กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังโภชนาการและสุขภาพอนามัยในเด็กปฐมวัย (2-5 ปี) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสันติ ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L4122-03-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสันติ สังกัดเทศบาลตำบลเขื่อนบางลาง
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 สิงหาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 18,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอัลลดา เจ๊ะเตะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขื่อนบางลาง อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.142,101.309place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 19 ส.ค. 2563 31 ส.ค. 2563 18,900.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 18,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 52 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมเด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้านก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการและพัฒนาการในเด็กปฐมวัยเพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงมีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไปจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังโภชนาการและสุขภาพอนามัยในเด็กปฐมวัย (2-5 ปี) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลเขื่อนบางลาง ประจำปี 2563

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัย

 

0.00
2 เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม

 

0.00
3 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปกครองเด็กให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

 

0.00
4 เพื่อสร้างเสริมความรัก ความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเด็กและพัฒนาการเด็ก 0 – 6 ปีในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา
2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
3.ประชุมชี้แจงคณะทำงาน 4.ประสานงานกับคณะกรรมการศูนย์ฯ เพื่อเตรียมสถานที่ผู้ปกครองในกลุ่มเป้าหมายตามวันเวลาที่ออกดำเนินการ
5.ดำเนินการตามโครงการ -อบรมคณะกรรมการศูนย์ฯ ผู้ปกครองและแม่ครัวศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเกี่ยวกับการเฝ้าระวังทางโภชนาการในเด็กปฐมวัย - ติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กแล้วแปลผลโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิง การเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0 – 6 ปี กรมอนามัย
-ตรวจพัฒนาการเด็กโดยใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย(DSPM)
6.สรุป/รายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีภาวะทางโภชนาการที่ดีขึ้น
  2. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม
  3. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กปฐมวัย
  4. ความรัก ความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กเพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2563 12:01 น.