กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านกาแบง
รหัสโครงการ 2563– L5314 – 2 - 01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านกาแบง
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 29,525.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนบ้านกาแบง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 91 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้องเหมาะสมและพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไป สู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน“โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศทุกวัยทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกายจิตใจอารมณ์สังคมและสติปัญญาจึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ในปี 2562เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านกาแบง จำนวน 91คน พบเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการจำนวน4คน คิดเป็นร้อยละ 4.39เด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ (ท้วมเริ่มอ้วนและอ้วน)จำนวน11 คน คิดเป็นร้อยละ 12.09 นอกจากนี้ยังมีเด็กที่ไม่กินผัก จำนวน 10 คนคิดเป็นร้อยละ 10.99และเด็กที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปาก จำนวน 30คน คิดเป็นร้อยละ32.98ซึ่งจากปัญหาเหล่านี้จะส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การแก้ไขปัญหาโดยการส่งเสริมโภชนากการและพัฒนาการเด็กในสถานศึกษา และการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กด้วยและจากเหตุการณ์ในปัจจุบันพบการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชน นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียน จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านกาแบงจึงได้จัดทำโครงการ“โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านกาแบง” เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการเด็กและติดตามเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์, เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยงส่งเสริมเมนูเพื่อสุขภาพสำหรับหนูน้อย เป็นการเพิ่มทักษะให้เด็กในการประกอบอาหาร ส่งเสริมการออกกำลังกายและพัฒนาการ ทางด้านสติปัญญาด้วย ลานกิจกรรม โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องและรวมทั้งการจัดกิจกรรมให้ความสำคัญกับมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามโภชนาการเด็กที่เสี่ยงต่อการมีภาวะปัญหาภาวะโภชนาการ

ร้อยละ 100 มีการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็ก

0.00
2 เพื่อให้ครู ผู้ปกครองเด็ก และแม่ครัว มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก และส่งเสริมให้เด็กรับประทานผักและผลไม้
  • ร้อยละ 80 ของครู ผู้ปกครองเด็ก และแม่ครัว มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก

  • เด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ และไม่กินผัก มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างน้อยร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อให้เด็กที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิด
  • ร้อยละ 100เด็กที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์,เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิด

  • เด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอยู่ในภาวะปกติ

  • เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ร้อยละ 80 มีน้ำหนักลดลงอยู่ในภาวะปกติ

  • เด็กที่มีความสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ได้รับการแก้ไขร้อยละ 100

0.00
4 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของเด็กและส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้การสอนในลักษณะ Active Learning และ Active play
  • เด็กร้อยละ 80 มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาและรักการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น

  • โรงเรียนสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมแผนการเรียนการสอนในลักษณะ Active Learning และ Active play

0.00
5 เพื่อป้องกันและลดอัตราปัญหาสุขภาพอนามัย และสุขภาพช่องปากของนักเรียน
  • เด็กนักเรียนร้อยละ 80 รู้จักวิธีการแปรงฟันที่ถูกวิธีและโรคฟันผุลดลง

  • เด็กที่มีปัญหาสุขภาพและสุขภาพในช่องปากได้รับการแก้ไข โดยทันตแพทย์หรือทันตสาธารณสุข ร้อยละ 100

0.00
6 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโควิด(COVID-19) และการเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (COVID-19)

เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโควิด(COVID-19) และการเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (COVID-19)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,525.00 0 0.00
1 ก.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 เฝ้าระวัง/ติดตาม 0 2,275.00 -
1 ก.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 อบรม/ให้ความรู้ 0 12,540.00 -
1 ก.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 ติดตาม 0 0.00 -
1 ก.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 ส่งเสริมการออกกำลังกายและกิจกรรมทางกาย 0 4,820.00 -
1 ก.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 ส่งเสริมสุขภาพ และทันตกรรม 0 5,150.00 -
1 ก.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 กิจกรรมเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19(COVID-19) 0 4,240.00 -
1 ก.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 รายงานผลโครงการ 0 500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • เด็กนักเรียนได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการอย่างครอบคลุม

  • ครู ผู้ปกครอง และแม่ครัวมีความรู้และเข้าใจเรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

  • เด็กที่มีปัญหาโภชนาการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวัย

  • เด็กที่มีปัญหาสุขภาพอนามัยมีจำนวนลดลงและได้รับการรักษาที่ถูกวิธี

  • มีการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (COVID -19)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2563 13:23 น.