กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการถังหมักรักษ์โลก
รหัสโครงการ 63-L3335-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนกลางพัฒนาหมู่บ้านโคกทราย ม.5 ต.ดอนทราย
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจบ ช่วยมณี
พี่เลี้ยงโครงการ นายกำพล เศรษฐสุข
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนทราย อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเขตเทศบาลตำบลดอนทราย มีปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมาจากการดำรงชีวิตของคนในตำบลดอนทราย จึงเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นของพื้นที่รับผิดของเทศบาลตำบลดอนทราย ในการบริหารจัดการกำจัดขยะเหล่านั้น ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นมากมายทุกวัน ส่งผลให้มีขยะตกค้างเป็นจำนวนมากในแต่ละวันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนมากมาย ได้แก่ บ้านเมืองสกปรกไม่น่ามอง เสียทัศนียภาพ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ และพาหนะนำโรคต่างๆ เช่นหนู แมลงสาบ แมลงวัน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยตรง เช่น อหิวาตกโรค อุจระร่วง บิด โรคผิวหนัง บาดทะยัก โรคทางเดินหายใจ เกิดการปนเปื้อนของสารพิษ เช่นตะกั่ว ปรอท ลงสู่พื้นดิน และแหล่งน้ำ แหล่งน้ำเสีย ท่อระบายน้ำอุดตัน อันเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำท่วม เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ เช่นฝุ่นละออง เขม่า ควัน จากการเผาขยะ และเกิดก๊าซมีเทนจากการฝังกลบขยะ และขยะบางชนิดไม่ย่อยสลาย และกำจัดได้ยาก เช่นโฟม พลาสติก ทำให้ตกค้างสู่สิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปูโยะ เล็งเห็นความสำคัญในการดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะล้นชุมชน และไม่มีที่ทิ้งขยะ โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน จัดตั้งองค์กรชุมชนในการบริหารจัดการขยะโดยกระบวนการมีมีส่วนร่วมของประชาชน และก่อให้เกิดการสร้างรายได้ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกต่อการรักษ์บ้านเกิดของคนในชุมชน นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชน ของตนเอง จนเกิดชุมชนต้นแบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในตำบลแล้ว ยังเป็นการลดปริมาณขยะที่นำไปกำจัดโดยการเผาและฝังกลบได้ ทำให้ช่วยลด สภาวะเรือนกระจก หมู่ที่ 5 บ้านโคกทราย จึงเห็นความสำคัญและได้นำเสนอโครงการถังหมักรักษ์โลก ประจำปี 2563 เพื่อเป็นต้นแบบแห่งการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างแท้จริง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อกำจัดขยะอินทรีย์ที่เหลือจากครัวเรือน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธ์เชื้อโรคและไปปนเปื้อนกับขยะอื่นๆที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้

1.ครัวเรือนมีแหล่งกำจัดขยะเปียก ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการ

0.00
2 2.เพื่อลดปริมาณขยะ และค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ

2.ครัวเรือนสามารถลดปริมาณขยะ ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,500.00 2 30,500.00
1 มิ.ย. 63 - 31 ส.ค. 63 1.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้เกี่ยวข้อง อสม. แกนนำสุขภาพ ผู้นำชุมชน 0 0.00 0.00
1 มิ.ย. 63 - 31 ส.ค. 63 - รับสมัครกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ - ทำถังหมักและติดตั้งตามครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย 0 30,500.00 30,500.00

๑. รับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 หลังคาเรือน
๒. ให้ความรู้เกี่ยวกับการติดตั้งถังหมักขยะและการคัดแยกขยะ ๓. ติดตั้งถังหมักขยะ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ครัวเรือนสามารถกำจัดขยะอินทรีย์ที่เหลือ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธ์เชื้อโรคและไปปนเปื้อนกับขยะอื่นๆที่ สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ 2.ลดปริมาณขยะ และค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2563 15:01 น.