กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ร้านค้าคุณภาพ ผู้บริโภคปลอดภัย ใส่ใจคนในชุมชน
รหัสโครงการ 63-L5295-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทุ่งดินลุ่ม
วันที่อนุมัติ 2 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,390.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสะบัน สำนักพงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.048,99.817place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันนี้ร้านขายของชำ ร้านอาหาร และแผงลอยถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่  ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้นและยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่นยาผสมสาร สเตียรอย เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้บริโภคมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง ตำบลป่าแก่บ่อหิน มีสถานประกอบการต่างๆจำนวนมาก เช่น ร้านอาหาร ร้านแผงลอย ตลาดนัด ร้านขายของชำในหมู่บ้านประกอบกับในยุคปัจจุบันบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว จึงมีความสะดวกในการชื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆโดยเฉพาะการเลือกชื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านชำในพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่เพื่อนำมาใช้ตอบสนองต่อความต้องการของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยาหรือของใช้ต่างๆ เครื่องอุปโภค บริโภค ซึ่งหากผู้บริโภคในพื้นที่ยังมีความเชื่อความเข้าใจที่ผิด ขาดทักษะความรู้ที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมการเลือกชื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อและได้รับอันตรายจากอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานได้ง่าย
      ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งดินลุ่ม ได้เล็งเห็นว่าการพัฒนาร้านขายของชำ ร้านค้า และแผงลอย ในหมู่บ้านจะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยลดน้อยลงไปได้ จึงได้จัดทำโครงการร้านค้าคุณภาพ ผู้บริโภคปลอดภัย ใส่ใจคนในชุมชน เพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่มีความรู้และมีทักษะในการเลือกชื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ไม่มีสารเคมีอันตรายเจือปนอยู่ มีการสำรวจเฝ้าระวังเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้บริโภค ส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ร้านขายของชำ ร้านค้า และแผงลอยได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพ ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัย จากการอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ ไม่ก่อให้เกิดโรค การแพ้และอันตรายต่อสุขภาพของคนในพื้นที่ ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งดินลุ่ม ได้ให้ความเล็งเห็นและให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำ/ร้านอาหาร/แผงลอย ตัวแทนผู้บริโภค และอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคมีความรู้ เรื่องความปลอดภัยของอาหาร ยา และเครื่องสำอาง

ผู้ประกอบการร้านชำ/ร้านอาหาร/แผงลอย ตัวแทนผู้บริโภค และอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคมีความรู้ ร้อยละ  100

100.00
2 1.เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำ/ร้านอาหาร/แผง ลอย สามารถเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอางที่มีคุณภาพจำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน 2.ผู้บริโภคในพื้นที่ใช้สินค้าอุปโภคและบริโภคที่มีคุณภาพ มากกว่าร้อยละ 80

ผู้ประกอบการร้านชำ/ร้านอาหาร/แผง ลอย จำหน่ายสินค้า อุปโภคบริโภคที่มีคุณภาพ  มากกว่าร้อยละ 80

80.00
3 ร้านชำ/ร้านอาหาร/แผงลอย พัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 90

ร้านชำ/ร้านอาหาร/แผงลอย  พัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานคิดเป็นร้อยละ 90

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 115 11,390.00 3 11,390.00
15 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำ/ร้านอาหาร/แผงลอย ผู้บริโภค และอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค เรื่องอาหาร ยา และเครื่องสำอางที่ปลอดภัย 70 4,840.00 4,840.00
15 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมตรวจและพัฒนาร้านชำ/ร้านอาหาร/แผงลอย ตามเกณฑ์มาตรฐาน 40 6,025.00 6,025.00
4 ส.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 ตรวจติดตามหลังการพัฒนาร้านชำ 5 525.00 525.00

ขั้นตอนวางแผน       1.จัดทำโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ       2.ชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง       3.จัดตั้งคณะกรรมการ       4.ประชาสัมพันธ์โครงการ       5.ดำเนินกิจกรรมตามแผน       6.ประเมินผลโครงการ ขั้นตอนการดำเนินงาน     1. ศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของการจัดทำโครงการ     2. วิเคราะห์ข้อมูลในการทำโครงการและนำเสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุน     3. ปรึกษาและรับคำแนะนำในการจัดทำโครงการจากคณะกรรมการกองทุน     4. ดำเนินการตามขั้นตอนของการทำโครงการ     5. สรุปผลโครงการตามตัวชี้วัด     6. จัดทำเล่มโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการร้านชำ/ร้านอาหาร/แผงลอย ตัวแทนผู้บริโภค และอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคมีความรู้ เรื่องความปลอดภัยของอาหาร ยา และเครื่องสำอางร้อยละ 8
  2. เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำ/ร้านอาหาร/แผงลอย สามารถเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอางที่มีคุณภาพจำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน
  3. ผู้บริโภคในพื้นที่ใช้สินค้าอุปโภคและบริโภคที่มีคุณภาพ มากกว่าร้อยละ 80       4. ร้านชำ/ร้านอาหาร/แผงลอย พัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 90
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2563 10:13 น.