กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ด้วยรักและใส่ใจสุขภาพ (Health and Healthy Care) โรงเรียนเพียงหลวง 4ฯ
รหัสโครงการ 2563 – L5314 - 2 – 02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 27 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศโดยกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคนครอบครัว ชุมชน และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือวัยเด็กซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญเนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญาอารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป

จากข้อมูลภาวะโภชนาการ ในปีการศึกษา 2562 นักเรียนโรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี จำนวน 26 คน พบเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 38.46 ซึ่งปัญหาภาวะทุพโภชนาการนี้ อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์จิตใจและสังคมตามมาจำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิตการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กและส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก และปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชน นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียน

จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีจึงได้จัดทำโครงการด้วยรักและใส่ใจสุขภาพ (Health and Healthy Care)ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา เฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเด็ก และจากการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ส่งเสริมสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามโภชนาการเด็กที่เสี่ยงต่อการมีภาวะปัญหาภาวะโภชนาการ

1.ร้อยละ 100 มีการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ

0.00
2 เพื่อให้ครู ผู้ปกครองและนักเรียนมีความรู้ และความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพร่างกาย ไม่ให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ

1.ร้อยละ 90 ของครูผู้ปกครอง มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการ

2.ร้อยละ 90 ของผู้ปกครองและนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเรื่องภาวะโภชนาการ

0.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการออกกำลังกายที่ถูกต้องเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

1.ร้อยละ90 ของผู้ปกครองและนักเรียนมีความเข้าใจในเรื่องการออกกำลังกายที่ถูกต้องเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

2.ร้อยละ90 ของผู้ปกครองและนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเรื่อง การออกกำลังกายที่ถูกต้องเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

0.00
4 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (COVID-19) และการเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (COVID-19)

ร้อยละ 90 ของนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโควิด(COVID-19)และการเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (COVID-19)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,000.00 0 0.00
1 ก.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 เฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ 0 22,300.00 -
1 ก.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 ให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก 3-12 ปี ให้แก่ครู ผู้ปกครอง 0 4,150.00 -
1 ก.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 ติดตามเด็กที่ภาวะโภชนาการ 0 680.00 -
1 ก.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 ส่งเสริมพัฒนาการ/การออกกำลังกายและเพิ่มกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน 0 0.00 -
1 ก.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 มีการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังโรคโควิด- 19 0 2,370.00 -
1 ก.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง 0 500.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)

ขั้นเตรียม

  1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล

  2. ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

  3. เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ

  4. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการโครงการ

  5. ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายทราบ

ขั้นดำเนินการ

กิจกรรมเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเด็กและการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)

  1. ประชุมชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการ

  2. ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงของนักเรียน

  3. แยกประเภทนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการพร้อมแจ้งผู้ปกครองให้ทราบ

  4. จัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียน ครู และผู้ปกครองนักเรียนด้านโภชนาการ

  5. จัดทำคู่มือเมนูอาหารแต่ละชนิด คุณประโยชน์ของอาหารแต่ละชนิดและโภชนาการสำหรับเด็ก

  6. ติดตามน้ำหนักและส่วนสูงเด็ก เดือนละ 1 ครั้ง พร้อมบันทึกผลการชั่งน้ำหนัก

  7. ติดตามน้ำหนักและส่วนสูงเด็กที่มีน้ำหนักต่ออายุต่ำกว่าเกณฑ์ทุกคน เดือนละ 1 ครั้งพร้อมบันทึกผลการชั่งน้ำหนักเพื่อประเมินความก้าวหน้าของภาวะทุพโภชนาการ จัดทำอาหารเช้าและจ่ายอาหารเสริมแก่เด็ก

  8. จ่ายยาถ่ายพยาธิแก่เด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ทุกคน

  9. ติดตามน้ำหนักและส่วนสูง เด็กที่มีน้ำหนักต่ออายุเกินเกณฑ์ทุกคน เดือนละ 1 ครั้ง พร้อมบันทึกผลการชั่งน้ำหนัก เพื่อประเมินความก้าวหน้าของภาวะทุพโภชนาการและให้นักเรียนออกกำลังกายด้วยวิธีการต่างๆ

  10. เฝ้าระวังการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)

ขั้นสรุปผล

  1. ประเมินผลสำเร็จของโครงการ

  2. รายงานผลการดำเนินโครงการต่อกองทุน อบต.แหลมสน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กนักเรียนได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการตามเป้าหมาย

  2. ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กนักเรียนลดลง

  3. นักเรียน ครู ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ด้านโภชนาการในเด็กวัยเรียน

  4. มีการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังโรคโควิด -19 เพื่อเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (COVID -19)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2563 15:11 น.