กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
รหัสโครงการ 63-L5237-05-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (หมู่ที่ 1,2,6,7) ตำบลจะทิ้งพระ
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2020
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2020 - 30 กันยายน 2020
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 78,260.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรุณี สุวรรณพงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางอรุณี สุวรรณพงศ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่เกิดสถานการณ์กรระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศจีน เริ่มจากเมืองอู่ฮั่นและระบาดไปอีกหลายเมืองในประเทศจีน ต่อมาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้มีการแพร่ระบาดไปในหลายประเทศทั่วโลก ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดยังไม่สามารถควบคุมได้ สำหรับประเทศไทยจากการรายงานของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ณ วันที่ 6 พฤษภาคม 2563 พบว่ามีผู้ป่วยสะสม 2,989 ราย เสียชีวิต 55 ราย และรักษาหาย 2,761 ราย สำหรับจังหวัดสงขลา ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ณ วันที่ 6 พฤษภาคม 2563 พบว่ามีผู้ป่วยสะสม 123 ราย รักษาหาย 51 ราย สำหรับในอำเภอสทิงพระยังไม่พบผู้ป่วย ทั้งนี้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) นอกจากทำให้ผู้เสียชีวิตจำนวนมากแล้วยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง   ทั้งนี้จึงจำเป็นต้องการป้องกัน เฝ้าระวังโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ไม่มีการระบาดในชุมชนด้วยการดำเนินกิจกรรมต่างๆได้แก่ 1.การให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันโรคดังกล่าว เช่น การออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ การหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังสถานที่เสี่ยง การรักษาความสะอาด การสวมหน้ากากอนามัย 2.การเฝ้าระวังบุคคลที่เดินทางมาจากที่อื่นที่เป็นพื้นที่เสี่ยง ได้แก่ บุคคลที่เดินทางมาจากกรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ ชลบุรี ภูเก็ต ยะลา ปัตตานี เชียงใหม่ 3.การลงพื้นที่คัดกรองประชาชนเชิงรุก 4.การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคให้กับกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันน้อยหากเป็นโรคดังกล่าวแล้วจะมีโอกาสเสียชีวิตสูง ได้แก่ ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด ความดัน เบาหวาน
  ดังนั้นเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ การเฝ้าระวังป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในชุมชน สร้างความมั่นใจให้กับประชาชน กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (หมู่ที่ 1,2,6,7) ตำบลจะทิ้งพระ จึงได้จัดทำโครงการฝ้าระวังป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)ในชุมชน

มีการตรวจคัดกรองโรคสำหรับบุคคลภายนอกทุกคนที่เดินทางจากพื้นที่เสี่ยงเข้ามาพักอาศัยในพื้นที่ และเฝ้าระวังป้องกันโรคให้กับผู้ป่วยติดเตียง ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือผู้ที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทุกคน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

0.00
2 2.เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตนในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้อย่างถูกต้อง อย่างน้อยร้อยละ 90

0.00
3 3.เพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือผู้ที่ไ่มีโรคติดต่อเรื้อรัง และเจ้าหน้าที่ อสม.ผู้ปฏิบัติงาน

ระชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือผู้ที่ไ่มีโรคติดต่อเรื้อรัง และเจ้าหน้าที่ อสม.ผู้ปฏิบัติงานมีวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) ครบทุกคน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ดำเนินกิจกรรม 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การรณรงค์ให้ความรู้สำรวจและตรวจเยี่ยมกลุ่มเสี่ยงต่อการติดโรคติดเชือ้ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กิจกรรมที่ 2 การทำความสะอาดสถานที่สาธารณะ 1.ขั้นตอนวางแผนงาน   1.1 อาสาสมัครสาธารณสุขร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมายเนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินโครงการ   1.2 แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ   1.3 ติดต่อประสานงานหร่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอข้อมูลและร่วมกันดำเนินงาน 2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขาพองค์การบริหารส่วนตำบลจะทิ้งพระ 3.ขั้นตอนการดำเนินงาน   3.1 จัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ สำหรับการปฏิบัติงาน เช่น เครื่องวัดไข้ ถุงมือ เจลแอลกอฮอล์   3.2 ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบ   3.3 ดำเนินการแต่ละกิจกรรมดังนี้
  3.3.1 กิจกรรมที่ 1 การรณรงค์ให้ความรู้สำรวจและตรวจเยี่ยมกลุ่มเสี่ยงต่อการติดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)     - ทำป้ายประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับการลดความเสี่ยงและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หมู่บ้านละ 1 ป้าย     - สมาชิก อสม.แต่ละหมู่บ้าน เฝ้าระวังบุคคลภายนอกที่เข้ามาพักอาศัยในพื้นที่ ตามครัวเรือนรับผิดชอบ หากมีบุคคลที่มาจากที่อื่นและพื้นที่เสี่ยงเข้ามาพักในพื้นที่ ดำเนินการดังนี้       * จดบันทึกข้อมูล แจ้งผู้ใหญ่บ้านและโรงพยาบาลสทิงพระทราบ เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง       * แนะนำการปฏิบัติตนในการกักตัวในสถานที่อาศัย       * ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายพร้อมจดบันทึกข้อมูลจนครบ 14 วัน หากมีไข้จะแจ้งให้โรงพยาบาลสทิงพระทราบทันที     - สมาชิก อสม.แต่ละหมู่บ้าน ลงพื้นที่ให้ความรู้ในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือผู้ที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง     - แจกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวัง เช่น ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง   3.3.2 กิจกรรมที่ 2 การทำความสะอาดสถานที่สาธารณะ     - สมาชิก อสม.ภาคีเครือข่าย ร่วมทำความสะอาดอาคารอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน ศาสนสถาน สถานที่สาธารณประโยชน์ และสถานที่ที่เสี่ยงต่อการเกกิดโรค อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 4. สรุปผลการดำเนินงานและรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯทราบ เมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในชุมชน 2.ประชาชนมีความรู้และสามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้องในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) 3.ชุมชนมีความพร้อมในการเผชิญกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2020 00:00 น.