กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการฝึกการลอยตัวและว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด (เด็กไทยไม่จมน้ำ)
รหัสโครงการ 63-L7258-2-44
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลฐานทัพเรือสงขลา ทัพเรือภาคที่ 2
วันที่อนุมัติ 17 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 กรกฎาคม 2563 - 14 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 510,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นาวาเอกพิพัฒน์ พูลทรัพย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ เป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จากข้อมูลในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2552-2562) มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตสูงถึง 8,394 คน หรือเฉลี่ยปีละ 839 คน หรือวันละ  2.3 คน พบว่าร้อยละ 72 ของเด็กที่เจอคนตกน้ำจะช่วยชีวิตด้วยวิธีการกระโดดลงไปช่วย ทำให้ตัวเองจมน้ำไปด้วย ซึ่งร้อยละ 77.4 ของเด็กที่จมน้ำจะเสียชีวิต และในจำนวนเด็กที่ไปเล่นน้ำตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป พบว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งเสียชีวิตพร้อมกัน โดยพบว่าส่วนใหญ่ขาดทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำและไม่รู้วิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง (กรมควบคุมโรค, 2562) ข้อมูลสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา จังหวัดสงขลา ที่มีอัตราการเสียชีวิตต่อประชากรเด็กแสนคนเท่ากับ 5 - 7.4 จัดอยู่ในกลุ่มพื้นที่สีเหลือง คือเสี่ยงปานกลาง ในปี พ.ศ.2559 – 2562 มีผู้เสียชีวิตจำนวน 31 ราย เป็นเพศชาย จำนวน 19 ราย และเพศหญิง จำนวน 12 ราย สถานที่เกิดเหตุส่วนใหญ่เกิดในคลอง แม่น้ำ แก่งน้ำ น้ำตก รองลงมาเป็นคลองขุด ร่องขุด และคลองชลประทาน ฝายกั้นน้ำ และทะเล และจากการศึกษาของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคพบว่าเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ว่ายน้ำเป็นร้อยละ 23.7 และว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้ มีความรู้ เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ ทักษะการเอาชีวิตรอด และทักษะการช่วยเหลือเพียงร้อยละ 4.4 ทั้งนี้เด็กที่เรียนหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด จะมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ มีทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ และทักษะการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำ มากกว่าคนที่ไม่ได้เรียนถึง 7.4 เท่า, 20.7 เท่า และ 2.7 เท่า ตามลำดับ
      การอบรมเชิงปฏิบัติการฝึกการลอยตัวและว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด (เด็กไทยไม่จมน้ำ) เป็นโครงการที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้เกิดการเรียนรู้และมีทักษะในการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด รวมไปจนถึงวิธีการให้ความช่วยเหลือหรือการปฐมพยาบาลช่วยคนจมน้ำได้อย่างปลอดภัย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัย สำคัญที่จะช่วยป้องกันปัญหาการจมน้ำในกลุ่มเด็กอายุ ต่ำกว่า ๑๕ ปี อันจะส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตของเด็กในจังหวัดสงขลา ลดน้อยลงอย่างเป็นรูปธรรม ผลการประเมินการดำเนินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการฝึกการลอยตัวและว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด (เด็กไทยไม่จมน้ำ) ในปี 2562 พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 90.20 มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยหลังการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจสูงกว่าก่อนฝึกอบรม โดยคะแนนเฉลี่ยหลังฝึกอบรม เท่ากับ 4.59 และคะแนนเฉลี่ยก่อนฝึกอบบรม เท่ากับ 2.81 และหลังฝึกภาคปฏิบัติผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีทักษะการลอยตัว และการว่ายน้ำสูงกว่าก่อนฝึกภาคปฏิบัติ โดยคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังฝึกภาคปฏิบัติเท่ากับ 2.63 และ 4.65 ตามลำดับ
      ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และเกิดผลดีต่อท้องถิ่น อีกทั้งเพื่อลดอัตราการตายจากการจมน้ำในเด็กและเยาวชน โรงพยาบาลฐานทัพเรือสงขลา ทัพเรือภาคที่ 2 จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการฝึกการลอยตัวและว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด (เด็กไทยไม่จมน้ำ) ขึ้น เพื่อให้เด็ก เยาวชนและประชาชน ในชุมชน มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ และมีความรู้พื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและ การปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้น และเพื่อให้เด็กและเยาวชนมีทักษะในการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็ก เยาวชนและประชาชน ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ มีความรู้และทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้

ผู้เข้ารับการอบรมฝึกผ่านการประเมินทักษะการฝึกปฏิบัติ  ร้อยละ  90

0.00
2 เพื่อลดอัตราการสูญเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กในจังหวัดสงขลา อายุต่ำกว่า 15 ปี

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 75

0.00
3 เพื่อให้เด็ก เยาวชนและประชาชน ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ มีทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำด้วย การหยิบ ยื่น โยน วัสดุใกล้ตัวอย่างถูกวิธี

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อกระบวนการอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 510,000.00 1 510,000.00
31 ก.ค. 63 - 14 ส.ค. 63 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 100 510,000.00 510,000.00
  1. เสนอโครงการเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครหาดใหญ่

  2. ประชาสัมพันธ์โครงการ

  3. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน กำหนดหลักสูตร วิธีการ และรูปแบบการจัดกิจกรรม

  4. ประสานวิทยากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  5. กำหนดแผนการดำเนินโครงการ

  6. อบรมเชิงปฏิบัติการฝึกการลอยตัวและว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด (เด็กไทยไม่จมน้ำ)

  7. ประเมินผล และจัดทำรายงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ปัญหาการเสียชีวิตจากการจมน้ำลดลง

  2. เด็ก เยาวชนและประชาชน ได้รับความรู้พื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาล

  3. เด็ก เยาวชนและประชาชน ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ได้รับความรู้ในการป้องกันการจมน้ำ การเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2563 18:08 น.