กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขัน
วันที่อนุมัติ 11 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 60,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนคร กาเหย็ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 235 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2175 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพปัจจุบันปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขส่วนใหญ่มีสาเหตุจากประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนซึ่งได้จากสถานการณ์ของปัญหาสาธารณสุขที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่พบว่ากลุ่มโรค Metabolic โดยเฉพาะโรคอ้วนลงพุง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน กำลังเป็นปัญหาสำคัญในทุกพื้นที่  อีกทั้งยังมีแนวโน้มเป็นปัญหาต่อเนื่องในอนาคต ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหากลุ่มโรค Metabolic ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การรับประทานผักและผลไม้ไม่เพียงพอ ตลอดจนสภาพปัญหาทางจิตใจ อารมณ์ และความเครียดการเสริมสร้างให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่ดีสามารถจัดการลดความเสี่ยงของตนเองได้จะเป็นกลไกพื้นฐานที่สำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยง ซึ่งการสร้างความรู้ ความเข้าใจเพียงอย่างเดียวอาจไม่มีผลเพียงพอที่จะทำให้เกิดความตระหนักในการเปลี่ยนแปลงสุขภาพได้ การจัดกิจกรรมฝึกทักษะและการเสริมสร้างพลังแก่กลุ่มเป้าหมายจึงจำเป็นต้องควบคู่กับการให้ความรู้ ความเข้าใจนำไปสู่การปฏิบัติ นอกจากนี้การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมทั้งในครอบครัว และชุมชนก็จะส่งผลให้ประชาชนตระหนักและมีพฤติกรรมที่ดีได้ ดังนั้นจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะเร่งการทำงานเชิงรุกในชุมชนเพื่อตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป และให้การวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ต่อไป ซึ่งทาง โรงพยาบาลส่งเสรมสุขภาพตำบลควนขัน จัดตั้งคลินิก DPAC ในหน่วยงานเพื่อให้บริการคลินิกผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุศักยภาพในการดูแลตนเองไม่เต็มที่เนื่องจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เพื่อให้ควบคุมโรคได้และลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นควรมีการส่งเสริมศักยภาพในการดูแลตนเองเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการทำให้ประชาชนมีสุขภาพดี โดยทั่วหน้า ผลจากการดำเนินงานตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพของประชาชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขัน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมาจากการดำเนินการคัดกรองโรคเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงในประชากร 35 ปี ขึ้นไป จำนวน 1,728 คน ซึ่งได้รับการคัดกรองโรคความดันฯ 1,718 คน คิดเป็นร้อยละ 99.42 คัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 1,943 คน ซึ่งได้รับการคัดกรอง 1,936 คน คิดเป็นร้อยละ 99.64 โดยมีกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 210 คน และกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงจำนวน 163 คน โดยกลุ่มเสี่ยงทั้งหมดได้รับการติดตามและให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนั้นเพื่อให้กิจกรรมดังกล่าวดำเนินต่อไปและเพื่อให้ประชากร 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองฯ เป็นประจำทุกปีจึงได้จัดทำโครงการในปี 2563 ต่อไป
จากสภาพปัญหาดังกล่าว  ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขัน ได้เล็งเห็นถึงแนวโน้มที่จะมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่เพิ่มขึ้นอีกถ้าหากไม่มีการแก้ปัญหาที่แท้จริง จึงเกิดโครงการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานขึ้นในประชาชนกลุ่มเสี่ยงทุกกลุ่มอายุ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรู้จักการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคในอนาคต ให้มีความรู้และสามารถดูแลตนเองและคนในครอบครัว เกิดพฤติกรรมที่ดีและสามารถลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรังเพิ่มได้ในระยะยาว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานและได้รับการประเมินผลภาวะสุขภาพเบื้องต้น

ร้อยละ 95 ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงความดันโลหิตและเบาหวาน ตลอดถึงได้รับการประเมินผลภาวะสุขภาพเบื้องต้น

95.00
2 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงทุกรายได้รับการตรวจน้ำตาลในเลือดและตรวจวัดความดันโลหิตสูง
  1. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานได้รับการเจาะหาน้ำตาลในเลือดทุกราย
  2. กลุ่มเสี่ยงทุกรายได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  3. กลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้องโดยแพทย์
95.00
3 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการดูแลที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง
  1. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ต่อเนื่องตามนัด
90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 2410 60,300.00 2 60,300.00
16 ก.ค. 63 กิจกรรมการคัดกรองและค้นหาผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในพื้นที่ 2,175 41,225.00 41,225.00
16 ก.ค. 63 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกหมู่บ้าน 235 19,075.00 19,075.00
  1. วิเคราะห์ข้อมูลปัญหาของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  2. จัดทำโครงการขออนุมัติจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคูหาใต้
  3. ประชุมชี้แจงโครงการการดำเนินงานกับอาสาสมัครสาธารณสุข
  4. จัดทำแผนการออกตรวจน้ำตาลในเลือด และตรวจวัดความดันโลหิต
  5. ประชาสัมพันธ์โครงการแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
  6. ดำเนินการตรวจน้ำตาลในเลือดและตรวจวัดความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงพร้อมทั้งให้สุขศึกษาการปฏิบัติตัวในการเฝ้าระวังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  7. ดำเนินกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ของโรคในพื้นที่
  8. ให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและประเมินภาวะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงแก่กลุ่มเสี่ยง เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 3 เดือน ทั้งการออกกำลังกายที่เหมาะสม การรับประทานอาหารที่เหมาะสม
  9. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  10. เจาะ Lab หาค่าระดับน้ำตาลในเลือด(A1C) เพื่อประเมินค่าระดับน้ำตาล วิเคราะห์ผล เพื่อส่งต่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง หลังดำเนินกิจกรรม
  11. ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงเพื่อเร่งดำเนินการรักษาที่ถูกต้องโดยแพทย์
  12. ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนในเขตพื้นที่หมู่ 2, 3, 4, 8 และ 12 ตำบลคูหาใต้  อายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน พร้อมทั้งกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวานได้รับการดูแลและให้ความรู้ด้านโภชนาการอาหาร การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การดูแลสุขภาพจิต และลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ  จะช่วยป้องกันการเกิดโรคอ้วนลงพุง โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้ร้อยละ 90 ตลอดจนผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2563 15:45 น.