กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมศักยภาพเครือข่ายป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L5313-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยไทร ต.ละงูอ.ละงู จ.สตูล
วันที่อนุมัติ 18 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 28 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2563
งบประมาณ 47,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอริญชัย หลงเก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 47,300.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 47,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 (ข้อมูลจากระบบรายงาน การเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา) ประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (Dengue fever : DF, Dengue hemorrhagic fever : DHF, Dengue shock syndrome : DSS) สะสมรวม 14,136 ราย อัตราป่วย 21.32 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 11 ราย สำหรับในพื้นที่เขต 12 พบผู้ป่วย 966 ราย อัตราป่วย 19.47 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย (จังหวัดยะลา) คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.10 จังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงสุดคือ จังหวัดสงขลา 25.27 ต่อประชากรแสนคน (361 ราย) รองลงมา คือ จังหวัดปัตตานี 23.25 ต่อประชากรแสนคน (166 ราย) จังหวัดนราธิวาส อัตราป่วย 22.77 ต่อประชากรแสนคน (182 ราย) จังหวัดยะลา 22.46 ต่อประชากรแสนคน (119 ราย) จังหวัดตรัง 11.82 ต่อประชากรแสนคน (76 ราย) จังหวัดพัทลุง 9.72 ต่อประชากรแสนคน (51 ราย) และจังหวัดสตูล 3.43 ต่อประชากรแสนคน (11 ราย) จากสถานการณ์ในจังหวัดสตูล มีผู้ป่วยสะสมปี 2563 จำนวน 11 ราย แยกรายอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสตูล 6 ราย อำเภอมะนัง 2 ราย อำเภอท่าแพ อำเภอทุ่งหว้า และอำเภอละงู 1 ราย และยังไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยไทร ทั้ง 7 หมู่บ้าน ซึ่งนับว่าเป็นผลสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานเชิงรุกในพื้นที่ ตามที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยไทรได้มีการจัดทำระบบการแก้ปัญหาในพื้นที่ร่วมกับเครือข่ายในชุมชุมอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน โดยมีการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพเครือข่าย ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อมก่อนเกิดการระบาด เช่นการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เคมีภัณฑ์กำจัดยุง 2) การซ้อมแผนขณะเกิดการระบาด โดยการจำลองเหตุการณ์การระบาดในพื้นที่ มีการมอบหมายภารกิจขับเคลื่อนการดำเนินงาน และ 3)การป้องกันโรคในภาวะปกติ ด้วยการสำรวจและเฝ้าระวังค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย โดยพัฒนาระบบรายงานผลการสำรวจออนไลน์ ดังนั้นเพื่อการคงไว้ซึ่งระบบในการควบคุมป้องกันโรคดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยไทรจึงได้จัดโครงการส่งเสริมศักยภาพเครือข่ายป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ ๒๕๖3 เพื่อจัดการการป้องกันควบคุมโรคในชุมชนให้มีประสิทธิภาพด้วยการเสริมพลังการทำงานของเครือข่ายในชุมชนอย่างมีระบบและยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อทบทวนองค์ความรู้ในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่เครือข่าย

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้หลังการอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐

0.00
2 เพื่อให้อบรมการใช้งานระบบรับแจ้งผู้ป่วยและการรายงานผลการดำเนินงานผ่าน Social media

กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 80 ผ่านการทดสอบปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

0.00
3 เพื่อให้ความรู้และฝึกทักษะการควบคุมโรคด้วยการใช้เครื่องพ่นละอองฝอยแบบไฟฟ้า (Electric ULV) อย่างถูกต้อง (สำหรับเครือข่ายในชุมชน)

กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 80 สามารถใช้เครื่องพ่นละอองฝอยแบบไฟฟ้า (Electric ULV) อย่างถูกต้อง

0.00
4 เพื่อสร้างความตระหนักในการ กำจัด ทำลายลูกน้ำยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์และให้ความรู้ประชาชน

ผลการสุ่มค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI/CI ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน

0.00
5 เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกและพัฒนาสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา

ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาได้รับการป้องกันโรคด้วยการฉีดพ่นเคมีกำจัดยุง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 172 47,300.00 5 47,300.00
4 ส.ค. 63 1. อบรม/ทบทวนองค์ความรู้ในการป้องกันควบคุมโรค/วัดความรู้ 1.1 กิจกรรมย่อย บรรยายให้ความรู้โดยวิทยาการระดับอำเภอ/จังหวัด 35 5,300.00 5,300.00
6 ส.ค. 63 2. อบรมเชิงปฏิบัติการการ ระบบรับแจ้งผู้ป่วยและการรายงานผลการดำเนินงานผ่าน Social media 2.1 กิจกรรมย่อย - การลงแอพพลิเคชั่นบนสมาร์โฟน 1 ครั้ง - ขั้นตอนการรายงานผล 42 4,200.00 4,200.00
10 - 18 ส.ค. 63 5. ป้องกันโรคไข้เลือดออกและพัฒนาสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา (ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม/พ่นละอองฝอยกำจัดยุง) 25 15,000.00 15,000.00
19 ส.ค. 63 3. อบรมเชิงปฏิบัติการควบคุมโรคด้วยการใช้เครื่องพ่นละอองฝอยแบบไฟฟ้า (Electric ULV) 3.1 กิจกรรมย่อย - ให้ความรู้การใช้งานอุปกรณ์ วัสดุ สารเคมีที่ใช้ วิธีการ และการป้องกันตนเอง - สาธิต/ฝึกปฏิบัติ 35 5,300.00 5,300.00
25 - 31 ส.ค. 63 ๔. สุ่มประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI, CI) จำนวน ๕ ครั้ง - ประชุมวางแผนการออกสำรวจ - ลงพื้นที่สำรวจ - สรุปวิเคราะห์ผล/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหมู่บ้าน 35 17,500.00 17,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. จำนวนผู้ป่วย ปี 25๖3 ไม่เกินเกณฑ์ อัตราป่วย ๕๐ ต่อประชากรแสนคน
    1. เครือข่ายสามารถจัดการควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพกรณีเกิดการระบาดในพื้นที่
    2. ประชาชนตระหนักและมีพฤติกรรมป้องกันตนเองส่งผลให้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายลดลง
    3. ไม่พบการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในกลุ่มวัยเรียนในสถานศึกษา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2563 00:00 น.