กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดภาวะโรคเรื้อรัง หมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือ ตำบลคลองขุด ได้จัดทำขึ้นในกลุ่มประชากรอายุ 15-34 ปี ซึ่งมีประชากรในพื้นที่มีประชากรอายุ 15-34 ปี ที่ได้รับการตรวจคัดกรอง จำนวน 892 คน ผู้ชาย 465 คน ผู้หญิง 427 คน เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง และให้กลุ่มเสี่ยงได้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน และสามารถควบคุมการบริโภคอาหาร และออกกำลังกาย โดยลดการใช้ยาให้น้อยที่สุด โดยมีกิจกรรมดังนี้ 1. คัดกรองด้วยแบบสอบถาม (verbal Screening) ประชาชนที่มีอายุ 15 ปี- 34 ปี และให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ แบ่งเป็น 3 ชุมชน ประกอบด้วย
- ชุมชนบ้านเหนือ จัดกิจกรรมในวันที่ 15, 16 กรกฎาคม 2563 - ชุมชนบ้านกลาง จัดกิจกรรมในวันที่ 17, 18 กรกฎาคม 2563 - ชุมชนบ้านใต้ จัดกิจกรรมในวันที่ 19, 20 กรกฎาคม 2563
2. สรุปผลการคัดกรองแยกกลุ่มผู้ที่พบภาวะเสี่ยงเพื่อเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการอบรมให้ความรู้ เรื่องอารมณ์ อาหาร และการออกกำลังกาย โดยรณรงค์การออกกำลังกายตามความสมัครใจของผู้เข้าร่วมโครงการ เช่น การปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค เดิน-วิ่ง และการออกกำลังกายอื่น ๆ ที่เหมาะสมตามวัยและสภาพร่างกาย ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ในหมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือ มาร่วมออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยาน เดิน และวิ่ง โดยพบว่ามีประชาชนอายุ 15-34 ปี ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงดังนี้ - ความดันโลหิตสูง จำนวน 34 คน ผู้ชาย 19 คน ผู้หญิง 15 คน - ค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน จำนวน 84 คน ผู้ชาย 44 คน ผู้หญิง 40 คน 3. คัดกรองความดันโลหิตที่บ้าน (Home BP) โดย อสม.ประจำหมู่บ้าน แบ่งเป็น 2 ชุมชน ประกอบด้วย
- ชุมชนบ้านเหนือ คัดกรองความดันโลหิตที่บ้าน (Home BP) ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2563 - ชุมชนบ้านกลาง คัดกรองความดันโลหิตที่บ้าน (Home BP) ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2563
- ชุมชนบ้านใต้ คัดกรองความดันโลหิตที่บ้าน (Home BP) ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2563 4. ติดตามและประเมินผล ทำการติดตามกำกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและผลลัพธ์ต่อสุขภาพ และติดตามอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเรื้อรัง หลังจากผ่านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1 เดือน ถ้ายังมีภาวะเสี่ยงส่งต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา) จำนวน  34  คน

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อให้ประชาชนอายุ 15 -34 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิต
ตัวชี้วัด : 1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองด้วยแบบสอบถามเบื้องต้น (verbal screening) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90 2. ประชาชนที่มีผ่านการคัดกรองด้วย (Verbal screening) ได้รับการตรวจยืนยันด้วย (DTX Strip test) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง
892.00 802.00 892.00

 

2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ เพื่อให้การรักษาในระยะเริ่มต้นอย่างทันท่วงที
ตัวชี้วัด : ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการรักษาในสถานบริการสาธารณสุขอย่างน้อยร้อยละ 90
90.00 90.00 100.00

 

3 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนที่มีความเสี่ยงจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
ตัวชี้วัด : 1.ประชาชนที่มีความเสี่ยงจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้และพฤติกรรมเพื่อการลดภาวะเสี่ยง ร้อยละ 60 ของจำนวนประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง 2.ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจนสามารถควบคุมภาวะเสี่ยงจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
60.00 60.00 60.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 892 892
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 892 892
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้ประชาชนอายุ 15 -34 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิต (2) เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ เพื่อให้การรักษาในระยะเริ่มต้นอย่างทันท่วงที (3) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนที่มีความเสี่ยงจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมชี้แจง แนวทาง  ขั้นตอน รายละเอียดของการดำเนินงานให้สมาชิกชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) หมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือ ตำบลคลองขุด (2) คัดกรองด้วยแบบสอบถาม (verbal Screening) (3) สรุปผลการคัดกรองแยกกลุ่มผู้ที่พบภาวะเสี่ยงเพื่อเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh