กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเยี่ยมแม่ ดูแลลูก เพื่อดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด
รหัสโครงการ 60-50094-2-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ควนโดน
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2560
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฟารีดา หลังยาหน่าย
พี่เลี้ยงโครงการ นางธิดา เหมือนพะวงศ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.814,100.06place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากร ซึ่งเริ่มตังแต่การดูแลครรภ์ เพื่อให้การดูแลครรภ์และการคลอดมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง การส่งเสริมสุขภาพด้านอนามัยแม่และเด็ก เป็นเป้าหมายสำคัญประการหนึ่ง ในแผนงานส่งเสริมสุขภาพโดยมีเป้าหมาย คือ การเข้าถึงบริการ และการมีสุขภาพที่ดีของแม่และเด็ก ปัญหางานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญและเด่นชัด คือ การมาฝากครรภ์ช้า (อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์) มีภาวะซีดขยะตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดอายุน้อยกว่า 20 ปี และมารดาหลังคลอดไม่มีความรู้ด้านการวางแผนครอบครัว จากผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน ปี 2558-2559 พบว่า อัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง (มาฝากครรภ์แรก) ร้อยละ 17.72 และ 13.63 (ไม่เกินร้อยละ 10) อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดซ้ำ ร้อยละ 33.33 และ 50.00 (ไม่เกินร้อยละ 30) อัตราการฝากครรภ์เร็วก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 79.75 และ 74.24 (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80) ซึ่งผลการดำเนินงานยังไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด หากหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางจะส่งผลกระทบทั้งมารดาและทารกในครรภ์ ส่งผลให้ทารกคลอดก่อนกำหนด คลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม พัฒนาการล่าช้า มารดาตกเลือดและติดเชื้อหลังคลอด ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาในระยะยาว และต่อเนื่อง เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ในชุมชนในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด งานอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพแม่และเด็กแบบองค์รวมให้ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพจึงได้จัดทำโครงการเยี่ยมแม่ ดูแลลูก เพื่อดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ และมารดาหลังคลอดต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และสามี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองและลูกน้อยในครรภ์และดูแลตนเองหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง

 

2 2. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง สามารถประเมินภาวะผิดปกติ เพื่อส่งต่อให้ทันท่วงที

 

3 3. เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีให้กับหญิงตั้งครรภ์เพื่อการเตรียมตัวเป็นคุณแม่ที่ดีในอนาคต

 

4 4. เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับหญิงตั้งครรภ์และอาสาสมัครดูแลหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดในชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมเพื่อชี้แจงวัถตุประสงค์และแนวทางการดำเนินกิจกรรมในโครงการ แก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง 2. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ 3. ประสานชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการฯ และติดต่อวิทยากร 4.จัดเตรียมเอกสาร หลักสูตรที่จะใช้ในการอบรมกลุ่มเป้าหมาย ขั้นดำเนินการ 1. จัดอบรมให้ความรู้แก่ หญิงตั้งครรภ์/สามี และอาสาสมัครสาธารณสุขในเรื่องการฝากครรภ์คุณภาพและการส่งเสริมการเลี้ยงดูด้วยนมแม่ (อสม.เชี่ยวชาญนมแม่) ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน 2. ออกติดตามเยี่ยมมารดาหลังคลอดร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านพร้อมให้ความรู้หญิงหลังคลอดในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และอาการผิดปกติที่ต้องพบแพทย์
3. มอบไข่ไก่ให้กับหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์เร็วก่อน 12 สัปดาห์ และรับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์และสามีมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฎิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดูแลตนเองและลูกน้อยในครรภ์ได้อย่างมีคุณาพ
  2. อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง สามารถประเมินภาวะผิดปกติและส่งต่อทันท่วงที
  3. ไม่มีอุบัติการณ์ความเสี่ยงของภาวะโลหิตจางเกิดขึ้น
  4. มีแม่หลังคลอดตัวอย่าง เกิดขึ้นในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2560 09:23 น.