กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ บริการสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเชิงรุกหาดใหญ่ชีวาสุข ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L7258-1-31
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขหาดใหญ่ชีวาสุข
วันที่อนุมัติ 17 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 กรกฎาคม 2563 - 14 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 269,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาบทิพย์ เพ็ชรสกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 31 ก.ค. 2563 14 ส.ค. 2563 269,000.00
รวมงบประมาณ 269,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่1 ด้านการส่งเสริม สุขภาพและป้องกันโรคเป็นเลิศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับการส่งเสริมสุขภาพและมี สุขภาพที่ดี การสร้างสุขภาพ ถือเป็นกลยุทธ์ทางสุขภาพที่กำลังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าจะช่วยกระตุ้นและ ส่งเสริมให้บุคคลเกิดพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของบุคคล ช่วยลดอัตราป่วย ด้วยโรคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคอันเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเครียดและโรคมะเร็ง สาเหตุที่พบอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเนื่องจาก กระบวนการสร้างสุขภาพ ไม่เพียงแต่จะเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้การศึกษาด้านสุขภาพเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดผลในการปฏิบัติและสภาพการณ์ของการดำรงชีวิตที่ สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม บรรทัดฐานทางสังคม สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจซึ่งก็คือวิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งจะ ก่อให้เกิดภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ของบุคคลและชุมชนนั่นเอง แม้ระบบสุขภาพของคนไทยที่ผ่านมาจะได้รับการพัฒนา อย่างต่อเนื่องจนส่งผลให้สุขภาพของประชาชนในภาพรวมดีขึ้นและระบบบริการสุขภาพจะมีความก้าวหน้ามากขึ้นแต่ยัง มุ่งที่การจัดบริการเพื่อการรักษาพยาบาลเป็นหลัก คำว่าสุขภาพในความหมายของคนทั่วไปกลายเป็นเรื่องของการรอ ให้เจ็บป่วยก่อนแล้วค่อยรักษา ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก แต่ให้ผลตอบแทนด้านสุขภาพต่ำกว่าที่ควรเป็น นอกจากนี้ การเจ็บป่วยและปัญหาสุขภาพของประชาชนก็มีความซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นการแก้ไขด้วยวิธีคิด วิธีการ และ องค์ความรู้เดิมจึงไม่เพียงพอ ถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนของสังคมต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยการ สร้างสุขภาพและด้วยภูมิปัญญาของชุมชนทั้งสังคม โดยการเน้นให้ประชาชนมีพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่าง ต่อเนื่อง บริโภคอาหารที่สุก มีประโยชน์ สะอาดปลอดภัย ไม่ติดยาเสพติด ส่งเสริมให้ประชาชนในแต่ละชุมชนรวมกลุ่ม กันจัดกิจกรรมด้านสุขภาพในรูปของชมรมสร้างสุขภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ชมรมสร้างสุขภาพเป็นศูนย์กลางและเป็น กลไกในการจัดกิจกรรมการเรียนด้านสุขภาพสู่ประชาชน ส่งเสริมให้ประชาชนมีการออกกำลังกายและมีโภชนาการที่ดี เป็นการลดปัจจัยเสี่ยงง่ายๆด้วยต้นทุนต่ำป้องกันโรคต่างๆ อาทิ โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสู ง ฯลฯ ไม่ให้เกิดขึ้นก่อนวัยอันควร ทำให้ประชาชนมีสมรรถภาพดี สามารถทำงานได้เต็มตามศักยภาพ ขณะเดียวกันก็เป็น การลดค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพลงไปในตัวด้วย หลักสำคัญในการดูแลสุขภาพเพื่อก้าวสู่การมีสุขภาพดี คือ การให้ความรู้ ทางด้านโภชนาการอาหาร การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การดูแลสุขภาพจิตและลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆจะช่วยป้องกัน โรคที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรมการบริโภคให้ถูกชนิด ปริมาณ และถูกเวลา ควรเลือกกิน อาหารให้ครบ๕ หมู่ให้หลากหลายและพอเพียง ลดอาหารหวาน มัน เค็ม ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ จากนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยคนไทยห่างไกลโรคมี เป้าหมายที่สำคัญ คือ การสร้างสุขภาพที่ดีและลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว ได้ขยายขอบเขตการบริการ ส่งเสริมสุขภาพไปยังกลุ่มผู้มีสิทธิในการรักษาทุกประเภท เพื่อให้มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเอง ศูนย์บริการสาธารณสุขหาดใหญ่ชีวาสุข สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่ เป็นศูนย์บริการสาธารณสุขที่มุ่งเน้นการส่งเสริม สนับสนุนการดูแลสุขภาพ การรักษาสุขภาพของผู้ป่วย ผู้สูงอายุ และ บุคคลทั่วไป ให้บริการประชาชนด้วยบริการสุขภาพแบบผสมผสาน รวบรวมองค์ความรู้ นวัตกรรมทางด้านสุขภาพ ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ซึ่งให้บริการด้านแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกโดยทีมสหวิชาชีพต่างๆ อาทิเช่น แพทย์แผนไทย นักกายภาพบำบัด นักพัฒนาการกีฬาและ นักโภชนาการ ศูนย์ฯหาดใหญ่ชีวาสุขได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ของการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและการเรียนรู้เชิงสุขภาพอย่างถูกต้องเหมาะสม จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพและเยียวยาตนเองได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือกในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่

มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนและผู้สนใจ ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้าน และแพทย์ทางเลือก

ร้อยละ 80 ประชาชนและผู้สนใจ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและแพทย์ทางเลือก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1000 269,000.00 4 269,000.00
31 ก.ค. 63 - 14 ส.ค. 63 กิจกรรมด้านการแพทย์แผนไทย 400 169,750.00 169,750.00
31 ก.ค. 63 - 14 ส.ค. 63 กิจกรรมด้านโภชนาการ 350 77,650.00 77,650.00
31 ก.ค. 63 - 14 ส.ค. 63 กิจกรรมด้านกายภาพบำบัดและพัฒนาการกีฬา 100 4,500.00 4,500.00
31 ต.ค. 63 - 14 ส.ค. 63 กิจกรรมด้านแพทย์ทางเลือก 150 17,100.00 17,100.00
  1. ประชุมร่วมกับคณะผู้บริการนำเสนอปัญหาและแนวทางการทำงานเพื่อจัดทำ โครงการมหกรรมสุขภาพ “หาดใหญ่ชีวาสุข ศาสตร์ความสุขของคนรักสุขภาพ”
  2. เขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
  3. แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อวางแผนกำหนดรูปแบบการทำงาน
  4. จัดประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม
  5. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  6. แผนการดำเนินงาน จัดกิจกรรมเป็นฐานต่างๆ ทั้งหมด 4 ฐาน ดังนี้
    1. ด้านแพทย์แผนไทย 1.1 กิจกรรมนวดแผนไทย 1.2 กิจกรรมพอกตา
                1.3 กิจกรรมพอกเข่า
                1.4 หัตถการเผายา           1.5 กิจกรรมทำผลิตภัณฑ์น้ำมันสุคนธบำบัด           1.6 กิจกรรมทำชาสมุนไพร
                1.7 คลินิกเท้า
                1.8 นิทรรศการสมุนไพรกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
    2. ด้านโภชนาการ 2.1 กิจกรรมสาธิต บรรยายเกษตรอินทรีย์และวิสาหกิจชุมชน 2.2 กิจกรรมสาธิตผงน้ำเคยทรงเครื่อง           2.3 ทำน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ 15 วัน           2.4 ทำเมนูอาหารสุขภาพ จำนวน 8 วัน               - การใช้ความหวานทดแทนในกาแฟ               - แยมฟักข้าว
                    - น้ำพริกสมุนไพร               - อาหารมังสวิรัติ
            3. ด้านแพทย์ทางเลือก           3.1 คลินิกกัญชา       4. ด้านกายภาพบำบัดและพัฒนาการกีฬา
  7. ทำแบบประเมินความพึงพอใจ
  8. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนและผู้ที่สนใจได้รับความรู้จากการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและแพทย์ทางเลือกสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 2.ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และสังคม 3.ประชาชนให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2563 18:15 น.