กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตลาดสะอาด ร้านอาหารปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ
รหัสโครงการ 63-L1491-02-35
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มนักศึกษา วสส.
วันที่อนุมัติ 25 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 14 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 14 สิงหาคม 2563
งบประมาณ 17,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจิรายุ พลอยประดับ
พี่เลี้ยงโครงการ พ.จ.อ.ไชยา สุทธิโภชน์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาตาล่วง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.584,99.596place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารนับว่าเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพของประชาชน และอาหารที่ประชาชนบริโภคนั้น    จะต้องปราศจากเชื้อโรคอาหารเป็นพิษหรือปนเปื้อนจากเชื้อโรค และถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร คือ การจัดการและควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้อาหารสะอาด ปลอดภัยจากเชื้อโรค และสารเคมีที่เป็นพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค เช่น อาหาร ผู้สัมผัสอาหาร สถานที่ทำ ประกอบ ปรุง และจำหน่ายอาหาร ภาชนะ อุปกรณ์ สัตว์และแมลงนำโรค ตลาด หรือ ตลาดสด และร้านอาหาร จัดเป็นสถานที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า และเป็นศูนย์กลางวิถีชุมชนที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน ทั้งผู้ขายของ ผู้ช่วยขายของ ผู้ส่งสินค้า ผู้ซื้อสินค้า และเป็นแหล่งที่มีการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย จึงเป็นแหล่งที่ทำให้เกิดของเสีย และมลพิษจำนวนมาก เช่น ขยะ น้ำเสียกลิ่นเหม็น เสียงดัง และควันจากการประกอบอาหาร เป็นต้น ซึ่งตลาดและร้านอาหารที่ไม่มีระบบการควบคุมดูแล และกำจัดของเสียนั้น จะทำให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชน จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าหากไม่มีการจัดที่ดี ที่ถูกลักษณะ ตลาดก็จะกลายเป็นแหล่งที่เพาะพันธุ์เชื้อโรค
เทศบาลตำบลนาตาล่วงมีร้านอาหารที่อยู่ในการดูแลของเทศบาลจำนวน ร้าน และมีตลาดที่อยู่ในการดูแลของเทศบาลจำนวน 1 ตลาด คือ ตลาดใต้สะพาน ซึ่งจัดเป็นตลาดประเภทที่ 2 จากการสำรวจ พบว่า ในด้านสุขลักษณะทั่วไป ตลาดและบริเวณโดยรอบไม่มีน้ำขังเฉอะแฉะ มีการจัดวางสินค้า สิ่งของ วัสดุอุปกรณ์เป็นระเบียบเรียบร้อยไม่กีดขวางทางเดิน แต่ทางเดินภายในตลาดมีความกว้างไม่ถึง 2 เมตร ไม่มีหมายเลขแผงและชื่อที่อยู่ผู้ขายติดตั้งประจำ  แผง ด้านการจัดการมูลฝอย ไม่มีที่รองรับมูลฝอย ผู้ค้าต้องดำเนินการเก็บมูลฝอยกลับเอง และไม่มีการแยกประเภทมูลฝอย ด้านการจัดหาน้ำดื่มน้ำใช้ ไม่มีที่เก็บสำรองน้ำไว้ใช้ให้เพียงพอต่อการใช้งานในแต่ละวัน ด้านการจัดการน้ำเสีย  รางระบายน้ำในบางจุดมีเศษอาหารและเศษขยะอุดตัน ด้านการจัดการสิ่งปฏิกูล ภายในห้องส้วมมีกลิ่นเหม็น อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ไม่มีสบู่ล้างมือ มีการทำความสะอาดส้วมนาน ๆ ครั้ง และจำนวนห้องส้วมไม่เพียงพอต่อจำนวนประชาชนที่มาเดินตลาด ด้านการป้องกัน ควบคุมสัตว์และแมลงพาหะนำโรค พบแมลงวันภายในตลาดและไม่มีการป้องกันควบคุมสัตว์และแมลงพาหะนำโรค การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ไม่มีการจัดระเบียบที่จอดรถ และเส้นทางการเดินรถเข้า-ออก และในด้านสุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาด ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของไม่สวมใส่เสื้อมีแขน ไม่สวมถุงมือ หมวกหรือเน็ทคลุมผม ผู้ขายของและผู้ช่วยของใช้มือสัมผัสอาหารปรุงสุกโดยตรง ส่วนใหญ่ไม่มีอุปกรณ์หยิบ จับ คีบอาหาร และไม่มีการจัดอบรมผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาด ในด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม/สุขภาพอนามัย และจากการสุ่มสำรวจร้านอาหารในเขตรับผิดชอบของเทศบาลตำบลนาตาล่วงที่ต้องกำกับดูแล พบว่าร้านอาหารทุกร้าน ผู้ปรุงและผู้เสิร์ฟอาหารยังไม่เคยได้รับการอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารในร้านอาหาร ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลนาตาล่วง จึงดำเนินการจัดทำโครงการตลาดสะอาด ร้านอาหารปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค เพื่อให้ตลาดนัดใต้สะพาน และร้านอาหารของเทศบาลตำบลนาตาล่วง เป็นตลาดสดที่มีมาตรฐาน ตลาดสดน่าซื้อ ผู้จำหน่ายสินค้าในตลาดสดได้มีพื้นที่จำหน่ายสินค้า และจำหน่ายสินค้าเป็นไปตามหมวดหมู่ ของประเภทสินค้าที่ทางเทศบาลกำหนด แก้ไขปัญหาการวางสินค้าไม่เป็นระเบียบพร้อมปฏิบัติตัวในการจำหน่ายสินค้าได้อย่างถูกต้อง ตามหลัก รวมถึงผู้จำหน่ายสินค้ามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการพัฒนาตลาดสด และร่วมพัฒนาทั้งด้านสถานที่จำหน่ายสินค้าด้านการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลของผู้จำหน่ายและผู้ช่วย พร้อมการนำสินค้าที่มีคุณภาพมาจำหน่าย และร้านอาหารในเขตที่รับผิดชอบ เป็นร้านอาหารที่ได้รับมาตรฐาน Clean Food Good Taste ส่งผลให้ผู้บริโภคได้สินค้าและอาหารที่สะอาดปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 40 17,500.00 1 17,500.00
26 มิ.ย. 63 - 14 ก.ค. 63 อบรมให้คววามรู้ 40 17,500.00 17,500.00

ประชุมวางแผนกำหนดวัตถุประสงค์ และเขียนโครงการเพื่อเสนอ 2. จัดซื้อและจัดจ้างตามระเบียบพัสดุฯ 3. ประชาสัมพันธ์ และจัดทำหนังสือตอบรับเข้าร่วมอบรมโครงการตลาดสะอาด ร้านอาหารปลอดภัย ถูกสุขอนามัย 4. จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบตลาด และร้านอาหาร 5. ตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อนในอาหารหลังการอบรม 6. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 7. ประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน และเสนอแนะแนวทางในการนำไปปรับปรุงพัฒนางาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการในตลาดนัดใต้สะพาน และผู้ประกอบการร้านอาหารมีความรู้ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไป   ปรับใช้ได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร
    1. ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่สะอาด และปลอดภัย ไม่ปนเปื้อนจากสารเคมีและเชื้อโรค
    2. ลดอัตราการเจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากการปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่มของผู้บริโภค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2563 10:54 น.