กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ นวัตกรรมทางการแพทย์จากยางพารา(มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L7258-2-45
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ หน่วยวิจัยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์จากพอลิเมอร์เชิงคลินิก ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วันที่อนุมัติ 17 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 กรกฎาคม 2563 - 14 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 252,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแพทย์วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการรักษาทางการแพทย์มีการพัฒนาและมีความหลากหลายมากขึ้น รวมไปถึงเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ในการรักษา อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์จึงเป็นอุตสาหกรรมที่น่าสนใจทั้งในด้านการพัฒนาและการลงทุนในตลาด เนื่องจากมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลาย มีมูลค่าทางการตลาดสูงและมีมาตรฐานเฉพาะในการผลิต อุปกรณ์ทางการแพทย์หลายชนิดมีการนำเข้าจากต่างประเทศ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์จึงเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพต่อระบบเศรษฐกิจและการพัฒนาของนักวิจัย เมื่อพิจารณาถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีหลากหลายชนิด จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์ทางการแพทย์หลายตัวมียางพาราเป็นส่วนประกอบหลัก เนื่องด้วยยางพารามีคุณสมบัติเด่นหลายด้าน เช่น มีความยืดหยุ่น (elasticity) ดี สามารถใช้งานที่อุณหภูมิต่ำได้ มีความต้านทานต่อแรงดึงสูง มีความทนทาน เป็นต้น จากคุณสมบัติเด่นต่าง ๆ ของยางพารา งานวิจัยแลนวัตกรรมทางการแพทย์ที่มียางพาราเป็นส่วนประกอบ จึงเป็นการสร้างจุดเด่นให้กับอุปกรณ์ การกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเกษตร เพิ่มมูลค่ายางพาราอันเป็นพืชเศรษฐกิจให้กับประชาชนชาวเกษตรกร โดยนอกเหนือจากการใช้วัสดุที่เป็นยางพาราธรรมชาติแล้ว โดยเน้นการพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เหมาะสมต่อการใช้งานทางการแพทย์ และปลอดภัยต่อผู้ป่วยอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์จากยางพารา

กลุ่มเป้าหมายร้อยละ ๘๐ เกิดความตระหนัก และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตนวัตกรรมทางการแพทย์

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนและผู้สนใจ ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพด้วยนวัตกรรมยางพารา

กลุ่มเป้าหมายร้อยละ ๘๐ มีความรู้ความเข้าใจด้านการส่งเสริมสุขภาพด้วยนวัตกรรมยางพารา

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 252,100.00 3 252,100.00
31 ก.ค. 63 - 14 ส.ค. 63 กิจกรรมนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมทางการแพทย์จากยางพารา และซิลิโคนทางการแพทย์ 0 36,500.00 36,500.00
31 ก.ค. 63 - 14 ส.ค. 63 กิจกรรมตอบคำถามเพื่อชิงรางวัล 0 32,000.00 32,000.00
31 ก.ค. 63 - 14 ส.ค. 63 กิจกรรมการ work shop 0 183,600.00 183,600.00

๑. ประชุมร่วมกับคณะผู้บริการนำเสนอปัญหาและแนวทางการทำงานเพื่อจัดทำ โครงการมหกรรมสุขภาพ “หาดใหญ่ชีวาสุข ศาสตร์ความสุขของคนรักสุขภาพ”

๒. เขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ

๓. แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อวางแผนกำหนดรูปแบบการทำงาน

๔. จัดประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม

๕. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

๖. แผนการดำเนินงาน โดยจัดกิจกรรม ดังนี้

      ๖.๑ สื่อนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมทางการแพทย์จากยางพารา และซิลิโคนทางการแพทย์

      ๖.๒ กิจกรรมตอบคำถามเพื่อชิงรางวัล

      ๖.๔ กิจกรรมการ work shop ได้แก่

          ๖.๔.๑ สาธิตการใช้ถุงทวารเทียม โดย นวัตกรรมถุงทวารเทียมจากยางพารา

          ๖.๔.๒ สาธิตการใช้แผ่นแปะหู โดย นวัตกรรมแผ่นแปะป้องกันแผลกดทับบริเวณใบหู

          ๖.๔.๓ สาธิตการเย็บบาดแผล โดย นวัตกรรมผิวหนังเทียม

          ๖.๔.๔ สาธิตการป้อนอาหารหนูทดลอง โดย นวัตกรรมหนูทดลองจากยางพารา

          ๖.๔.๕ สาธิตการใช้ยางลอกลายในงานพิสูจน์หลักฐาน

          ๖.๓.๖ สาธิตการสอนตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง โดย นวัตกรรมเต้านมเทียมจากยางพารา

          ๖.๓.๗ สาธิตการทำเดโมตีโฟมยางพารา

          ๖.๓.๘ สาธิตการทำชุดหมอนรองก้นและหมอนพนักพิง

          ๖.๓.๙ สาธิตการใช้หน้ากากกันฝุ่น (PAPR)

๗. ทำแบบประเมินความพึงพอใจ

๘. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนและผู้ที่สนใจได้รับความรู้จากการส่งเสริมสุขภาพด้านนวัตกรรมทางการแพทย์

๒. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการผลิตนวัตกรรมทางการแพทย์มากขึ้น

๓. ประชาชนมีความสนใจในด้านงานนวัตกรรมทางยางพารามากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2563 18:14 น.