที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก เพราะการมีสุขภาพดีวมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่ผู้อื่นไม่สามารถหยิบยื่นให้ได้ จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องแสวงหาและสร้างเริมให้เกิดกับตนเอง พร้อมทั้งสามารถช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้อื่นที่อยู่ใกล้ชิดได้ด้วยการปฎิบัติเป็นประจำจนกลายเป็นสุขนิสัย ซึ่งผลจากการออกตรวจสุขภาพนักเรียนประจำปีการศึกษา 2559 พบว่านักเรียนมีปัญหาในการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น การดูแลสุขภาพในช่องปากพบปัญหาฟันผุร้อยละ 68.19 โรคผิวหนัง เช่น หิด กลาก เกลื้อน ร้อยละ 42.80 โรคติดเชื้อหายใจส่วนบนร้อยละ 28.96 ฯลฯ จากการตรวจเด็กทั้งหมด 476 คน (พบฟันผุ 328 คน โรคผิวหนัง 204 คน โรคทางเดินหายใจส่วนบน 138 คน) จากปัญหาดังกล่าวจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการเร่งรัดตามโครงการแกนนำวัยใส ใส่ใจสุขภาพ เผื่อเป็นการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนตระหนัดถึงความสำคัญของการมีสุขภาพดีจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่ง เพื่อกระตุ้นปลูกจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนเกิดการเรียนรู้ สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีทางด้านสุขภาพแก่เพื่อนนักเรียนในโรงเรียน เป็นผู้ให้บริการด้านที่เหมาะสม เอาใจใส่ตนเอง มีพลานามัยที่สมบูรณ์ รักสะอาด ปราศจากโรคปลอดทุกข์ มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ภายใต้การดำเนินงานตามกระบวนการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่ ร่วมคิด ร่วมดำเนินการตามแผนกิจกรรมที่กำหนดนำไปสู่การเรียนรู้ในการสร้างสุขภาพ โรงเรียนเป็นสถาบันการสร้างเสริมสุขภาพที่สำคัญ เป็นสถานที่ซึ่งทุกคนในโรงเรียนและชุมชนร่วมกันจัดโครงสร้างและประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมและดูแลสุขภาพของนักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียนและขุมชนนั้นๆ โดยดำเนินงานในรูปของคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครู บุคลากรในโรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครอง สมาชิกในชุมชน เป็นตัวแทน เพื่อกำหนดความต้องการและแนวทางการแก้ปัญหา การพัฒนาให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนได้เป็นตัวแทน ของนักเรียนในการสะท้อนปัญหาและความต้องการอันจะนำไปสู่สุขภาวะที่ดีของชุมชนในที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างแกนนำวัยใสส่งเสริมสุขภาพให้มีความรู้ทางด้านพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง และสามารถไปปฏิบัติตนป้องกันโรคในโรงเรียน ครอบครัว และชุมชนได้

 

2 2.เพื่อให้แกนนำวัยใสสามารถช่วยเหลือดูแลทางด้านสุขภาพเบื้องตนแก่ตนเอง เพื่อนักเรียน สมาชิกในครอบครัวและชุมชนได้

 

3 3. เพื่อให้แกนนำวัยใสสามารถเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสารทางด้านสุขภาพทั้งในโรงเรียนและชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 5 จากโรงเรียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน รวมจำนวนทั้งสิ้น 60 คน ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมวางแผนโครงการ ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางดำเนินกิจกรรมแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง 2. เขียนโครงการเพื่ออนุมัติโครงการและจัดทำแผนการดำเนินงาน 3. ประสานงานและติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4. ประชาสัมพันธ์โครงการ 5. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่ครูอนามัยโรงเรียน ทั้ง 3 โรงเรียนและติดต่อวิทยากร 6. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์การอบรม และสื่อเอกสารต่างๆที่ใช้ในการอบรมกลุ่มเป้าหมาย ขั้นดำเนินการ 1. จัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ตามหลักสูตรที่กำหนดและสามารถประยุกต์ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการของโรงเรียนและชุมชน โดยแบ่งฐานให้ความรู้แก่นักเรียน จำนวน 6 ฐาน ดังนี้ 1.1 ฐานสุขบัญญัติ 10 ประการ 1.2 ฐานดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน 1.3 ฐานการส่งเสริมการบริโภค อย.น้อย 1.4 ฐานความรู้เรื่องเพศศึกษาและการป้องกันยาเสพติด 1.5 ฐานการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 1.6 ฐานการป้องกันโรคติดต่อ และไม่ติดต่อ 2.จัดตั้งพยาบาลน้อยในโรงเรียน โดยเน้นกิจกรรมดังนี้ 2.1 การตรวจสุขภาพตัวเองและผู้อื่นทั้ง 10 ขั้นตอนพร้อมวิธีลงบันทึกข้อมูลในสมุดบันทึกสุขภาพประจำตัว 2.2 สามารถช่วยเหลือครูอนามัยโรงเรียนในห้องพยาบาลของโรงเรียนได้ 2.3 จัดกิจกรรมให้ความรู้ทางด้านสุขภาพอย่างง่ายในโรงเรียน 2.4 มีความคิดริเริ่มในกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียน 2.5 พัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมตามเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 3. ติดตามประเมินผลโดย - แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลัง เข้าร่วมกิจกรรม - แบบติดตามและประเมินผล 4. สรุปและประเมินผลการดำเนินการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำวัยใสมีความรู้ ความเข้าใจทางด้านพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เกิดทักษะการดูแลตนเอง สามารถปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ป้องกันโรคติดต่อในโรงเรียนได้
  2. แกนนำวัยใสสามารถดูแลสุขภาพตนเองและเพื่อนนักเรียนได้ในเบื้องต้น
  3. แกนนำวัยใสสามารถช่วยเหลืองานครูอนามัยด้านสุขภาพ และตระหนักถึงการมีสุขภาพที่ดี และสามารถเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารความรู้ด้านสุขภาพ เพื่อส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนและชุมชน ตลอดจนช่วยเหลือบริการด้านสุขภาพอนามัยแก่เพื่อนนักเรียน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพตามความเหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2560 14:35 น.