กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากวัยทำงาน สำหรับ อสม.
รหัสโครงการ 60-L8010-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลละงู
วันที่อนุมัติ 29 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 46,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลละงู
พี่เลี้ยงโครงการ นายลิขิต อังศุภานิช
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 447 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะโรคฟันผุและปริทันต์อักเสบ เป็นปัญหาที่เด่นชัดซึ่งเมื่อไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โรคจะลุกลามและสูญเสียฟันในที่สุด ส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย การสบฟัน ตลอดการใช้ชีวิตประจำวัน ข้อมูลจากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2555 ในกลุ่มวัยทำงานอายุ 35-44 ปี ปัญหาที่พบเกิดจากรอยโรคสะสม ทั้งปัญหาสภาวะปริทันต์ ที่พบการอักเสบของเหงือก มีเลือดออกง่าย ร้อยละ 39.3 ปัญหาปริทันต์อักเสบที่มีการทำลายของกระดูกรองรับรากฟันร่วมด้วย ซึ่งพบร้อยละ 15.6 และปัญหาโรคฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ 35.2 โดยปัญหาดังกล่าว จะแสดงอาการที่รุนแรงจนเกิดความเจ็บปวดและการสูญเสียฟันในช่วงอายุต่อไป ถ้าไม่ได้รับการดูแล ป้องกัน รักษาที่เหมาะสมทันเวลา นอกจากนี้ในวัยนี้ยังมีพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปาก โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ ที่พบร้อยละ 19.6เฉลี่ย 11.7 มวนต่อวัน รวมทั้งพฤติกรรมการไปใช้บริการในรอบปีร้อยละ 37.9 ซึ่งในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 39.0 ไปรับบริการเมื่อมีอาการปวดและเสียวฟันแล้ว มีเพียงร้อยละ 10.1 เท่านั้น ที่ไปรับบริการเพื่อต้องการตรวจเช็คโดยไม่มีอาการ อย่างไรก็ตามวัยทำงานส่วนใหญ่ ยังไม่รู้สึกว่าสุขภาพช่องปากมีปัญหา เพราะยังไม่รู้สึกว่ามีอาการผิดปกติใดๆ รวมทั้งส่วนใหญ่ร้อยละ ๙๓.๗ ยังรู้สึกว่าสามารถใช้ฟันบดเคี้ยวอาหารได้ดีเนื่องจากยังมีฟันหลังสบกันใช้งานได้อย่างน้อย 4 คู่สบ และร้อยละ 97.8 ยังมีฟันแท้ใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ ดังนั้น สำหรับกลุ่มวัยทำงานนอกจากการทำให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และความรู้เพื่อการดูแลอนามัยช่องปากตนเองแล้ว ยังจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมป้องกันโรค โดยเฉพาะสนับสนุนให้ใช้อุปกรณ์เสริมทำความสะอาดซอกฟันเพื่อป้องกันโรคปริทันต์และฟันผุบริเวณด้านประชิด
จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากในวัยทำงานอำเภอละงู โดยอ้างอิงข้อมูลจากงานวิจัยของทพญ.สุภาวดี เนาว์รุ่งโรจน์ซึ่งได้มาศึกษาและสำรวจสภาวะทันตสุขภาพในกลุ่มวัยทำงาน อายุ 35-65 ปี จำนวน 250 คนในพื้นที่ตำบลกำแพงและตำบลปากน้ำ อำเภอละงู พบว่าแม้ส่วนใหญ่จะมีการแปรงฟันอย่างน้อย 2ครั้ง ขึ้นไปแต่กลุ่มตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 70 ก็ยังมีหินปูนและมีปัญหาโรคเหงือกอักเสบและปริทันต์รวมถึงมีปัญหาฟันผุมากกว่าร้อยละ 50แสดงว่ากลุ่มตัวอย่างดังกล่าว ยังมีปัญหาด้านคุณภาพการแปรงฟันประกอบกับอัตราการเข้าถึงบริการทันตกรรมในกลุ่มวัยทำงานอายุ 15-59ปีในเขตอำเภอละงูยังมีจำนวนน้อย เพียงร้อยละ 6.7 ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาโรคฟันผุและโรคปริทันต์อักเสบในกลุ่มวัยทำงานเขตตำบลกำแพงฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลละงู จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากวัยทำงาน โดยเน้นให้ อสม. ดำเนินชีวิตประจำวันด้วยวิถี self care ดูแลช่องปากตนเองได้ และขยายผลไปสู่การดูแลสุขภาพช่องปากคนในครอบครัวและในชุมชนที่ตนเองดูแลอยู่ ซึ่งส่งผลให้การดูแลสุขภาพช่องปากในชุมชนดีขึ้นด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง

อสม. มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของตนเองอยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 70

2 เพื่อให้ อสม.กลุ่มเป้าหมายดำเนินชีวิตประจำวันด้วยวิถี self care ดูแลช่องปากตนเองได้ และขยายผลไปสู่การดูแลสุขภาพช่องปากคนในครอบครัวและในชุมชนที่ตนเองดูแลอยู่ ซึ่งส่งผลให้การดูแลสุขภาพช่องปากในชุมชนดีขึ้นด้วย
  1. อสม. ที่เข้าร่วมโครงการสามารถดูแลช่องปากตนเองได้ และมีประสิทธิภาพการแปรงฟันดีขึ้น ร้อยละ 80 (PI มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น)
  2. อสม. ที่เข้าร่วมโครงการสามารถดูแลช่องปากตนเองได้ และมีประสิทธิภาพการแปรงฟันอยู่ในเกณท์ดี(PI=A) ร้อยละ 30
  3. จำนวนครัวเรือนที่ได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพช่องปากโดย อสม. เป็นร้อยละ 80 ของครัวเรือนเป้าหมายทั้งหมด 250 ครัวเรือน
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ
     ประชุม ประสานงาน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนดำเนินงาน  เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ และวัสดุการสอนต่างๆ
  2. ขั้นสร้างแกนนำการดูแลสุขภาพช่องปากประจำหมู่บ้าน (อสม.)  ชี้แจงรายละเอียดโครงการให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ  อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคในช่องปาก อาหารที่มีประโยชน์และมีโทษต่อฟันฝึกทักษะการแปรงฟัน(Hand on) และตรวจฟันให้แก่อสม. โดยทันตแพทย์  นัดหมายทำการส่งเสริม ป้องกันและรักษาแก่ อสม. ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่องจนเสร็จสมบูรณ์ โดยทุกครั้งจะมีการฝึกทักษะและประเมินประสิทธิภาพการแปรงฟัน ให้คะแนนประสิทธิภาพการแปรงฟันเป็นระดับ A B และ C  นัดตรวจติดตามประสิทธิภาพการแปรงฟันและตรวจฟัน 3 เดือน ให้คะแนนเป็นระดับ A B C แจ้งให้ทราบ และบันทึกการเปลี่ยนแปลงติดตาม ประเมินผล โดยการตรวจทางคลินิกของการคงอยู่ของวัสดุ และการลุกลามของรอยโรคฟันผุภายหลังการรักษา
  3. ขั้นดำเนินการขยายเครือข่ายแก่กลุ่มลูกข่ายที่ อสม. รับผิดชอบ คือให้ อสม.ที่เข้าร่วมโครงการไปดูแลคนในหมู่บ้านเขตรับผิดชอบของตนเอง โดย อสม. ๑ คน ต่อลูกข่าย ๕ ครัวเรือน  อสม. แกนนำ ทำการตรวจฟัน ย้อมสีและสอนทักษะการแปรงฟันให้แก่ลูกข่าย  กรณีคนที่อยู่ในความดูแลของ อสม. รายใด มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน อสม. จะประสานงานมายังเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุขเพื่อนัดหมายทำการรักษาต่อไป  ทันตบุคลากรร่วมกับ อสม. ออกเยี่ยมบ้านหรือนัดมาตามโซนในการออกติดตามดูพัฒนาการการแปรงฟันของคนในความดูแลของอสม
  4. ขั้นสรุปผลการดำเนินโครงการ  มอบเกียรติบัตรให้แก่ อสม. แกนนำที่เข้าร่วมโครงการและขยายเครือข่ายได้ตามกำหนด.  มอบเกียรติบัตรให้แก่ครอบครัวฟันดี ประจำหมู่บ้าน หมู่ละ ๑๐ ครัวเรือนจำนวน ๕ หมู่บ้าน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.กลุ่มนี้ดำเนินชีวิตประจำวันด้วยวิถี self care ดูแลช่องปากตนเองได้ และขยายผลไปสู่การดูแลสุขภาพช่องปากคนในครอบครัวและในชุมชนที่ตนเองดูแลอยู่ ซึ่งส่งผลให้การดูแลสุขภาพช่องปากในชุมชนดีขึ้นด้วย
  2. ลดอัตราการเกิดโรคในช่องปาก และลดการสูญเสียฟันแท้ได้
  3. อสม.กลุ่มนี้เป็นกลุ่มตัวอย่างนำร่องให้กับพื้นที่อื่นๆในอำเภอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2560 21:45 น.