กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย กายใจดี ชีวีมีสุข ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ามะเดื่อ
วันที่อนุมัติ 2 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายณรงค์ รอดชุม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2563 31 ส.ค. 2563 14,800.00
รวมงบประมาณ 14,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สังคมไทยปัจจุบันเป็นสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุ 1 ใน 10 ของผู้สูงอายุไทยอาศัยอยู่คนเดียวอีก1ใน4 อยู่อาศัยตามลำพังกับคู่สมรสความเปราะบางของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นตามอายุที่สูงขึ้นพร้อมกับสุขภาพที่ถดถอย ลดทอนความสามารถในการทำงานมีรายได้และพึ่งพาคนเองจาการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและสังคมที่คนอยู่เป็นโสดเพิ่มขึ้นและมีลูกน้อยลง การเกิื้อหนุนจากครอบครัวมีแนวโน้อมลดลงซึ่งเพิ่มความเปราะบางให้กับผู้สูงอายุในอนาคต จากการคาดประมาณประชากรของประเทศไทยปี 2553-2583 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สคช.) โดยใช้ข้อมูงสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศง 2553 ของสำนักสถิติแห่งชาติ เป็นฐานในการประมาณ พบว่า ในปี 2583 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สูงถึง 20.5 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32 ของจำนวนประชากรไทยทั้งหมด ดัชนีพฤฒิพลัง (Active Ageing Index) ซึ่งใช้วัดระดับคุณภาพในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุไทย ปี 2560 เท่ากับ 0.685 จัดอยู่ในระดับปานกลางด้านสุขภาพและความมั่นคงมีสถานการณ์ที่ค่อนข้างดีกว่าเมื่อเทียบกับด้านการมีส่วนร่วมและด้านสภาพที่เอื้อต่อการมีพฤฒิพลัง อย่างไรก็ตามปัญหาสุขภาพทั้งทางกายและทางจิตใจ ยังคงเป็นปัจจัยความเปราะบางที่สำคัญหนึ่งของผู้สูงอายุจำนวนมาก ที่พบมากที่สุดคือ ความดันโลหิตสูง อ้วน และข้อเข่าเสื่่อม ตามลำดับ โดยผู้สูงอายุถึงร้อยละ 6 พบว่ามีภาวะซึมเศร้า(สำนักงานสถิติแห่งชาติ,2560)   จากการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ามะเดื่อในปี 2562 พบว่ามีผู้สูงอายุในพื้นที่ จำนวน 226 คน คิดเป็นร้อยละ 20.48 ของประชากร ผลการประเมินการประกอบกิจวัตรประจำวัน เป็นกลุ่มติดสังคม จำนวน 211 คน ร้อยละ 93.36 เป็นกลุ่มติดบ้าน จำนวน 9 คน ร้อยละ 3.98 เป็นกลุ่มติดเตียง จำนวน 6 คนร้อยละ 2.65 และจากากรสำรวจคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุพบผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จำนวน 103 คน ร้อยละ 45.37 มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม จำนวน 55 คน ร้อยละ 24.23 มีปัญหาด้านสายตา จำนวน 53 คน ร้อยละ 23.35 มีความเสี่ยงต่อภาวะหกล้ม จำนวน 22 คน ร้อยละ 9.69 จากการสำรวจสภาพแวดล้อมบ้านของผู้สูงอายุ พบผู้สูงอายุมีความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมปลอดภัย จำนวน 46 คน ร้อยละ 20.26 และการสำรวจสภาวการณ์พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ พบว่าผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ จำนวน 69 คน คิดเป็นร้อยละ 30.5 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ามะเดื่อ ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำ "โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย กายใจดี ชีวีมีสุขปีงบประมาณ 2563 ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีความรู้และสามารถปฏิบัติตัวได้เหมาะสม มีการจัดสภาพแวดล้อมภายในภายนอกบ้านให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวชุมชนและภาคีเครือข่าย ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถดำเนินชีวิตที่ดีสามารถดำเนินชีวิตในบั่นปลายกันได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 80 14,800.00 1 14,800.00
1 พ.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย กายใจดี ชีวีมีสุข ปีงบประมาณ 2563 80 14,800.00 14,800.00

1.จัดทำโครงการ เสนอขออนุมัติโครงการ 2.ประชุมชี้แจงโครงการ แก่ผู้นำชุมชน,อสม,แกนนำผู้สูงอายุ เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ/คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการประสานวิทยากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.จัดทำทะเบียนผู้สูงอายุตาามเขต 4.ตรวจคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้นส่งต่อในรายที่ผิดปกติ 5.ประเมินความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อภายในภายนอกบ้านโดย อสม. 6.อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับหลัก 4 Smart (1.การออกำลังกาย 2.การนอน 3.ฝึกทักษะสมอง 4. การรับประทานอาหาร) สาธิตการทำนวัตกรรม"รองเท้ากันลื่น" 7.คัดเลือกผู้สูงอายุต้นแบบในการดูแลสุขภาพ 8.ประสายภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามเยี่ยมบ้านและร่วมดูแลผู้สูงอายุด้อยโอกาสในชุมชน 9.สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถปฏิบัติตัวตามหลัก 4 Smart ได้ (1.การออกกำลังกาย 2. การนอน 3. ฝึกทักษะสมอง 4. การรับประทานอาหาร) 2.ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ดีมีการจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกบ้านให้เหมาะสมต่อผู้สูงอายุให้อยู่อย่างปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่กับครอบครัและชุมชนได้อย่างปกติสุข 3.ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและใจที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2563 13:26 น.