กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก (63-l4123-01-30)
รหัสโครงการ 63-l4123-01-30
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทรายแก้ว
วันที่อนุมัติ 21 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 45,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซูวัยบะห์ ตะแลง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งการควบคุมโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก ถือเป็นนโยบายหลักในงานด้านสาธารณสุข จังหวัดยะลาเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอำเภอบันนังสตา มีรายงานการเกิดโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออกในทุกตำบลของพื้นที่ ส่วนในเขตตำบลตลิ่งชัน ตั้งแต่ปี 2558 – 2562 พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย จำนวน 882 ราย และโรคไข้เลือดออก จำนวน 67 รายซึ่งถือว่าพบผู้ป่วยจำนวนมากและเป็นปัญหาของพื้นที่ โดยการเกิดโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออกนั้น มีสาเหตุมาจากยุงก้นปล่องและยุงลาย ที่เป็นพาหะนำโรค ประกอบกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ที่เอื้อต่อการเกิดโรค นอกจากนี้ การประกอบอาชีพต่างๆและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ยังเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ได้
สำหรับสถานการณ์โรค ไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก 5 ปีย้อนหลัง (ปี 2558 – 2562 ) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายแก้ว พบผู้ป่วย ดังนี้ ปี 2558 พบผู้ป่วยไข้มาลาเรีย จำนวน 5 ราย ไข้เลือดออก จำนวน 5 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร149.86 และ 122.18 ปี 2559 พบผู้ป่วยไข้มาลาเรีย จำนวน 339 ราย ไข้เลือดออก จำนวน 7 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร8,216.19 และ 171.06 ปี 2560 พบผู้ป่วยไข้มาลาเรีย จำนวน 200 ราย ไข้เลือดออก จำนวน 5 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร4,887.58 และ 122.18 ปี 2561 พบผู้ป่วยไข้มาลาเรีย จำนวน 10 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร 237.13 ไม่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในปีนี้ และปี 2562 พบผู้ป่วยไข้มาลาเรีย จำนวน 7 ราย ไข้เลือดออก จำนวน 5 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร 157.09 และ 112.20 ตามลำดับ โดยในปี 2559 พบผู้ป่วยด้วยไข้มาลาเรียและไข้เลือดออกมากกว่าปีอื่นๆ
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า โรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก ยังคงมีการระบาดในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขที่ต้องดำเนินการแก้ไข ดังนั้น เพื่อให้ชุมชนสามารถเฝ้าระวังการเกิดโรคและควบคุมการระบาดของโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือกออกอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำ “โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก” ขึ้น เป้าหมาย1. บ้านทั้งหมด 1,213 หลังคาเรือน โดยแยกเป็น หมู่ 3 จำนวน 548 หลังคาเรือน หมู่ 4 จำนวน 324 หลังคาเรือน และหมู่ 10 จำนวน 341 หลังคาเรือน 2. โรงเรียน จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านทรายแก้ว, โรงเรียนนิคมฯ5 และโรงเรียนนิคมฯ6 3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง
4. มัสยิด จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย มัสยิดทรายแก้ว, มัสยิดลิเง๊ะ, มัสยิดลีจิง, มัสยิดบายิ และมัสยิดโต๊ะปาแว พื้นที่ดำเนินการพื้นที่รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน ม.3, ม.4 และ ม.10 ต.ตลิ่งชัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 45,500.00 0 0.00
1 ต.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 พ่นหมอกควัน 0 41,400.00 -
1 ต.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 แจกจ่ายโลชั่นทากันยุง 0 4,100.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก
  2. ประชาชนสามารถเฝ้าระวัง และป้องกันการเกิดโรคได้
    1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ภาคีเครือข่ายในชุมชน/อสม. และประชาชนทั่วไป ตระหนักถึงความสำคัญในการเฝ้าระวัง
      และป้องกันโรคในชุมชน และให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2563 09:27 น.