กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ มหกรรมการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน
รหัสโครงการ 63-L7258-2-49
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สมาคมเภสัชและอายุรเวชแผนโบราณ จังหวัดสงขลา
วันที่อนุมัติ 17 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 กรกฎาคม 2563 - 14 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 272,570.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมยศ รัตนมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักสำคัญในการดูแลสุขภาพเพื่อก้าวเข้าสู่การมีสุขภาพดีคือการส่งเสริมสุขภาพ โดยนโยบายการสร้างหลักประกัน ภาพถ้วนหน้า ช่วยคนไทยห่างไกลโรค มีเป้าหมายที่สำคัญ คือ การสร้างสุขภาพที่ดีและลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ในระยะยาว ได้ขยายขอบเขตการบริการส่งเสริมสุขภาพไปยังกลุ่มผู้มีสิทธิในการรักษาทุกประเภท เพื่อให้มี ความรู้และทักษะในการดูแลตนเอง สอดคล้องกับรัฐธรมนูแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๕๒ กำหนดไว้ ว่าคนไทยทุกคนมีสิทธิเท่เทียมกัน ในการรับบริกรสาธารณสุขที่มีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ด้อยโอกาสมีสิทธิที่จะ ได้รับบริการทางกาแพทย์ โดยไม่คิดมูลค่าที่จัดโดยรัฐอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ โดยการมีส่วนร่วมขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ซึ่งเป็นการสร้างหลักประกันด้านสุขภาพ แก่ประชาชนไทยทุกคน การดูแลสุขภาพ ถือเป็นกลยุทธ์ทางสุขภาพที่กำลังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางที่จะช่วยกระตุ้นและ ส่งเสริมให้บุคคลเกิดพฤติกรมการส่งเสริมสุขภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของบุคคล ช่วยลดอัตราป่วย ด้วยโรคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคอันเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเครียด คำว่าสุขภาพในความหมายของคนทั่วไปกลายเป็นเรื่องของการรอให้ เจ็บป่วยก่อนแล้วค่อยรักษา ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก แต่ให้ผลตอบแทนด้านสุขภาพต่ำกว่าที่ควรเป็น นอกจากนี้ แนวโน้มการเจ็บป่วยและปัญหาสุขภาพของประชาชนก็มีความชับซ้อนมากขึ้น ถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนของสังคมต้องมีส่วน ร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยการส่งเสริมสุขภาพ การดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน เป็นการดูแลสุขภาพโดยเน้นให้ประชาชนมีการดูแล สุขภาพแบบองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และสังคม ส่งเสริมให้เครือข่ายรวมกลุ่มกันจัดกิจกรรมส่งเสริม สุขภาพในรูปแบบของมหกรมส่งสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน เพื่อเป็นศูนย์กลางและเป็น กลไกในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านสู่ประชาชน เป็นการลด ปัจจัยเสี่ยงง่ายๆด้วยต้นทุนต่ำป้องกันโรคต่างๆ ไม่ให้เกิดขึ้นก่อนวัยอันควร ทำให้ประชาชนสมรรถภาพดี สามารถ ทำงานได้เต็มตามศักยภาพ ขณะเดียวกันก็เป็นการลดค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพลงไปในตัวด้วยเช่นกัน ดังนั้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย นักวิชาการ หมอพื้นบ้าน ชุมชน ในการใช้ภูมิปัญญา การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านในการดูแลสุขภาพ สมาคมเภสัชและอายุรเวชแผนโบราณ จึงได้จัดทำโครงการ "โครงการมหกรรมการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน" เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้ เรียนรู้ วิธีการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ใน ชีวิตประจำวันเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เครือข่ายการทำงานด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ ทางเลือกในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่มีความเข้มแข็ง

เกิดเครือข่ายการทำงานด้านการแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือกในเขต เทศบาลนครหาดใหญ่เพิ่มขึ้น

0.00
2 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในองค์ความรู้ ประสบการณ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น อันจะเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนางานด้านการแพทย์แผนไทย

มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในองค์ความรู้ ประสบการณ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น และนำมา พัฒนางานด้านการแพทย์แผนไทยเพิ่มขึ้น

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนและผู้สนใจ ได้มีความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้าน

ร้อยละ ๘๐ ประชาชนและผู้สนใจ มีความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมสาธิตการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้าน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1000 255,000.00 3 255,000.00
31 ก.ค. 63 - 14 ส.ค. 63 ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยายสาธิตและฝึกปฎิบัติ (เหมาจ่าย) ให้ความรู้แก่ผู้สนใจ 1,000 180,000.00 180,000.00
31 ก.ค. 63 - 14 ส.ค. 63 ค่าวัตถุดิบสาธิตและฝึกปฎิบัติการทำสมุนไพรสด และสมุนไพรแห้ง ฯ 0 60,000.00 60,000.00
31 ก.ค. 63 - 14 ส.ค. 63 ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการาะิตและฝึกปฎิบัติ 0 15,000.00 15,000.00
2 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 17,570.00 1 17,570.00
31 ก.ค. 63 - 14 ส.ค. 63 ค่าจัดทำแผ่นพับ A4 4 สี 2 หน้า 3,000 ใบ /ป้ายไวนิลโครงการ /ป้ายไวนิลตารางปฏิบัติงานประจำวัน / ป้ายไวนิลจุดสาธิตให้ความรู้ 0 17,570.00 17,570.00
  1. ประสานงานเครือข่ายแพทย์แผนไทย
  2. ประชุมร่วมกับคณะผู้บริหารของสมาคมเภสัชและอายุรวชแผนโบราณจังหวัดสงขลา และเครือข่ายแพทย์แผน ไทย นำเสนอปัญหาและแนวทางการทำงานเพื่อจัดทำ "โครงการมหกรรมการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์ การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน" ๓. เขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ๔. แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อวางแผนกำหนดรูปแบบพื้นที่ดำเนินงาน ๕. จัดประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม
  3. จัดโครงการมหกรรมการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านโดยมีกิจกรรม สาธิตและซุ้มสุขภาพ ดังนี้ ๖.๑ กิจกรรมให้ความรู้และสาธิตการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้าน 6.๒ กิจกรรมการดูแลสุขภาพด้วยการนวดเพื่อสุขภาพ ๖.๓ กิจกรรมสาธิตให้ความรู้และสาธิตการใช้พันธุ์พืชสมุนไพร ตามนโยบาย "สงขลาเมืองสมุนไพร" และสมุนไพรส่งเสริมภูมิคุ้มกันต้านโควิด 6.๔ กิจกรรมให้ความรู้และสาธิตการแปรรูปสมุนไพรเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ (ยาดม ยาหม่อง น้ำมัน เหลือง พิมเสนน้ำ น้ำมันว่าน ยาพอกเข่า ลูกประคบ ยาสีฟัน ยากันยุง ) ๖.๕ กิจกรรมให้ความรู้และสาธิตการจัดตำรับยา จากเนื้อไม้สมุนไพร ๖.๖ กิจกรรมให้ความรู้และสาธิตการทำน้ำสมุนไพร และยำผักพื้นบ้าน ๗. ติดตามและประเมินผล ทำแบบประเมินความพึงพอใจ-ข้อเสนอแนะ 8.สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ทำให้เครือข่ายการทำงานด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือกในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่มี ความเข้มแข็งมากขึ้น ๒. ทำให้เจ้าหน้าที่และประชาชนมีความรู้มากขึ้นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในองค์ความรู้ ประสบการณ์ และภูมิปัญญา ท้องถิ่น 3. ประชาชนและผู้ที่สนใจได้รับวามรู้จากการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านและสามารถนำไปใช้ ในชีวิตประจำวันได้ ๔. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และสังคม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2563 17:58 น.