กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ สุขภาพดี ด้วยซั้งกอ ปี2
รหัสโครงการ 63-L5312-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สมาคมชาวประมงพื้นบ้านตำบลปากนํ้า
วันที่อนุมัติ 4 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2563 - 31 พฤษภาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 พฤษภาคม 2564
งบประมาณ 104,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกัมพล ถิ่นทะเล
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอนัญญา แสะหลี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล อ่าวปากบาราเป็นบริเวณทะเลนับจากเกาะตะรุเตาเข้ามาประชิดฝั่งแผ่นดินใหญ่ เป็นพื้นที่ ที่มีฐานทรัพยากรทางทะเลอุดมสมบูรณ์ในทะเลแถบอันดามันของไทย มีระบบนิเวศน์ทะเลชายฝั่ง ที่มีลักษณะ เฉพาะ บริเวณปากแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ก่อให้เกิดแหล่งอาหาร และอนุบาลสัตว์น้ำ มีเกาะแก่งขนาบ ทั้งด้านเหนือ ด้านใต้ และด้านตะวันตก มีร่องน้ำเดินเรือ มีทั้งแหล่งปะการังธรรมชาติ และปะการังเทียม ในบริเวณอ่าวปากบารา ปัจจุบันการประมงแบบหลากหลายวิธี ทั้งเรือประมงพาณิชย์ และเรือประมงพื้นบ้าน ที่มีการใช้ เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่ทันสมัย ทำให้จำนวนประชากรสัตว์น้ำลดลงอย่างเห็นได้ชัด ข้อมูลจากประมงพื้นบ้าน กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ปริมาณที่จับสัตว์น้ำลดลง ออกเรือหาปลาแต่ละครั้งก็ต้องก็ได้ ปริมาณลดลงมาก และต้องออกหาปลาไกลขึ้น ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันออกเรือปริมาณมากขึ้น ออกเรือหาปลาใช้เวลานานขึ้น บางทีในการ ออกเรือแต่ละครั้งค่าน้ำมันเรือกับจำนวนปลาที่ได้ก็ขาดทุน ชาวประมงพื้นบ้านได้เห็นผลกระทบดังกล่าว อีกทั้งยังขาดการทำกิจกรรมทางเพื่อส่งเสริมสุขภาพของตนเอง จึงได้เกิดความร่วมมือกันจากหลายชุมชนโดยรอบอ่าวปากบารา เริ่มทำกิจกรรมฟื้นฟูสัตว์น้ำในหลากหลาย วิธี เช่น กิจกรรมธนาคารปู การกำหนดเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำร่วมกัน การทำกิจกรรมทางกายร่วมกันโดยการวางซั้งกอหรือบ้านปลาเพื่อสร้างแหล่ง หลบภัยให้ ฝูงปลา โดยเฉพาะในช่วงหน้ามรสุม บ้านปลายังเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำตัวอ่อนอีกด้วยภายใต้ การรวมกลุ่มกัน “สมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ” เพื่อรวมเครือข่ายชาวบ้านทำกิจกรรมอนุรักษ์ ให้ต่อเนื่องและยั่งยืนการวางซั้งกอหรือสร้างบ้านให้ปลา เป็นกิจกรรมที่ประชาชนสามารถใช้กล้ามเนื้อของร่างกายในการสร้างซังกอ เสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง และสามารถเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำและสามารถป้องกันการใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายที่จะรุกเข้ามาในเขตพื้นที่การประมงพื้นบ้านได้ด้วย นอกจากนี้ การกำหนดพื้นที่วางซั้งกอ ทำให้ชาวบ้านในชุมชนได้รับประโยชน์ เนื่องจาก ทำให้ชาวบ้านสามารถออกไปจับปลามาประกอบอาหารในครัวเรือน ได้สัตว์น้ำที่ปลอดภัยทำให้ส่งผลดีต่อสุขภาพ ปลอดจากสารฟอร์มาลีน และสารเคมีต่างๆ สมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ จึงได้ร่วมกันรณรงค์ให้ชุมชนตลอดจนผู้เกี่ยวข้องได้ร่วมบริหารจัดการ ทรัพยากรชายฝั่งพื้นที่อ่าวปากบาราอย่างมีส่วนร่วมเพื่อความรักษาความมั่นคงทางอาหารของโลก และสามารถ รักษาทรัพยากรชายฝั่งให้อุดมสมบูรณ์ยั่งยืนสู่รุ่นลูกหลานสืบไปเมื่อปี พ.ศ. 2562 ทางสมาคมชาวประมงพื้นบ้านตำบลปากนํ้า ได้เสนอโครงการและงบประมาณจำนวนหนึ่ง ผ่านองค์การบริหารส่วนตำบลปากนํ้า โดยได้จัดโครงการ สุขภาพดีด้วยซั้งกอ มีการจัดเวทีและจัดกิจกรรมสร้างความร่วมมือกับคนในชุมชน กจิกรรมทางกายของผู้เข้าร่วมทำซังกอ(สร้างบ้านปลา) ในอ่าวปากบาราจำนวน 100 ต้น 3 จุด ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมา ทำให้สัตว์นํ้าบริเวณดังกล่าว มีปริมารเพิ่มมากขึ้น ชาวประมงพื้นบ้านจับปลาได้มากขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่าย และคนในชุมชน ได้บริโภคสัตว์นํ้าที่ปลอดภัย จึงทำให้เกิดโครงการนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการบริโภคอาหารทะเลที่ปลอดภัยจากการสร้างซั้งกอ

 

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกายในการสร้างซั้งกอ (บ้านปลา)

 

0.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 104,950.00 0 0.00
1 ส.ค. 63 - 31 พ.ค. 64 เวทีสร้างความเข้าใจคณะทำงาน เพื่อเตรียมความพร้อมการวางซั้งกอในอ่าวปากบารา 0 8,500.00 -
1 ส.ค. 63 - 31 พ.ค. 64 กิจกรรมการมีส่วนร่วม เตรียมอุปกรณ์ทำซั้งกอหรือบ้านปลา 0 68,250.00 -
1 ส.ค. 63 - 31 พ.ค. 64 กิจกรรมคืนบ้านให้ปลาสู่ท้องทะเล 0 20,400.00 -
1 ส.ค. 63 - 31 พ.ค. 64 กิจกรรมสรุปหลังสร้างบ้านปลา 0 7,800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในพื้นที่ได้บริโภคอาหารทะเลที่ปลอดภัย ส่งผลให้มีสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากภัยไข้เจ็บ 2.ประชาชนมีกิจกรรมทางกายร่วมกันจากกิจกรรมการสร้างซังกอ (บ้านปลา) 3.ปริมาณความหนาแน่นของปลาเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นแหลงกำเนิดและอนุบาลสัตว์นํ้า ในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งเพื่อแสดงความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลเกิดความร่วมมือในชุมชนท้องถิ่น รวมถึงภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ในเรื่องการอนุรักษ์และความมั่นคงทางอาหารสู่ความแข้มแข็งของชุมชนในการป้องกันทรัพยากรทางทะเล 4.สามารถสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลทางสู่สาธารณชน 5.เกิดเป็นต้นแบบแนวทางการดำเนินการเพื่อฟื้นฟูสัตว์นํ้าที่อ้างอิงในเชิงธรรมได้ 6.เกิดเป็นชุมชนต้นแบบของการจัดกิจกรรมทางกายเป็นแบบอย่างของชุมชนใกล้เคียง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2563 00:00 น.