กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
รหัสโครงการ 63-L4117-1-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบาละ
วันที่อนุมัติ 11 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 สิงหาคม 2563 - 15 ตุลาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 17 สิงหาคม 2563
งบประมาณ 11,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรือมา ลายามุง
พี่เลี้ยงโครงการ นางไอลดา เจ๊ะหะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 ส.ค. 2563 17 ส.ค. 2563 11,900.00
รวมงบประมาณ 11,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรคขาดสารไอโอดีน 0-5 ปี
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะขาดสารไอโอดีน เป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศ และเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะปัญญาอ่อน และความเสียหายต่อสมอง การได้รับสารไอโอดีนไม่เพียงพอของหญิงตั้งครรภ์จะส่งผลให้เกิดความด้อยของสมองในทารกและเด็กรวมทั้งสภาพร่างกายแคระแกร็น รูปร่างเตี้ย ความฉลาดทางสติปัญญาด้อยกว่าปกติ จะบั่นทอนคุณภาพชีวิตโดยรวม ซึ่งมีผลต่อศักยภาพในการพัฒนาประเทศอย่างยิ่ง ปัจจุบันยังพบว่าประชาชนทุกภาคของประเทศยังประสบปัญหาโรคขาดสารไอโอดีน ระดับความรุนแรงต่างๆ อีกจำนวนมาก ถึงแม้ว่าตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา เป็นพื้นที่ที่อยู่ภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งภาคใต้เป็นพื้นที่ ที่มีภาวการณ์ขาดสารไอโอดีนน้อยที่สุดของประเทศก็ตาม แต่ความเสี่ยงที่เกิดภาวะโรคขาดสารไอโอดีนก็ยังคงมีอยู่ ปัญหาดังกล่าวไม่อาจขจัดให้หมดไปได้ ต้องมีการเฝ้าระวังและควบคุม ป้องกันตลอดเวลา เพราะหากประชาชนไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการบริโภคอาหารที่มีสารไอโอดีนให้เพียงพออย่างต่อเนื่อง ก็สามารถเกิดโรคขาดสารไอโอดีนได้อีก
องค์การบริหารส่วนตำบลบาละ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนโดยเฉพาะกลุ่มประชากร 3 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเด็ก 0 – 5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และกลุ่มเด็กนักเรียนชั้นประถม 1 – 6 อายุ 6 – 12 ปี เพื่อเป็นการควบคุมป้องกันการขาดสารไอโอดีนในกลุ่มดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง องค์การบริหารส่วนตำบลบาละ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนอย่างเข้มแข็งและยั่งยืนขึ้น อาศัยอำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2552 มาตรา 67 (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตาม มาตรา 16 (19) กองสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนในพื้นที่ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ได้รับไอโอดีนปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

 

0.00 0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ โดยชุมชน เพื่อชุมชน

 

0.00
3 เพื่อสร้างความตระหนักแก่ประชาชน ในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาโรคขาดไอโอดีนในพื้นที่

 

0.00
4 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาเหตุ และอันตรายจากการขาดสารไอโอดีน การควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน

 

0.00
5 ส่งเสริม/สนับสนุนให้ชุมชนใช้เกลือเสริมไอโอดีนในการปรุงอาหาร

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,900.00 1 11,300.00
11 ส.ค. 63 - 15 ต.ค. 63 ให้ความรู้การปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน 0 11,900.00 11,300.00

วิธีดำเนินการ
ขั้นเตรียมการ
1. จัดประชุมชี้แจงโครงการ แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รองปลัด และผอ.กองทุกกอง
2. เสนอ แผน/โครงการ เพื่อขออนุมัติ
3. ออกประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่หมู่บ้านเพื่อความร่วมมือและจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานในระดับหมู่บ้าน 11 หมู่บ้าน
4. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคขาดไอโอดีน แก่หญิงมีครรภ์ ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 - 5 ปี
5. ติดตามประเมินผลโครงการ ระหว่างอบรม และหลังอบรม
6. สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงมีครรภ์ในเขตพื้นที่ตำบลบาละได้รับสารไอโอดีนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  2. อัตราการเกิดโรคคอพอกในเด็กนักเรียนประถมศึกษา ไม่เกิน ร้อยละ 0.5
  3. ทุกโรงเรียนในเขตรับผิดชอบได้มีการส่งเสริมการใช้เกลือเสริมไอโอดีนปรุงอาหารกลางวัน เป็นประจำ
  4. หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่แต่งงานแล้วที่พร้อมจะมีบุตร ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคขาดสารไอโอดีนของเด็กในครรภ์พร้อมได้รับการส่งเสริมให้ดื่มน้ำไอโอดีนเป็นประจำ ได้รับยา โอบีมีนเสริมไอโอดีนตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2563 14:46 น.