กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ห่างไกลจากสารเคมีตกค้าง ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63 -L1515-01–05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคลองมวน
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2563 - 15 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,430.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจิตติมา สังข์สุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.9,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชนอกจากจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้วยังก่อให้เกิดปัญหาการได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายของเกษตรกรผู้ใช้ และยังมีสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย การใช้สารเคมีทางการเกษตรนานๆ จนทำให้พืชผักมีพิษตกค้างจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของผู้บริโภค สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
      พื้นที่ในหมู่ที่ 1 , 2 , 7 และ 8 ตำบลหนองปรือ เป็นพื้นที่หนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ ทำสวนยางพารา  ทำสวนปาล์ม ทำไร่ ปลูกพืชผัก ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงอยู่       ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคลองมวน ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ และเพื่อเป็นการสนับสนุนงานบริการเชิงรุกด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ห่างไกลสารเคมีตกค้างประจำปี 2563 ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพหาปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที รวมถึงการติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงที่ตรวจพบสารเคมี และให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการเฝ้าระวังต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อตรวจคัดกรองเกษตรกรที่มีความเสี่ยงต่อสารกำจัดศัตรูพืช 2.เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ที่ถูกต้องในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3.เพื่อถ่ายทอดความรู้เรื่องการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชการล้างผักเพื่อลดสารปนเปื้อน

1.ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรอง 2.ร้อยละ 90 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ที่ถูกต้องในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และสาธิตการล้างผักเพื่อลดสารปนเปื้อนได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,430.00 1 13,430.00
30 เม.ย. 63 - 31 ส.ค. 63 1.ตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง และกิจกรรมอบรมให้ความรู้ 0 13,430.00 13,430.00
  1. จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ
  2. ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเกษตรกรรับทราบ
  3. เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองโดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โลคีนเอสเตอเรส
  4. ประสานวิทยากรในการฝึกอบรม
  5. ดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร
  6. แจ้งผลการตรวจเลือด พร้อมทั้งจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้และให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพ ๗. ประเมินผลและรายงานการดำเนินโครงการฯต่อประธานคณะกรรมการกองทุนฯตำบลหนองปรือ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในเขตพื้นที่หมู่ที่ 1 2 7 และ 8 ตำบลหนองปรือ       2.เกษตรกรได้รับการตรวจเลือด และรู้ผลว่ามีสารเคมีตกค้างอยู่ในระดับใด       3.เกษตรกรมีความรู้ในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้องในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช       4.เกษตรกรได้รับการประเมินความเสี่ยงในการทำงานจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (นบก.1)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2563 16:14 น.