กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบุหรี่ร้าย ทำลายชีวิต
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน บ้านท่าน้ำเค็มใต้ หมู่ที่ 1 ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 11,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางลำดวน ลิงาลาห์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.791,99.964place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 19 ส.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 11,500.00
รวมงบประมาณ 11,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลกได้ให้ความสำคัญกับพิษภัยของยาสูบต่อสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือด และรณรงค์ให้เกิดนโยบายที่มีประสิทธิภาพในการลดการบริโภคยาสูบ เพราการสูบบุหรี่เป้นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่มำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองอุดตันและโรคหลอดเลือดส่วนปลาย ในแต่ละปีการสูบบุหรี่คร่าชีวิตคนทั่วโลกไปเกือบ 3 ล้านคน จากโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งรวมถึงหัวใจวายและหลอดเลือดสมองอุดตัน นั้นเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของประชากรไทย ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีความก้าวหน้าในการดำเนินควบคุมยาสูบ แต่การสูบบุหรี่นั้นยังคงเป็นปัญหาสำคัญอันดับต้นๆ เนื่องจาก ประชากรไทยวัยผู้ใหญ่ 1 ใน 5 และ เด็ก 1 ใน 6 คนนั้นยังคงสูบบุหรี่ ซึ่งคิดเป็นจำนวน เกือบถึง 11 ล้านคน การสูบบุหรีนั้นก่อให้เกิดความสูญเสียต่องบประมาณด้านสุขภาพอย่างมหาศาล และทำลายเศณษฐกิจของไทยจากการสูบบุหรี่ในปี 2562 นั้น มี มูลค่าถึง75 ล้านบาท คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดแดงตีบตัน ซึ่งหมายถึงหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสองปีละ 100,000 คนคิดเป็น 20 % หรือหนึ่งใน ห้า ของสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยในแต่ละปี ซึ่ง 20 % หรือ หนึ่งในห้าของคนไทยที่เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ ในขณะที่คนไทยที่มีอายุระหว่าง 30 ถึง 40 ปี ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรีถึงสี่เท่า หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ เกือบครึ่งหนึ่งของคนวัยหนุ่มสาว ถึงกลางคนที่เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี ส่วนผู้ที่เป็นผู้สูบบุหรีมือสอง หรือ passive or second hand smoker มีโอกาสเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดพอๆ กับผู้สูบบุหรี่ ซึ่งการสำรวจของนักสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2554 พบว่า มีคนไทย 12.2 ล้าน คน ที่ไม่รูว่าการสูบบุหรี่ทำให้เกิดโรคหัวใจวายและมี 18.5 ล้านคนที่ไม่รู้ว่าการได้รับควันบุหรี่มือสองทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจได้ โดยประเด็นควันบุหรี่มือสองนี้ ศ.นพ. ประกิต วาทีสาธกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เปิดเผยว่า การได้รับควันบุหรี่มือสองเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเส้นเลืดหัวใจตีบตันได้ โดยการได้รับควันบุหรี่มือสองเพียง 30 นาที ก็เกิดอันตราย ต่อเยื่อบุหลอดเลือด และทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจลดลงได้ โดยองค์การอนามัยโลกระบุว่า แต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหลอดดลือดหัวใจ และสทองปีละ 2,615 คน จากจำนวนผู้เสียชีวิตจากควันบุกรี่มือสองทั้งหมดปีละ 6,500 คน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านหรือที่ทำงาน ดังนั้น ทางออกที่ดีที่สุดในการป้องกันคนที่คุณรักจากควันบุหรี่มือสอง คือ หากผู้สูบบุหรี่ยังเลิกไม่ได้ ขอให้เตือนตัวเองเสมอว่าต้องไม่สูบบุหรีในบ้าน เพื่อลดอัตรายแก่คนในบ้านจากควันบุหรี่ ซึ่งข้อมูลสำรวจล่าสุดโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2560 พบว่ามีคนไทย 17.3 ล้านคนที่ได้รับควับบุหรี่มือสองในบ้าน เชื่อเหลือเกินว่าบทความนี้ จะมีส่วนทำให้ทุกคนตระหนักถึงอันตรายขงการสูบบุหรี่ ที่ไม่ได้ส่งผลแค่กับผู้สูบุหรี่เท่านั้น ทว่า ยังส่งผลต่อคนรอบข้าง ที่รวมทั้งคนที่คุณรักและคนในสังคมที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่อีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กและเยาวชน ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ถึงพิษภัยของบุหรี่

ร้อยละ 80 ของเด็กและเยาวชน ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ถึงพิษภัยของบุหรี่

0.00
2 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความคิดที่จะ ลด ละ เลิก บุหรี่

ร้อยละ 80 ผู้เข้ารับอบรมมีความคิดที่จะ ลด ละ เลิก บุหรี

0.00
3 3. เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมได้ทราบถึงโรคภัยที่เกิดจากการสูบบุหรี่

ร้อยละ 80 ของผู้ทีร่เข้ารับการอบรมได้ทราบถึงโรคภัยที่เกิดจากการสูบบุหรี่

0.00
4 4. ชุมชนเกิดการรณรงค์ให้เป็นชุมชนปลอดควันบุหรี่

ร้อยละ 80 ของชุมชนเกิดการรณรงค์ให้เป็นชุมชนปลอดควันบุหรี่

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 11,500.00 0 0.00
1 เม.ย. 63 - 10 ก.ย. 63 กิจกรรมอบรมให้ความรูั เรื่องบุหรี่ , พิษจากบุหรี่ โรคที่เกิดจากบุหรี่ 60 11,500.00 -
  1. ประชุมวางแผนแต่งตั้งคณะทำงาน
  2. ร่างโครงการและขออนุมัติโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ท่าแพ 3.ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับเจ้าหน้าที่/วิทยากรที่เกี่ยวข้อง
  3. เตรียมความพร้อมด้านต่างๆ เช่น สถานที่ อุปกรณ์ อาหารและดครื่องดื่มในการจัดโครงการ 5.ดำเนินการตามกำหนดการ 6.ติดตามและประเมินผล 7.สรุปรายงานโครงการต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ท่าแพ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและเยาวชน ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ถึงพิษภัยของบุหรี่
  2. ผู้เข้าอบรมทุกคนมีความคิดที่จะ ลด ละ เลิก บุหรี่
  3. ผู้เข้ารับการอบรมได้ทราบถึงโรคภัยที่เกิดจากการสูบบุหรี่
  4. ชุมชนเกิดการรณรงค์ให้เป็นชุมชนปลอดควันบุหรี่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2563 09:10 น.