กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์แบบบูรณาการ ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 2563-L3306-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านคู
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 18,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธนิต มูสิกปาละ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นประชากรกลุ่มหนึ่งที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง เนื่องจากมีการสูญเสียธาตุเหล็กไปกับประจำเดือน ประมาณ ๑๒.๕–๑๕ มิลลิกรัมต่อเดือน หรือเฉลี่ยวันละ ๐.๔-๐.๕ มิลลิกรัม ซึ่งปกติร่างกายจะสูญเสียธาตุเหล็กจากการขับถ่ายวันละ ๐.๕-๑.๐ มิลลิกรัม และยังมีการสูญเสียธาตุเหล็กออกไปทาง ปัสสาวะ ผิวหนัง บาดแผล และการบริจาคโลหิต นอกจากนี้พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ แนวโน้มของประเทศไทย ในปี ๒๕๖๒ พบอัตราการตายมารดาอยู่ที่ ๑๗.๑ ต่อการเกิดมีชีพแสนคน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการตกเลือด มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ๓๙% ทารกคลอดก่อนกำหนด ๑๐.๔% ทารกเสียชีวิตจากภาวะพิการแต่กำเนิด ๗% ขณะที่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน ๖ เดือน ยังน้อยเพียง ๒๓.๙% และกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำนโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติฉบับที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๙) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ โดยเนื้อหาของยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะเน้นในเรื่อง การเพิ่มจำนวนการเกิดเพื่อทดแทนจำนวนประชากร โดยส่งเสริมการเกิดในหญิงอายุ ๒๐-๓๔ ปี ที่มีความพร้อมและตั้งใจที่จะมีครรภ์ การเกิดทุกรายมีความพร้อม มีการวางแผน และได้รับความช่วยเหลือในการมีบุตร และทารกเกิดมาอย่างแข็งแรง พร้อมเติบโตอย่างมีคุณภาพ โดยส่งเสริมให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ได้รับการดูแลหลังคลอดที่ดี โดยจะมีการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น พัฒนาระบบบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพตั้งแต่ระยะก่อนสมรส ก่อนมีบุตร ตั้งครรภ์ และหลังคลอด การส่งเสริมการเลี้ยงดูบุตร มาตรการทางภาษีช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลบุตร เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคู จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์แบบบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ขึ้น เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ (๑๕–๔๔ปี) ป้องกันภาวะซีดตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์และลดภาวะซีดในขณะตั้งครรภ์ หากมีการตั้งครรภ์ในอนาคตจะลดความเสี่ยงต่อแม่คลอดไม่ปลอดภัยจากภาวะตกเลือดหลังคลอด เด็กเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ และลดความเสี่ยงต่อเด็กพิการแต่กำเนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำสุขภาพมีความรู้ ความเข้าใจ การ แก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุ เหล็กในหญิงวัยเจริญพันธุ์ และแนวทางการ ค้นหาหญิงตั้งครรภ์เพื่อเข้าถึงการฝากครรภ์

แกนนำสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจ ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ ๑๕-๔๔ ปี ได้รับ การตรวจคัดกรองภาวะการขาดธาตุเหล็ก
  • หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ ๑๕-๔๔ ปี ได้รับการคัดกรอง
      ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๕
0.00
3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้เข้าถึงบริการฝากครรภ์ ก่อน 12 สัปดาห์

หญิงตั้งครรภ์ได้เข้าถึงบริการ โดยเข้าฝากครรภ์ก่อน ๑๒
  สัปดาห์ ร้อยละ 80

0.00
4 ลดปัญหาโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิง ตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภ์ มีภาวะขาดธาตุเหล็ก ไม่เกินร้อยละ ๑๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 290 18,100.00 3 18,100.00
15 ก.ค. 63 ประชุมแกนนำสุขภาพ 90 11,100.00 11,100.00
17 ส.ค. 63 อบรมให้ความรู้ 200 7,000.00 7,000.00
8 ก.ย. 63 ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ 0 0.00 0.00

วิธีดำเนินการ
      ๑. เสนอแผนงานให้อนุกรรมการกลั่นกรอง
      ๒. เสนอแผนงานต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
      ๓. จัดประชุมแกนนำสุขภาพ ระดมความคิดเพื่อวางแผนและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางจาก         การขาดธาตุเหล็กในหญิงวัยเจริญพันธุ์ แนวทางการค้นหาหญิงตั้งครรภ์เพื่อเข้าถึงการฝากครรภ์ และการ         ดำเนินงานชุมชนเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
๔. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ ๑๕-๔๔ ปี พร้อมตรวจคัดกรองภาวะซีด (Anemia
        mobile) จำนวน ๒๐๐ คน (๕ หมู่บ้าน)       ๕. ติดตามกลุ่มที่พบภาวะซีด (HCT < ๓๓ %) โดยการให้ความรู้รายบุคคล ให้ยาธาตุเหล็กหลังจาก 1เดือน
        ถ้ายังพบภาวะซีด ซ้ำ ส่งพบแพทย์เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุ       ๖. แกนนำสุขภาพติดตามค้นหาหญิงตั้งครรภ์ในชุมชนเพื่อเข้าสู่ระบบตามแผนการฝากครรภ์ (ครั้งแรกก่อน
        ๑๒ สัปดาห์)       ๗. กิจกรรมการให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ รายบุคคล/รายกลุ่ม โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข       ๘. กิจกรรมสร้างความเข้าใจการดำเนินงานชุมชนเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดย จนท.สาธารณสุข/แกนนำสุขภาพ       ๙. สรุป ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้ ความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง 2.      ๒. หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่แต่งงานแล้วเตรียมความพร้อมที่จะตั้งครรภ์มีความรู้ในเรื่องการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 3.        อายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ มีความรู้ ทักษะในการดูแลตนเองและทารกในครรภ์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2563 11:13 น.