กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน (SRRT) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
รหัสโครงการ 63-L7252-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธาณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 13 กรกฎาคม 2563
งบประมาณ 73,570.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุจิรา ไชยเจริญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางจินดาพร แซ่เฉีย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และสร้างความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ แม้ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน แต่กลับพบว่า ปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ซึ่งจากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกปี 2562 (ข้อมูลวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562) พบว่า มีอัตราผู้ป่วยไข้เลือดออก และผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้นจากปี 2561 กล่าวคือในปี 2562 ประเทศไทยพบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 116,462 รายโดยในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดนี้ มีผู้เสียชีวิตจำนวน 125 ราย และในจังหวัดสงขลา พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 2,773 ราย ซึ่งในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดนี้ มีผู้เสียชีวิตจำนวน 3 ราย โดยผู้เสียชีวิตมีภูมิลำเนาในอำเภอควนเนียงอำเภอเทพาอำเภอหาดใหญ่ส่วนรายงานสถานการณ์จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลาโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 21 เมษายน 2563 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรวมจำนวนทั้งสิ้น 308 รายและไม่พบผู้เสียชีวิต โดยพบผู้ป่วยในกลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 5 - 9 ปีคิดเป็นอัตราป่วย 71.36 ต่อประชากรแสนคนรองลงมาคือกลุ่มอายุ 10 - 14 ปี, 15 - 24 ปี, 0 - 4 ปี, 25 - 34 ปี, 35 - 44 ปี,45 - 54 ปี, 55 - 64 ปี, 65 ปีขึ้นไปอัตราป่วยเท่ากับ 61.85,37.82,19.47,14.69,10.04, 7.74, 3.79 และ 0.76 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับและอาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือนักเรียน จากข้อมูลการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกดังกล่าว แม้ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสะเดายังไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก แต่ยังพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกได้ในทุกชุมชน ซึ่งข้อมูลสถิติจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกในปี 2562 มีจำนวน 78 ราย และในปี 2563 (ข้อมูลปัจจุบันเดือน ม.ค. ถึง มิ.ย.) พบจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกโดยพบจำนวนผู้ป่วย 33 ราย และจากการสำรวจชุมชนพบว่า มีแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในหลายพื้นที่ทั้ง 19 ชุมชนซึ่งจะทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก และมีโอกาสเกิดการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น ทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองสะเดา จึงทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน (SRRT) เพื่อดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญ และชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดความชุกชุมของยุงพาหะนำโรค และลูกน้ำยุงลายในพื้นที่
  • จำนวนครัวเรือนที่พบลูกน้ำยุงลายไม่เกินร้อยละ 10 (ค่า HI ไม่เกินร้อยละ 10) -ไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลายในบริเวณวัด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก(ค่า CI = 0 )
0.00
2 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค และป้องกันการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ในพื้นที่

อัตราผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลง

0.00
3 เพื่อสร้างกระแสให้ประชาชนตื่นตัว และกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง
  • ประชาชนให้ความร่วมมือและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมโรคไข้เลือดออก
  • ประชาชนสามารถแนะนำสมาชิกในชุมชนเกี่ยวกับการควบคุมโรคไข้เลือดออก
0.00
4 ลดอัตราผู้ป่วยไข้เลือดออกในประชากรทุกกลุ่มอายุ

อัตราประชากรในชุมชนป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

0.00
5 ไม่พบอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเสียชีวิต

อัตราผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกเป็นศูนย์

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 73,570.00 0 0.00
1 - 31 ส.ค. 63 ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนรายละเอียดโครงการ 0 0.00 -
1 - 31 ส.ค. 63 เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ 0 0.00 -
1 - 31 ส.ค. 63 ประสานงานการดำเนินโครงการ/ประชาสัมพันธ์โครงการ 0 0.00 -
1 ส.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 ดำเนินโครงการ 0 73,570.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.แกนนำ และอสม. ทั้ง 19 ชุมชน ได้ความรู้จากการอบรมโดยมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตลอดถึงการรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและคนในชุมชน 2.ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ ทั้ง 19 ชุมชนมีแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพของตนเอง และตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก การป้องกันและควบคุมโรค และนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน 3.ประชาชนในชุมชนทุกครัวเรือน มีความรู้ความเข้าใจ มีความ ตระหนักถึงอันตราย การป้องกันและควบคุมโรค 4.ควบคุมการแพร่ระบาดของโรค และป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็ว โดยความร่วมมือของแกนนำชุมชน และอสม. รวมถึงประชาชนในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2563 00:00 น.