กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย
รหัสโครงการ 2563-L3306-2-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านคู
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 39,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางหยาด นุ่มหยู่
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ โดยในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลายเป็นจำนวนมาก และบางรายมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญและได้นำปัญหาโรคไข้เลือดออกมากำหนดเป็นนโยบายหลักในการดำเนินงาน และได้กำหนดให้โรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายเป็นตัวชี้วัดหนึ่งในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข โดยที่สถานบริการสุขภาพทุกแห่งจะต้องร่วมมือกับองค์กรชุมชนเพื่อดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายให้คลอบคลุมทุกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง       สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจากรายงานทางระบาดวิทยา ๕ ปี ย้อนหลัง สำหรับเขตพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคู พบว่า ปี พ.ศ.๒๕๕๘ มีรายงานผู้ป่วย จำนวน ๑ ราย คิดเป็นอัตราป่วย เท่ากับ ๑๘.๔๕ ต่อแสนประชากร โดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ มีรายงานผู้ป่วย จำนวน ๔๐ ราย คิดเป็นอัตราป่วย เท่ากับ ๗๒๘.๘๖ ต่อแสนประชากร โดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ปี พ.ศ.๒๕๖๐ มีรายงานผู้ป่วย จำนวน ๑๔ ราย คิดเป็นอัตราป่วย เท่ากับ ๒๕๖.๔๑ ต่อแสนประชากร โดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ปี พ.ศ.๒๕๖๑ มีรายงานผู้ป่วย จำนวน ๒ ราย คิดเป็นอัตราป่วย เท่ากับ ๓๗.๐๔ ต่อแสนประชากร โดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต และ ปี พ.ศ.๒๕๖๒ มีรายงานผู้ป่วย จำนวน ๔ ราย คิดเป็นอัตราป่วย เท่ากับ ๗๓.๓๑ ต่อแสนประชากร โดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งจะเห็นได้ว่าเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคู ในปี ๒๕๕๙ เกิดขึ้นมากที่สุด มีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกใกล้เคียงกับอัตราป่วยของอำเภอกงหราที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกณฑ์ที่กำหนดคือ อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ลดลงร้อยละ ๒๐ ของค่ามัธยฐานของอัตราป่วยย้อนหลัง ๕ ปี อัตราป่วยไม่เกิน ๘๐ ต่อแสนประชากรต่อปี และเกณฑ์สำคัญที่นำมาพิจารณาคือ ค่าร้อยละของครัวเรือนที่พบลูกน้ำยุงลาย (HI) ไม่เกินร้อยละ ๑๐ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐ ของจำนวนหมู่บ้าน/ชุมชน ทั้งหมด และโรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มัสยิด ปลอดลูกน้ำยุงลาย (CI=๐) ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคู จึงเล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญ ของปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ให้คลอบคลุมทุกพื้นที่ในชุมชน  จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ปี ๒๕๖๓ ขึ้น เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและหยุดการระบาดของโรคติดต่อ และโรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ในช่วงการระบาดของโรค ช่วงที่มีการระบาด และหลังการระบาดของโรค

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายของรพ.สต. บ้านคู ลดลง และมีการควบคุมการระบาดของโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีการระบาดซ้ำ

0.00
2 เพื่อการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ในชุมชน และในสถานที่ราชการ และลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย

ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในโรงเรียน (Container Index=๐) และไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบริเวณบ้าน (House Index < ๑๐)

0.00
3 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน โรงเรียน และองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรค

ชุมชนเกิดความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรค

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 680 39,200.00 5 39,200.00
30 มิ.ย. 63 ป้องกันโรคล่วงหน้า 0 4,400.00 4,400.00
2 ก.ค. 63 ประชุมเตรียมความพร้อม SRRT 90 9,900.00 9,900.00
22 ก.ค. 63 รณรงค์สร้างกระแส 500 13,500.00 13,500.00
18 ส.ค. 63 ควบคุมและป้องกันโรค 0 6,000.00 6,000.00
22 ก.ย. 63 ประชุมวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน 90 5,400.00 5,400.00

๑. เสนอแผนงานให้อนุกรรมการกลั่นกรอง
      ๒. เสนอแผนงานต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
๓. ประชุมให้ความรู้ทีม SRRT ในการดำเนินงานป้องกันก่อนการเกิดโรค ขณะเกิดโรค และหลังการเกิดโรค         ควบคุมกรณีเกิดโรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ๔. กิจกรรมการรณรงค์ สร้างกระแสการดำเนินงานในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย         ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านคู
๕. กิจกรรมการป้องกันโรคล่วงหน้าในโรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ก่อนเปิดเทอม ปี ละ ๒ ครั้ง   ครั้งละ ๒ รอบ จำนวน ๑๑ แห่ง ๖. กิจกรรมการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของทุกหมู่บ้าน กำหนดสัปดาห์ละ ๓ ครั้ง
๗. ดำเนินการควบคุม และป้องกันโรค กรณีเกิดโรคขึ้น เพื่อตัดวงจรการเกิดโรค และการป้องกันการ   ระบาดของโรคได้ทันท่วงที       ๘. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายของรพ.สต. บ้านคู ลดลง และมีการควบคุมการระบาดของโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีการระบาดซ้ำ (Second generation case) ๒. ประชาชนเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคู มีความรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติตัวใน         การป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายได้อย่างถูกต้อง และมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุม         โรค ๒. เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อสม. ประชาชน และหน่วยงานสาธารณสุขในการ ควบคุมลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2563 10:47 น.