กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผนึกกำลังเยาวชนรุ่นใหม่ต้านภัยไข้เลือดออก หมู่ที่ 8 บ้านควนตำเสา
รหัสโครงการ 60-L5293-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.หมู่ที่ 8
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 กุมภาพันธ์ 2560 - 31 มีนาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อสม.หมู่ที่8
พี่เลี้ยงโครงการ นางสุทิศา ล่าเต๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,99.807place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในระดับประเทศ โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งโรคไข้เลือดออกนั้นก่อให้เกิดผลกระทบในหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย จิตใจ รายได้ หน้าที่การงาน สังคม และอาจส่งผกระทบต่อชีวิต โดยจะพบผู้ป่วยในทุกพื้นที่เป็นประจำทุกปี จนอาจกล่าวได้ว่าโรคไข้เลือดออกเป็นโรคประจำท้องถิ่นของทุกพื้นที่
สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในจังหวัดสตูล พบว่าในปี ๒๕๕๙ มีผู้ป่วย ๑,๗๙๖ ราย อัตรา ๕๗๓.๑๕ ต่อแสนประชากร ( สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล ) อำเภอทุ่งหว้าเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยนับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๙ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ พบว่า จากรายงานมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรวม จำนวนทั้งสิ้น ๑๑๓ คน ไม่มีรายงานการเสียชีวิต โดยพบผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง เป็นเพศชาย ๖๒ คน เพศหญิง ๕๑ คน กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือ กลุ่มอายุ ๑๕-๒๔ ปี รองลงมาคือ กลุ่มอายุ ๑๐-๑๔ ปี , ๕-๙ ปี , ๒๕-๓๔ ปี , ๐-๔ ปี , ๓๕-๔๔ ปี , ๔๕-๕๔ ปี ๕๕-๖๓ ปี และ ๖๕ ปีขึ้นไป จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ ๒๙ , ๑๕ , ๑๒ , ๑๐ , ๙ , ๔ , ๔ และ ๑ ตามลำดับ และในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน ๗๘ ราย ซึ่งในหมู่ที่ ๘ บ้านควนตำเสาพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน ทั้งหมดจำนวน ๓๐ คน (งานสุขาภิบาลและการโรค โรงพยาบาลทุ่งหว้า , ๒๕๖๐) การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค ซึ่งเริ่มจากบุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยมี อสม. เป็นแกนนำในการดำเนินการเฝ้าระวังและรณรงค์ในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และเยาวชนในชุมชนถือเป็นกำลังสำคัญกลุ่มหนึ่งในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก
ดังนั้น อสม.หมู่ที่ ๘ บ้านควนตำเสาจึงร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า จัดทำโครงการผนึกกำลังเยาวชนรุ่นใหม่ ต้านภัยไข้เลือดออก หมู่ที่ ๘ บ้านควนตำเสาขึ้นเพื่อสร้างกลุ่มแกนนำเยาวชนในชุมชนในการเป็นแรงขับเคลื่อนในการดำเนินงานเฝ้าระวัง การรณรงค์ การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ตลอดจนการกระตุ้นคนในชุมชนให้มีความตระหนักในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก ทำให้การดำเนินงานมีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้เยาวชนหมู่ที่ ๘ มีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและสามารถถ่ายทอดความรู้สู่คนในชุมชนได้

๑. ร้อยละ ๘๐ ของสมาชิกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม ๒. ร้อยละ ๘๐ ของสมาชิกกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้าอบรม

2 ๒. เพื่อให้แกนนำเยาวชนหมู่ที่ ๘ มีส่วนร่วมในการทำนวัตกรรมในการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน

มีนวัตกรรมเกี่ยวกับไข้เลือดออก

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะเตรียมการ - ประชุมคณะจัดทำโครงการเพื่อที่จะกำหนดแนวทางกระบวนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนและจัดทำโครงการ - นำเสนอขออนุมัติโครงการต่อองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้าและประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน
ระยะดำเนินการ - ค้นหาแกนนำเยาวชนที่จะเข้ามาเป็น แกนนำเยาวชนรุ่นใหม่ต้านภัยไข้เลือดออก
- อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพาหะนำโรค การติดต่อ อาการ การวินิจฉัย การป้องกันโรค และการดูแลผู้ป่วย - สาธิตการทำนวัตกรรมยาหม่องสมุนไพรไล่ยุงในการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก - กิจกรรมเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการสำรวจลูกน้ำ ให้แก่แกนนำเยาวชนรุ่นใหม่ ต้านภัยไข้เลือดออกและการเดินรณรงค์สำรวจลูกน้ำ โดยแบ่งพื้นที่รับผิดชอบก่อนลงสำรวจ - แกนนำเยาวชนร่วมกับ อสม. เดินรณรงค์สำรวจลูกน้ำ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายก่อน และหลังโครงการ - ติดตามการเฝ้าระวังพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยใช้แบบสอบถาม
ระยะประเมินผล - ประเมินผลจากจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ - ประเมินผลความรู้โดยการทำแบบทดสอบความรู้ก่อน - หลังอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก - ประเมินผลทักษะการทำนวัตกรรมจากกการเข้าร่วมกิจกรรมการทำนวัตกรรมยาหม่องสมุนไพร ไล่ยุง - ประเมินผลการลดลงของแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายจากการเดินรณรงค์สำรวจลูกน้ำบริเวณบ้านของแกนนำและกลุ่มตัวแทนหลังคาเรือนที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกหลังเข้าร่วมโครงการ - ประเมินผลพฤติกรรมการเฝ้าระวังการและการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยใช้แบบสอบถาม - ประเมินผลความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ โดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เพื่อให้แกนนำเยาวชนในหมู่ที่ ๘ มีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและสามารถถ่ายทอดความรู้สู่คนในชุมชนได้ ๒. เพื่อให้แกนนำเยาวชนหมู่ที่ ๘ เกิดการร่วมมือและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อป้องกันตนเองและครอบครัวให้ห่างไกลจากโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2560 09:45 น.