กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดภาวะโรคเรื้อรัง หมู่ที่ 7 บ้านคลองขุด
รหัสโครงการ 63-L5300-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือ ตำบลคลองขุด
วันที่อนุมัติ 4 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 16,236.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอำภรณ์ หวันยาวา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 892 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชากรในพื้นที่หมู่ที่ 7 ที่ผ่านการคัดกรองและเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง จำนวน 57 คน
57.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพภายใต้นโยบายการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากลยุทธ์ที่สำคัญ คือการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนให้เกิดความตระหนักมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายนโยบายการสร้างสุขภาพนำการซ่อมสุขภาพจึงจำเป็นต้องดำเนินการในเชิงรุกเพราะนอกจากจะกระตุ้นให้ประชาชนมีสุขภาพดีแล้วรัฐบาลยังสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้ด้วยด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสุขภาพและเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้เช่นโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยซึ่งโรคดังกล่าวเป็นโรคเรื้อรังซึ่งเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพได้แก่ พฤติกรรมเสี่ยงในการบริโภคอาหารการสูบบุหรี่การดื่มสุราการที่ไม่ออกกำลังกายความเครียดโรคอ้วนโรคเรื้อรังดังกล่าวเป็นโรคที่ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและมีภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงถ้าไม่ได้รับการดูแลอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนและทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรซึ่งในพื้นที่หมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือตำบลคลองขุดมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีแนวโน้มจะสูงขึ้นและคาดว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปีซึ่งในปี 2562 มีจำนวนประชากรในพื้นที่หมู่ที่ 7 ที่ผ่านการคัดกรองและเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง จำนวน 57 คน ที่เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดภาวะโรคเรื้อรัง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือตำบลคลองขุดจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดภาวะโรคเรื้อรัง หมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือ ตำบลคลองขุด ปีงบประมาณ 2563 ในกลุ่มประชากรอายุ 15-34 ปี ซึ่งมีประชากรในพื้นที่ 892 คน (ข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา))เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง และให้กลุ่มเสี่ยงได้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน และสามารถควบคุมการบริโภคอาหาร และออกกำลังกาย โดยลดการใช้ยาให้น้อยที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนอายุ 15 -34 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิต

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองด้วยแบบสอบถามเบื้องต้น (verbal screening) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90
2. ประชาชนที่มีผ่านการคัดกรองด้วย (Verbal screening) ได้รับการตรวจยืนยันด้วย (DTX Strip test) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง

892.00 802.00
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ เพื่อให้การรักษาในระยะเริ่มต้นอย่างทันท่วงที

ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการรักษาในสถานบริการสาธารณสุขอย่างน้อยร้อยละ 90

90.00 90.00
3 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนที่มีความเสี่ยงจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

1.ประชาชนที่มีความเสี่ยงจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้และพฤติกรรมเพื่อการลดภาวะเสี่ยง ร้อยละ 60 ของจำนวนประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง 2.ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจนสามารถควบคุมภาวะเสี่ยงจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

60.00 60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,236.00 3 16,236.00
22 มิ.ย. 63 - 30 ก.ค. 63 ประชุมชี้แจง แนวทาง ขั้นตอน รายละเอียดของการดำเนินงานให้สมาชิกชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) หมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือ ตำบลคลองขุด 0 750.00 750.00
22 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 คัดกรองด้วยแบบสอบถาม (verbal Screening) 0 14,236.00 14,236.00
20 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 สรุปผลการคัดกรองแยกกลุ่มผู้ที่พบภาวะเสี่ยงเพื่อเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 0 1,250.00 1,250.00

๑. สำรวจ และรวบรวมข้อมูล ๒. เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ
3. ประชุมชี้แจง แนวทาง ขั้นตอน รายละเอียดของการดำเนินงานให้สมาชิกชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) หมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือ ตำบลคลองขุด จำนวน 30 คน
4. คัดกรองด้วยแบบสอบถาม (verbal Screening) ประชาชนที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไปและให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ แบ่งเป็น 3 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนบ้านเหนือ ชุมชนบ้านกลาง ชุมชนบ้านใต้
5. สรุปผลการคัดกรองแยกกลุ่มผู้ที่พบภาวะเสี่ยงเพื่อเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการอบรมให้ความรู้ เรื่องอารมณ์ อาหาร และการออกกำลังกาย โดยรณรงค์การออกกำลังกายตามความสมัครใจของผู้เข้าร่วมโครงการ เช่น การปั่นจักรยาน ในชมรมปั่นจักรยานบ้านคลองขุดเหนือ กลุ่มออกกำลังกายแบบทางมะพร้าว เต้นแอโรบิค เดิน-วิ่ง และการออกกำลังกายอื่น ๆ ที่เหมาะสมตามวัยและสภาพร่างกาย
6. คัดกรองความดันโลหิตที่บ้าน (Home BP) โดย อสม.ประจำหมู่บ้าน แบ่งเป็น 3 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนบ้านเหนือ ชุมชนบ้านกลาง ชุมชนบ้านใต้
7. ติดตามและประเมินผล ทำการติดตามกำกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและผลลัพธ์ต่อสุขภาพ และติดตามอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเรื้อรัง หลังจากผ่านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1 เดือน ถ้ายังมีภาวะเสี่ยงส่งต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา)
8. สรุปและประเมินผลหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือลดลง
9. สรุปและรายงานผล ภายใน 30 วันหลังเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต 1. ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 15-34 ปี ในพื้นที่หมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือจำนวน 892 คน ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2. ประชาชนที่ผ่านการคัดกรองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 90 ผลลัพธ์ 1. ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องตามสภาวะโรค 2. ผู้ได้รับการคัดกรองตรวจพบภาวะเสี่ยงได้ผ่านกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน และสามารถควบคุมการบริโภคอาหาร และออกกำลังกาย และสามารถลดการใช้ยาให้น้อยที่สุด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2563 10:42 น.