กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมการช่วยกู้ชีพเบื้องต้น(CPR)และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED) ประจำปี ๒๕๖๓ ในเรือนจำจังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 2563-L1490-1-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เรือนจำจังหวัดตรัง
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 21,440.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายภักดี แก้วเนียม ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดตรัง และ นางเจมบอลย์ บุญแก้ว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.524,99.615place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 21,440.00
รวมงบประมาณ 21,440.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะหัวใจหยุดเต้นและหรือหยุดหายใจเฉียบพลัน เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ มีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต ส่วนใหญ่เกิดจาก ๒ สาเหตุหลัก คือ จากโรคหัวใจขาดเลือด จากการมีโรคหัวใจอยู่เดิม ซึ่งมักพบในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า ๓5 ปีขึ้นไป มักพบว่ามีหัวใจเต้นผิดปกติชนิดที่สั่นพลิ้วไม่มีแรงบีบตัวเพื่อให้เลือดออกจากหัวใจ สาเหตุที่ ๒ คือ การขาดออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายจากอุบัติเหตุต่างๆ มักเกิดเหตุนอกโรงพยาบาล เซ่นในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ในอเมริกา มีผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรพยาบาล จำนวน ๔๒๔,๐๐๐ คน มีอัตราการเสียชีวิตทั้งนอกและในโรพยาบาลจากกล้ามเนื้อหัวใจตาย ประมาณร้อยละ ๕๐ ในประเทศไทย มีผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรพยาบาล โดยประมาณคือ ๐.๕ – ๑.๐ ต่อ ๑,๐๐๐ รายต่อปี เสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดและอุบัติเหตุจราจร และคาดการณ์ได้ว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น โดยพบอัตราตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน จาก ๒๐.๒๕ คนต่อแสนประชากรเป็น ๒7.๘๓ คนต่อแสนประชากร สำหรับประเทศไทย ในปี 2560 พบว่า คนไทยมีแนวโน้ม ป่วยด้วยโรคหัวใจขาดเลือดมากที่สุดถึง 326,946 คน และตายจากโรคหัวใจขาดเลือดถึง 20,746 คน เฉลี่ย 57 คน/วัน และมีแนวโน้ม ในการป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของจังหวัดตรัง พบว่าในปี 2561 อัตราการตายจากหัวใจขาดเลือด คิดเป็นร้อยละ 14.21 และในปี 2562(8 เดือน) คิดเป็นร้อยละ 9.33 (ข้อมูล ณ 31 ก.ค. 2562) และอัตราการตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ในปี 2561 คิดเป็นร้อยละ 19.79 และในปี 2562 (8 เดือน) ข้อมูล ณ 31 ก.ค. 2562 คิดเป็นร้อยละ 8.73 ต่อแสนประชาชากร โดยในอำเภอที่มีอัตราการตายสูง ตามลำดับ 1. อำเภอเมืองตรัง 2. อำเภอกันตัง 3. อำเภอย่านตาขาว ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันมีโอกาสเสียชีวิตในไม่กี่นาทีภายหลังหัวใจหยุดเต้น การเริ่มกดนวดหน้าอกโดยเร็ว มีผลต่อการกลับมาเต้นของหัวใจ ผู้พบเห็นคนแรกที่เริ่มทำการฟื้นคืนชีพเร็ว มีความสัมพันธ์กับอัตรารอดชีวิตที่เพิ่มขึ้นตามหลักการห่วงโซ่ของการอยู่รอด ปี พ.ศ. ๒55๘ สมาคมโรหัวใจแห่งอเมริกาให้ข้อเสนอแนะว่าบุคคลแรกที่ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ที่พบเห็นเหตุการณ์ มีบทบาทสำคัญใน 3 ห่วงแรกของการช่วยชีวิต คือ 1) เมื่อพบผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นโทรแจ้งหน่วยฉุกเฉินทันที ๒) เริ่มกดนวดหน้าอก ให้เร็วภายในเวลา ๔ นาที และ 3)กระตุ้นหัวใจด้วยเครื่องไฟฟ้า (AED) แต่พบว่าผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรพยาบาล ได้รับช่วยฟื้นคืนชีพโดยผู้พบเห็นคนแรกค่อนข้างน้อย อัตราการรอดชีวิตจนออกจากโรงพยาบาลค่อนข้างต่ำคือประมาณร้อยละ ๗.๖ – 7.๙ เท่านั้น การให้คำแนะนำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานจึงมีความสำคัญมากเนื่องจากช่วยเพิ่มจำนวนการช่วยฟื้นคืนชีพจากผู้พบเห็นคนแรกทำให้เริ่มการกดนวดหน้าอกครั้งแรกเร็วขึ้น นำไปสู่การมีชีวิตรอดที่เพิ่มขึ้น     จากการที่เรือนจำจังหวัดตรัง มีผู้ต้องขังในเรือนจำอยู่ 2,769 คน ซึ่งนับว่ามีประชากรต้องขังที่ค่อนข้างจะหนาแน่น พร้อมยังมีความเสี่ยงเมื่อเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ทั้งยังขาดทักษะ และได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวข้างต้น จึงจัดการอบรมการช่วยกู้ชีพเบื้องต้น (CPR) และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ(AED) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลรับผิดชอบ ณ สถานที่ติดตั้งเครื่อง ADE เข้าใจในการช่วยกู้ชีพเบื้องต้น สามารถใช้เครื่อง ADE ช่วยเหลือผู้ที่ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ได้อย่างปลอดภัยและทันท่วงที

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ มีทักษะในการช่วยกู้ชีพเบื้องต้น(CPR)และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED)ได้อย่างถูกต้อง
  1. ทำแบบทดสอบความรู้เรื่องการช่วยกู้ชีพเบื้องตัน (CPR)และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED) ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ๒. ร้อยละ 100 ของผู้เข้ารับการอบรม ผ่านเกณฑ์การทดสอบรายบุคคลการช่วยกู้ชีพเบื้องต้น(CPR)  และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED)
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 21,440.00 0 0.00
1 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้ เรื่อง การช่วยกู้ชีพเบื้องต้น(CPR) และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED) 100 21,440.00 -
  1. ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดรูปแบบ แนวทางการดำเนินการ     ๒. จัดทำแผนงาน/โครงการ     ๓. นำเสนอโครงการเพื่อพิจารณาขอรับการอนุมัติ
        ๔. ประชุมชี้แจง และเตรียมความพร้อมทีมงานในการดำเนินการ     ๕. จัดอบรมให้ความรู้ เรื่อง การช่วยกู้ชีพเบื้องต้น(CPR) และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED)       ๕.1 ประเมินความรู้เรื่องการช่วยกู้ชีพเบื้องต้น(CPR) และการเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ(AED) ก่อนและหลังอบรม       5.2 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการช่วยกู้ชีพเบื้องต้น(CPR) และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED)       5.๓ จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกทักษะและทดสอบรายบุคคล การช่วยกู้ชีพเบื้องตัน (CPR) และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED)     ๖. ประเมินผลโครงการ/สรุปและรายงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการช่วยกู้ชีพเบื้องต้น(CPR)     ๒. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED)     ๓. ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะการช่วยกู้ชีพเบื้องต้น(CPR) ได้อย่างถูกต้อง     4. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED) ได้อย่างถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2563 14:05 น.