กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรอง ติดตาม เฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรค โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หมู่ที่ 6 บ้านไร่ตก
รหัสโครงการ 63-L5251-5-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านไร่ตก
วันที่อนุมัติ 22 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเปรม สุวรรณรัตน์/นางสาวนิตยา ศรีเทพ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.584,100.382place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) มีการแพร่ระบาดใหญ่(Pandemic) หลายพื้นที่ทั่วโลก(ตามประกาศขององค์การอนามัยโลก, ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๓) โดยกระทรวงสาธารณสุขประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๓         ประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการติดตาม การสั่งการ และการดำเนินงานต่อสถานการณ์ของโรค โดยการเฝ้าระวังและติดตาม  กลุ่มเสี่ยง ประกอบกับตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา มีพื้นที่ติดเขตชายแดนประเทศมาเลเซีย มีประชาชน  ในพื้นที่ เดินทางไปทำงาน ต่างพื้นที่และต่างประเทศจำนวนมาก และต้องเดินทางกลับ เนื่องจากมาตรการปิดประเทศ จำเป็นต้องมีการคัดกรองโรค ค้นหา และเฝ้าระวังติดตามผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง การให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่ผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงเพื่อแยกตัวสังเกตอาการและหลีกเสี่ยงการใกล้ชิดผู้อื่น ในที่พำนักหรือที่พักอาศัยจนครบ ๑๔ วัน เพื่อป้องกันการระบาดของโรค         อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีบทบาทและเป็นกำลังสำคัญทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล การค้นหากลุ่มเสี่ยงเข้าสู่กระบวนการคัดกรอง นำเข้าระบบการรักษา ยิ่งค้นหาเร็ว ตรวจเร็ว รักษาเร็ว ยิ่งทำให้สถานการณ์ดีขึ้น เป็นด่านหน้าออกเคาะประตูบ้าน ให้ความรู้ ย้ำความสำคัญมาตรการการเว้นระยะห่าง ทำให้งานควบคุมและป้องกันโรคในระดับชุมชนมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.การสำรวจ ติดตามข้อมูล ของผู้ที่จะเดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่

1.ร้อยละของประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง

0.00
2 2.เพื่อการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ ของผู้ที่ต้องกักกันตัวฯ เพื่อแยกสังเกตอาการ ณ ที่พักอาศัย (Home Quarantine) ในห้วงระยะเวลา 14 วัน

1.ร้อยละของผู้ที่ต้องกักกันตัวฯ เพื่อแยกสังเกตอาการ ณ ที่พักอาศัย (Home Quarantine) ในห้วงระยะเวลา 14 วัน ได้รับการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ

0.00
3 3.เพื่อป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ในชุมชน

๑.ไม่พบผู้ป่วย โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙  ในชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 9,900.00 5 9,900.00
1 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 1.สำรวจ ติดตามข้อมูลของผู้ที่จะเดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ ที่รับผิดชอบ ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีประชาเขต 0 0.00 0.00
1 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 ๒.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ 0 0.00 0.00
1 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 ๓.จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานในการดำเนินงานคัดกรองสุขภาพของผู้ที่ต้องกักกันตัวฯ เพื่อแยกสังเกตอาการ ณ ที่พักอาศัย (Home Quarantine) ในห้วงระยะเวลา 14 วัน 0 0.00 0.00
1 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 ๔.กิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพของผู้ที่ต้องกักกันตัวฯ เพื่อแยกสังเกตอาการ ณ ที่พักอาศัย (Home Quarantine) ในห้วงระยะเวลา 14 วัน 0 9,900.00 9,900.00
1 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 ๕.กิจกรรมเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสรุปและประเมินผลโครงการ 0 0.00 0.00

ก่อนเข้าสู่ที่กักกันตัวเพื่อแยกสังเกตอาการ ณ ที่พักอาศัย (Home Quarantine) 1.การสำรวจ และติดตามข้อมูล ของผู้ที่จะเดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ 2.การให้คำแนะนำในการจัดเตรียมสถานที่ การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมในสถานที่ที่จะใช้เป็นที่กักกันตัวผู้ถูกกักกันตัวฯ (Home Quarantine) 3.การฉีดพ่นสเปรย์แอลกอฮอล์ กระเป๋า สัมภาระที่นำมา 4.การให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของผู้ถูกกักกันตัวฯ และแจกเอกสารเรื่องการปฏิบัติตัวของผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง 14 วัน 5.จ่ายหน้ากากอนามัย เจลล์แอลกอฮอล์
6.จัดทำข้อมูลตามแบบรายงานติดตามผู้เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง เพื่อใช้ติดตามตรวจคัดกรองสุขภาพประจำวัน จำนวน 14 วัน
7.การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ด้วย Hand held Thermometer และบันทึกในแบบรายงานติดตามผู้เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง 14 วัน

การกักกันตัว เพื่อแยกสังเกตอาการ ณ ที่พักอาศัย (Home Quarantine) 1. ติดตามตรวจคัดกรอง ด้วยการวัดอุณหภูมิร่างกาย ตลอดจนการตรวจสอบอาการประจำวันตามนิยาม PUI ประจำวัน ดำเนินการในทุกๆ วัน อย่างต่อเนื่อง จำนวน 14 วัน
2. บันทึกและจัดการข้อมูล Home Quarantine ในแบบรายงานติดตามผู้เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง14วัน ทุกวัน 3. การเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ ของผู้ที่ต้องกักกันตัวฯ เพื่อแยกสังเกตอาการ ณ ที่พักอาศัย (Home Quarantine) ในห้วงระยะเวลา 14 วัน
3.1 เฝ้าระวังภาวะสุขภาพ การเจ็บป่วยทั่วไป ของผู้ที่ต้องกักกันตัว และการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลเมื่อมีอาการป่วย หรือมีภาวะฉุกเฉิน 3.2 สื่อสารในกลุ่มไลน์ (Line group) เพื่อเป็นช่องทางสื่อสาร โต้ตอบ เพื่อเฝ้าระวังภาวะสุขภาพฯ และให้คำปรึกษาด้านอื่น ๆ 3.3 ติดตาม แนะนำการจัดการขยะทุกวัน

การกักกันตัว เพื่อแยกสังเกตอาการ ณ ที่พักอาศัย (Home Quarantine) เมื่อครบ 14 วัน
1. ประสานการออกเอกสารให้ผู้ที่ถูกกักตัวครบ 14 วัน สำหรับใช้ประกอบในการเดินทาง และการประกอบอาชีพ 2. การให้ความรู้ และคำแนะนำการปฏิบัติตัว ในการป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19)
3. ทบทวน วิเคราะห์ สรุปปัญหาอุปสรรค เพื่อวางแผนแก้ไขกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการปฏิบัติครั้งต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.การสำรวจ ติดตามข้อมูล ของผู้ที่จะเดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่       ๒.ผู้ที่ต้องกักกันตัวฯ เพื่อแยกสังเกตอาการ ณ ที่พักอาศัย (Home Quarantine) ในห้วงระยะเวลา 14 วัน ได้รับการการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ       3.การป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2563 14:22 น.