กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรียุคใหม่ ร่วมใจต้านภัยมะเร็ง (63-l4123-01-34)
รหัสโครงการ 63-l4123-01-34
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทรายแก้ว
วันที่อนุมัติ 21 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปุณิกา ไชยบุญแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นโรคที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก และมีความรุนแรงขึ้นทุกปี หากพบว่าป่วยเป็นโรคมะเร็ง ผู้ป่วยมีอัตราการเสียชีวิตสูงมาก โดยเฉพาะในรายที่ป่วยอยู่ในระยะสุดท้าย หากมีการตรวจพบเร็วในระยะเริ่มต้น ก็มีโอกาสที่จะรักษาหายขาดได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหันมาใส่ใจและดูแลสุขภาพตนเองให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมะเร็งได้ โดยเฉพาะในกลุ่มสตรีพบว่าในปัจจุบันมีผู้หญิงที่ป่วยและเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด และมะเร็งเต้านมก็พบว่าอยู่ในลำดับรองลงมา การควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear ในสตรีกลุ่มอายุ 30 ปีขึ้นไป ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดโรคและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ สำหรับโรคมะเร็งเต้านมในสตรีไทย พบว่าสตรีทุก 16 คน มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ 1 คนแม้ว่ามะเร็งเต้านม ทำให้เกิดความสูญเสียและเป็นสาเหตุการตายในอัตราที่สูง แต่ก็เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ และการพยากรณ์โรคค่อนข้างดี ถ้าสามารถตรวจพบและให้การรักษาในระยะเริ่มแรก ซึ่ง 80 เปอร์เซ็นต์ของมะเร็งเต้านม สามารถตรวจพบได้โดยการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน เพื่อค้นหาความผิดปกติของเต้านม ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการแนะนำให้ปฏิบัติมากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยาก สามารถปฏิบัติได้ง่ายด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษใดๆช่วยในการตรวจ ประหยัดเวลา ไม่เสียค่าใช้จ่าย จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับการรักษาเมื่อระยะของโรคลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว ทั้งนี้เนื่องมาจากสตรีเหล่านี้ไม่เคยตรวจเต้านมด้วยตนเอง รวมทั้งการขาดความรู้ ความเชื่อมั่น ในการตรวจเต้านม จากการตรวจคัดกรองในปีงบประมาณ 2562 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายแก้ว พบว่าสตรีอายุ 30- 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน 98 คน คิดเป็นร้อยละ 15.33 จากประชากรกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 639 คน ไม่พบความผิดปกติ และคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีอายุ 30- 60 ปี จำนวน 527 คน คิดเป็นร้อยละ 82.47 ไม่พบความผิดปกติ จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น พบว่าประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ให้ความสำคัญกับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกน้อยมาก
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายแก้ว ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรค จึงได้จัดทำโครงการ “สตรียุคใหม่ ร่วมใจต้านภัยมะเร็ง” เพื่อให้ประชาชน เจ้าหน้าที่และภาคีเครือข่ายสุขภาพหันมาให้ความสำคัญและสร้างความตระหนัก สร้างองค์ความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายในการที่จะปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม โดยส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้สามารถค้นพบมะเร็งได้ตั้งแต่เริ่มต้น หากพบความผิดปกติ จะได้รับการส่งต่อและรับการรักษาได้ทันที ซึ่งสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมลงได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1.เพื่อเป็นการสร้างกระแสและให้ความสำคัญในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ร้อยละ 100 ของหญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ 30-60 ปี ให้ความสำคัญในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

100.00 100.00
2 ข้อที่ 2.เพื่อพัฒนาการให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกตามมาตรฐานอย่างครอบคลุม

ร้อยละ 80 ของหญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจ คัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

100.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 40,000.00 0 0.00
1 ส.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 สตรียุคใหม่ ร่วมใจต้านภัยมะเร็ง 0 40,000.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
  1. ขั้นเตรียมการ   - ประชุมชี้แจงแนวทางและร่วมวางแผนการดำเนินงาน   - จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ให้กับแกนนำสุขภาพและสตรีกลุ่มเป้าหมาย   - รณรงค์สร้างกระแสและประชาสัมพันธ์ให้สตรีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก   2. ขั้นตอนการดำเนินงาน
  - ดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ณ จุดนัดหมาย   - ส่งต่อผู้ป่วยในรายที่ผลตรวจผิดปกติพบแพทย์เพื่อรับการรักษาได้ทันท่วงที   - จัดทำทะเบียนผู้มารับการตรวจคัดกรอง   3. สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. จำนวนสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ได้รับการบริการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ตามเกณฑ์มาตรฐาน 2. สตรีอายุ 30 ปีขึ้นไปสามารถตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง
3. จำนวนผู้ป่วยที่ค้นพบเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ได้รับการรักษาพยาบาลในระยะขั้นแรก ของการเป็นโรคมะเร็ง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2563 13:42 น.