กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการสร้างเสริมเครือข่ายชุมชนจัดการสุขภาพป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง อำเภอละงู จังหวัดสตูลปีงบประมาณ 2563

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมเครือข่ายชุมชนจัดการสุขภาพป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง อำเภอละงู จังหวัดสตูลปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L5313-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล
วันที่อนุมัติ 18 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 28 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวริวุทธิ์ จันทร์พงษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 50,000.00
รวมงบประมาณ 50,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานด้านการควบคุมป้องกันตลอดจนการเฝ้าระวังการเกิดโรคติดต่อในชุมชนเป็นกิจกรรมที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องอย่างจริงจังและเคร่งครัด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคในพื้นที่ และดำเนินการควบคุมโรคอย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพกรณีมีโรคระบาดเกิดขึ้น จากสถานการณ์การเกิดโรคที่ผ่านมานั้นพบว่าพื้นที่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมืองได้เกิดโรคไข้เลือดออกและเป็นโรคที่จำเป็นต้องดำเนินการเฝ้าระวังและควบคุมอย่างทันท่วงที จากรายโรค๕ปีย้อนหลังในปี 60,61,๖2, ๖1 และ 62 มีอัตราป่วย ๔๕๖.๕๘, ๗๘๓.๑๕, ๒๐๔.๓๘,๒๑๓.๔๕ และ 215.63 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ จากสถานการณ์ดังกล่าวนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้อง ดำเนินการเฝ้าระวังและควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมืองซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในพื้นที่ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการดำเนินงานควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกซึ่งเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขในพื้นที่ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม นโยบายการป้องกันโรคในชุมชนเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคไม่ให้เกิดขึ้นในพื้นที่เช่นการดำเนินงานพ่นหมอกควันในโรงเรียนการรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทางกายภาพ ชีวภาพหรือสารเคมีในชุมชนทุกหลังคาเรือน โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ผู้นำชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการนี้จึงได้จัดทำโครงการควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ ๒๕๖3 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างพลังแก่เครือข่ายในการป้องกันและควบคุมโรคประจำหมู่บ้าน
  • ลงเยี่ยมเสริมพลังแก่เครือข่ายจำนวน ๖ หมู่บ้าน
  • เครือข่ายทุกภาคส่วนมีความพร้อมในการป้องกันและควบคุมโรค
0.00
2 เพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออกล่วงหน้า

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน ๕๐/แสนประชากร

0.00
3 เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการควบคุมโรค

วัดความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ ในระดับสูงไม่น้อยกว่า   ร้อยละ ๘๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 300 50,000.00 4 50,000.00
1 ก.ค. 63 - 28 ก.ย. 63 รณรงค์ควบคุมโรคไข้เลือดออก จำนวน ๖ หมู่บ้าน 300 30,000.00 30,000.00
1 ก.ค. 63 - 28 ก.ย. 63 ควบคุมโรคในช่วงระบาด 0 4,000.00 4,000.00
1 ก.ค. 63 - 28 ก.ย. 63 ติดตามเยี่ยมแกนนำในการควบคุมโรคของหมู่บ้าน 0 9,000.00 9,000.00
16 ก.ค. 63 - 29 ต.ค. 63 พ่นหมอกควันก่อนเปิดเทอม จำนวน ๒ ครั้ง จำนวน ๗ แห่ง 0 7,000.00 7,000.00

1.ลงพื้นที่เยี่ยมเสริมพลังแก่คณะกรรมการหมู่บ้านในการป้องกันโรค จำนวน 6 หมู่บ้าน 2.รณรงค์สำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลุกน้ำยุงลายโดยเจ้าหน้าที่และอสม.ทุกหลังคาเรือนจำนวน 6 หมู่บ้าน ปีละ 4 ครั้ง 3.รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน/บ้าน ทุกวันศูกร์ 4.พ่นหมอกควันในโรงเรียน/ศูนย์เด้กก่อนเปิดเทอมปีละ 2 ครั้ง 5.ควบคุมโรคในช่วงระบาดโดยการพ่นหมอกควัน 6.แก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมในพื้นที่ที่มีการระบาด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนผู้ป่วย ปี 25๖3 ไม่เกินเกณฑ์อัตราป่วย ๕๐ ต่อประชากรแสนคน
2.ค่า HI ,CI ในพื้นที่ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน 3.แก่เครือข่ายความเข้าใจที่ถูกต้องสามารถกระจ่ายข่าวในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2563 00:00 น.