กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรู้จักตัวเอง รู้จักปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 2563-L5314-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมสน
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 20,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมสน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อที่สำคัญ 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็ง เป็นปัญหาวิกฤตของสังคมโลกและประเทศไทย ทั้งปัญหาสุขภาพ ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัว สังคม กลุ่มโรคหลักดังกล่าวเป็นผลมาจาก 4 พฤติกรรมเสี่ยงหลักได้แก่ การสูบบุหรี่ การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม และ 4 การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ภาวะน้ำหนักเกิน/โรคอ้วน ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก พบว่าร้อยละ 80ของโรคหัวใจ โรคเบาหวานประเภทที่ 2 และมากกว่าร้อยละ 40 ของโรคมะเร็งสามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การเลิกสูบบุหรี่ การไม่ดื่มแอลกอฮอล์ การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ และการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม การศึกษาของ UKPDS (UK Prospective Diabetes Study) ในปีค.ศ.2000 ถึงผลประโยชน์ที่ได้รับจากการปรับพฤติกรรมรายบุคคลต่อการควบคุมโรค พบว่า สามารถลดการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูงได้ถึงร้อยละ 35-58 ซึ่งลดได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับการใช้ยา metformin ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมค่าระดับน้ำตาลในเลือดและค่าความดันโลหิตได้ดีขึ้น โดยทุก 1HbA1C ที่ลดลง ทำให้ลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นต่อหลอดเลือดแดงเล็ก (เช่น ตา ไต) ลงร้อยละ 37 ลดการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดและหลอดเลือดสมองถึงร้อยละ 14 และ 12 ตามลำดับ และผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมากกว่า 130/80 มม.ปรอทร่วมด้วย พบว่าความดันโลหิตที่ลดลง 10 มม.ปรอท ส่งผลให้ลดภาวะแทรกซ้อนทั้งหลอดเลือดแดงใหญ่และเล็กร้อยละ 35 จากการศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของคนไทย พบว่า การบริโภคอาหารไม่เหมาะสม มีพฤติกรรมที่นิยมทานอาหารนอกบ้าน การบริโภคอาหารที่มีพลังงานสูง อาหารจานด่วน อาหารสำเร็จรูป ขนมกรุบกรอบ เครื่องดื่มที่มีรสหวานและน้ำอัดลมมากขึ้น คนไทยบริโภคน้ำตาลโดยเฉลี่ยเพิ่มจาก 12.7 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ในพ.ศ. 2526 เป็น 29.6 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ในพ.ศ. 2556คนไทยบริโภคเกลือ/โซเดียมเฉลี่ยสูงเกินเกณฑ์ที่ควรบริโภคถึงสองเท่า ส่วนหนึ่งมาจากการกินอาหารที่มองไม่เห็นว่ามีส่วนของโซเดียมผสมอยู่ เช่น เครื่องปรุงรส ผงฟู ขนมกรุบกรอบ อาหารกึ่งสำเร็จรูป คนไทยกว่าครึ่งกินผักและผลไม้ไม่เพียงพอ ทั้งที่ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตผักผลไม้สำคัญ การออกกำลังกาย คนไทยมีการออกกำลังกายเป็นประจำ มากกว่า 5 ครั้งต่อสัปดาห์ เพียงร้อยละ 25.7 ในปี 2554 มีการเคลื่อนไหวร่างกายเพียงพอในกลุ่มคนทำงานที่ใช้แรงกาย แต่ในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศ กลุ่มเด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมการขยับร่างกายน้อยลง เช่นการใช้หรือเล่นคอมพิวเตอร์ การดูโทรทัศน์การประชุม เป็นต้น สูบบุหรี่ และบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ปี พ.ศ. 2555 มีคนไทยสูบบุหรี่ มากกว่าร้อยละ 20 ในกลุ่มอายุ19-60 ปีปีพ.ศ. 2554 คนไทยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มากที่สุดในช่วงอายุ 25-49 ปีร้อยละ 37.3 รองลงมาช่วงอายุ 15-24 ปีร้อยละ 23.7 และกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 16.6อย่างไรก็ตามพบว่านักสูบและนักดื่มเพิ่มขึ้นในกลุ่มเยาวชนและเพศหญิง อายุของการเริ่มดื่มและสูบลดลงความเครียด สถานการณ์ความเครียดคนไทยลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2548 ถึง 2553 แต่มีแนวโน้มสูงขึ้นร้อยละ 9.2 ในปี 2554 ข้อมูลปี 2555 จาก Hotline 1323 กลุ่มวัยทำงาน อายุ 25-59 ปีมีความเครียด สูงสุดเป็น ร้อยละ 85 รองลงมาเป็นกลุ่มวัยรุ่น ร้อยละ 35 และกลุ่มผู้สูงอายุ ร้อยละ 3 นอกจากนั้นจากการสำรวจสุขภาพประชากรไทยโดยการตรวจร่างกาย พบว่า คนไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเพิ่มขึ้น ได้แก่ อ้วนขึ้นเมื่อเทียบกับอดีตโดยในปี 2551 ผู้ชายอ้วนร้อยละ 28.3 และผู้หญิงอ้วนถึงร้อยละ 40 มีภาวะความดันโลหิตสูง ถึงร้อยละ 21.4 หรือกว่า 10 ล้านคน ระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ระดับไขมันคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นและคนไทยที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อแล้วจำนวนมากไม่รู้ว่าตนเองป่วยเป็นโรคแล้วไม่ได้รับบริการที่เหมาะสม ขาดโอกาสแม้แต่รับทราบถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ขาดทักษะส่งผลให้การจัดการตนเองตามสภาวะของโรคได้ไม่ดีเร่งให้เข้าสู่ระยะการเป็นโรค และการมีภาวะแทรกซ้อน รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งสถานการณ์ความเสี่ยงดังกล่าว เปรียบเหมือนระเบิดเวลาของทั้งการป่วยใหม่ ความพิการ และการตายก่อนวัยอันควรด้วยโรคไม่ติดต่อ
จากสถานการณ์การคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากร 35 ปีขึ้นไป ปีงบประมาณ 2563 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมสน พบว่า จำนวนประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป(ที่ยังไม่เป็นโรค) 1,131 คน ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงฯ 1,042 คน คิดเป็นร้อยละ 92.13กลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวานจำนวน 135 คน คิดเป็นร้อยละ 12.95 กลุ่มสงสัยป่วยจำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 1.82 กลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ 8.82 กลุ่มสงสัยป่วยจำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 5.18และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่จำนวน 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.86 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 1.34 (ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล ณ มกราคม 2563) ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมสน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการรู้จักตัวเอง รู้จักปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นต้องใช้ทั้งความมุ่งมั่น ความมั่นใจว่าปฏิบัติได้ ความเข้าใจถึงอุปสรรคหรือขีดข้อจำกัด เคล็ดลับสู่การเปลี่ยนแปลง กำลังใจและความช่วยเหลือของเพื่อนและคนรอบข้าง การจัดการตนเอง (Self-management) และสิ่งแวดล้อม(Environmental management)เพื่อให้เกิดการดูแลตนเอง (Self-care)จนเป็นนิสัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม3อ.2ส.ที่ดี

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการรู้จักตัวเอง รู้จักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามความเสี่ยง ลดโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส.อยู่ในระดับดี

0.00
2 เพื่อลดการเกิดผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วย

อัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยที่เข้าร่วมโครงการรู้จักตัวเอง รู้จักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามความเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง น้อยกว่าร้อยละ 5

0.00
3 เพื่อส่งเสริมการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อพฤติกรรมสุขภาพที่ดีจากประชาชนและองค์กรในชุมชน

มีการจัดตั้งกลุ่มแกนนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ในชุมชน 1 กลุ่ม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,900.00 0 0.00
1 ก.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 ส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส.ที่ดี 0 20,400.00 -
1 ก.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 ส่งเสริมการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อพฤติกรรมสุขภาพที่ดีจากประชาชนและองค์กรในชุมชน 0 500.00 -
1 - 30 ก.ค. 63 ติดตามประเมินผลกิจกรรมเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข 0 0.00 -
1 ก.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 สรุปผลกิจกรรมการดำเนินงานโครงการ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส.ที่ดี
  2. กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเกิดผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่

  3. มีการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อพฤติกรรมสุขภาพที่ดีจากประชาชนและองค์กรในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2563 09:52 น.