กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L5170-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง
วันที่อนุมัติ 24 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 36,620.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.229,100.402place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก นับว่ามีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆในแต่ละปี สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2562 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งประเทศ 114,449 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 172.62 ต่อแสนประชากร มีผู้ป่วยเสียชีวิต 122 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.11 ต่อแสนประชากร (กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูล ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 )ซึ่งจังหวัดสงขลา มีสถานการณ์ไข้เลือดออก (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 22 ตุลาคม 2562 ) ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 2,373 ราย อัตราป่วย 168.43 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 2 ราย อัตราป่วยตาย 0.11 ต่อแสนประชากร ในอำเภอควนเนียง (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2562) ทั้งหมด 47 รายอัตราป่วย 137.39 ต่อประชากรแสนคน รายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย อัตราป่วยตาย 2.38 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยสูงสุดอยู่ในกลุ่มนักเรียน และในเขตรับผิดชอบของโรงเรียน และในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่ง้สริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง ตำบลควนโส ก็มีการระบาด จากอัตราการเกิดโรคย้อนหลัง 3 ปี (60,61และ 62 )พบผู้ป่วยจำนวน 5ม0และ1 ราย ตามลำดับคิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากรเท่ากับ 201.69 ในปี60 ,ในปี61 เท่ากับ0และในปี62 เท่ากับ40.34 เมื่อเทียบกับอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาตั้งไว้คือ ไม่เกิน 60 ต่อแสนประชากรจะเห็นได้ว่าเขตพื้นที่รับผิดชอบยังมีอัตราป่วยที่สูงมาก       ด้วยเหตุนี้การควบคุมดรคจะต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชน ดรงเรียน สาสนสถาน องคืการบริหารส่วนตำบลและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง จะพบสูงในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน ทำให้เก็บกักน้ำฝนในภาชนะต่างๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะภาชนะที่อยุ่นอกบ้าน หรือภาชนะที่ไม่ได้ใช้แลเ้ว ส่งผลให้มีเพาะพันธุ์ยุงลายจำนวนมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในภาคใต้มักจะมีฝนตกมากในช่วงปลายปี (พฤศจิกายน-ธันวาคม) จึงมีโอกาสที่จะเกิดการระบาดในช่วงปลายปีแล้วต่อเนื่องไปยังต้นปีของปีถัดไป ประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่กลุ่มวัยเรียนที่มีอายุ 5-14 ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่ ส่วนมากเมื่อป่วยมักซื้อยารับประทานเองหรือไปฉีดยาลดไข้ที่คลินิก ทำให้ไม่ได้ไปตรวจหาสาเหตุของไข้ ที่โรงพยาบาลแต่เนิ่นๆจึงได้รับการรักษาที่เหมาะสมล่าช้า และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปี การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร้จและเิกประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค และรรรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของโรคไข้เลือดออก       ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การและป้องกันการระบาดของดรคที่มีการระบาด ในปี 2563 นี้ เพื่อให้มีการดพเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน เกิดความตระหนักในการแก้ไขปัญหาดรคไข้เลือดออกร่วมกัน ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล ครอบครัว ชุมชนให้มีศักยภาพในการช่วยกันดูแลและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม

 

0.00
2 เพื่อสร้างความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน ได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน

 

0.00
3 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำแผนงานโครงการและขออนุมัติ 2.ประสานผู้เกี่ยวข้องในการมีส่วนร่วมเพื่อรับทราบและร่วมกันวางแผนในการดำเนินงาน 3.ดำเนินการตามโครงการ 3.1 กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพทีม SRRT เครือข่ายระดับตำบล 3.1.1 แต่งตั้งทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วระดับตำบล จำนวน 1 ทีม ซึ่งประกอบด้วย บุคลากรสาธารณสุข,อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้า่น,องค์กรท้องถิ่น,ผู้นำชุมชนและบุคลากรโรงเรียน 3.1.2 ประชุมทีม SRRT 1 ครั้ง 3.2 กิจกรรมการประชาสัมพันธ์ความรู้ 3.2.1 จัดเวทีประชาคมเพื่อรับฟังข้อมูลและรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านพร้อมวางมาตรการทางสังคมของหมู่บ้าน หมู่ละ 1 ครั้ง 3.2.2เผยแพร่ข่าวสารความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก โดยมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายแต่ละหมู่บ้าน จัดทำบอรืดประชาสัมพันธ์และจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ให้ความรู้แก่ประชาชน นักเรียน และผู้ทีมารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง 3.3กิจกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย 3.3.1 จัดกิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดครั้งใหญ่พร้อมกันทั้งหมู่บ้าน (Big cleaning Day) กำจัดลุกน้ำยุงลาย พร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ทำความสะอาดหมู่บ้าน ศาสนสถาน โรงเรียน และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะเดือนละ 1 ครั้ง 3.3.2สุ่มตรวจหาดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI/CI) โดย จนท.สาธารณสุข ร่วมกับ อสม. 3.4 กิจกรรมการกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย 3.4.1 พ่นละอองฝอยในกลุ่มเป้าหมาย เช่น หน่วยบริการ วัด โรงเรียน ศพด.ก่อนเปิดภาคเรียน ปีละ 2 ครั้ง 3.4.2 ดำเนินการควบคุมโรคในพื้นที่ กรณีพบผู้ป่วยในหมู่บ้าน โดยทำการพ่นบ้านผู้ป่วยและละแวกบ้านผู้ป่วยในรัศมี 100 เมตร จำนวน 2 ครั้ง โดยห่างกัน 1 สัปดาห์ 3.5 กิจกรรมการเตรียมความพร้อมด้านเคมีภัณฑ์ 6.5.1 จัดเตรียมเคมีภัณฑ์อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการควบคุมโรคให้พร้อมใช้งาน 4.สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 2.สร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน 3.ลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2563 13:30 น.