กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L8018-01-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาว
วันที่อนุมัติ 16 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,815.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมัสชุพรรณวจีทวยเดช
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.241,99.753place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจสามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคมและภูมิปัญญาชุมชนตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรงส่วนหนึ่งนั้นโดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อได้แก่โรคความดันโลหิตสูงโรคอัมพฤกษ์อัมพาตโรคเบาหวานโรคหลอดเลือดหัวใจโดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยในชุมชนและให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ลดอาหารที่มีรสหวานมันเค็มและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้นมีการออกกำลังกายเป็นประจำลดภาวะน้ำหนักเกินการดำเนินงานไห้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้องและการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่ ผลการดำเนินงานจากการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ในปี2560เป้าหมายการคัดกรองโรคเบาหวานในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปี จำนวน 1,757คน ได้รับการคัดกรองจำนวน 1,674คน คิดเป็นร้อยละ 95.28 พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 229 คน คิดเป็นร้อยละ 13.68 กลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ ๐.18และเป้าหมายการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปี จำนวน 1,576 คน ได้รับการคัดกรองจำนวน 1,496 คน คิดเป็นร้อยละ 94.92 พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 255 คน คิดเป็นร้อยละ 17.05 กลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 1.47 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาว มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังขึ้นเพื่อให้ความรู้และกระตุ้นการปรับพฤติกรรมเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
  1. ร้อยละ80ของประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มมากขึ้น
2 2. เพื่อกระตุ้นให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  1. ร้อยละ80ของประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มมากขึ้น
3 3.เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้
  1. ร้อยละ 50 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เข้ารับการอบรมมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และกระตุ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้แก่กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง
    • ตรวจสุขภาพ ซักประวัติ

- คัดกรอง 2 Q - ทำแบบสอบถาม เรื่องการดูแลสุขภาพด้านการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร และสุขภาพจิตก่อนและหลังอบรม - อบรมให้ความรู้ 3 อ. 2 ส.รูปแบบฐานความรู้4 ฐาน 2. ติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุก 1 เดือน (ติดตาม น้ำหนัก รอบเอว ความดันโลหิต น้ำตาลในเลือด)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง 2.ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 3. เกิดเครือข่ายกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2560 14:21 น.