กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวันเรียนพื้นที่ตำบลห้วยยอด
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลห้วยยอด(ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลห้วยยอด)
วันที่อนุมัติ 9 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 20 ตุลาคม 2560
งบประมาณ 11,052.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปิยวิทย์ เนกขพัฒน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยอดตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.776,99.632place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2560 31 ส.ค. 2560 11,052.00
รวมงบประมาณ 11,052.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 12 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 52 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้องเหมาะสมและพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน“โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกินการขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก โดยเด็กปฐมวัยต้องมีความพร้อมของ พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ – จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญาจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีโครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนพื้นที่ตำบลห้วยยอด ดังนั้นศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลห้วยยอด เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 .เพื่อให้เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการตามช่วงอายุของเด็กก่อนวัยเรียน

 

2 2. เพื่อให้เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข มีทักษะในการประเมินกราฟแสดงภาวะการเจริญเติบโตของเด็กก่อนวัยเรียนได้อย่างถูกต้อง

 

3 3 .เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการประเมินภาวะโภชนาการในทุกๆ 3 เดือน

 

4 4. เพื่อเฝ้าระวังการเจริญเติบโตตามช่วงอายุ และมีการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มที่ภาวะโภชนาที่ไม่เหมาะสม

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,052.00 0 0.00
1 ก.ค. 60 - 1 มิ.ย. 60 อบรมให้ความรู้แก่ อสม. จำนวน 52 คน 0 6,252.00 -
1 ก.ค. 60 - 31 ส.ค. 60 ให้ความรู้ที่บ้านในเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการ 0 4,800.00 -
  1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
    1. เรียนเชิญกลุ่มเป้าหมายเจ้าหน้าที่ อสม.ตำบลห้วยยอดจำนวน 52 คน
    2. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ตามรูปของโครงการ 4 เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข ประเมินภาวะโภชนาการเด็กในทุกๆ3 เดือน
    3. ให้ความรู้ที่บ้านในเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการ จำนวน12คน ข้อมูลไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ 2560 พร้อมมอบอาหารเสริม เช่น นมกล่อง ไข่ไก่
  2. สรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้อยละ 80 จนท.อสม.มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการตามช่วงอายุของเด็กก่อนวัยเรียน 2.จนท.อสม.มีทักษะในการประเมินกราฟโภชนาการได้อย่างถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 3.เด็กก่อนวัยเรียนในพื้นที่ตำบลห้วยยอดได้รับการประเมินภาวะทางโภชนาการในทุกๆ 3 เดือน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 4.เด็กก่อนวัยเรียนมีภาวะทางโภชนาการเหมาะสมตามช่วงอายุ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และมีการส่งเสริมภาวะโภชนาการในกลุ่มเด็ก ที่ภาวะโภชนาการไม่เหมาะสมตามช่วงอายุ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2560 11:18 น.