กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ แม่ลูก ปลอดภัยห่างไกล ภาวะโลหิตจาง
รหัสโครงการ 60-L4116-4-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามา
วันที่อนุมัติ 13 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 41,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุมาราญ มะแซ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซัลมา หะยีสะมะแอ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.449,101place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กปี2559 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ้านบันนังดามาตำบลกาบัง อำเภอกาบังจังหวัดยะลา พบว่า มีตัวชี้วัดหลายตัวที่ไม่บรรลุตามเป้าหมายเช่น หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจครรภ์ก่อนคลอด ร้อยละ 75( เกณฑ์มากกว่า 95% )ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ 23.36%( เกณฑ์ไม่เกิน 10% )และหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์36.39% ( มากกว่า 60%) ฝากครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ 13.11%( มากกว่า60% ) สาเหตุที่ทำให้ปัญหางานอนามัยแม่และเด็กไม่สามารถบรรลุเป้าหมายเนื่องจากปัจจัยหลายด้านเช่นด้านเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอต่อการดำเนินการเชิงรุกส่วนหญิงมีครรภ์ที่ขาดความตระหนักรวมทั้งองค์กรชุมชนไม่เน้นความ สำคัญของงานอนามัยแม่และเด็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามาได้เห็นความสำคัญของการรณรงค์งานอนามัยแม่และเด็กเพื่อให้มีหญิงมีครรภ์มีสุขภาพสมบูรณ์ และกำเนิดบุตรที่มีสุขภาพที่แข็งแรงทางกายและจิตใจภายใต้โครงการ แม่ลูก ปลอดภัยห่างไกล ภาวะโลหิตจางโดยให้ความรู้แก่กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขผู้นำชุมชนแกนนำสตรีและหญิงมีครรภ์ในเขตรับผิดชอบ มีความรู้ในงานอนามัยแม่และเด็ก การประชาสัมพันธ์ และการสร้างกระแสอย่างต่อเนื่อง เพื่อ ให้หญิงมีครรภ์ฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์การฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอตามเกณฑ์จะช่วยให้ทราบถึงการเจริญเติบโตรวมถึงความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ให้หญิงตั้งครรภ์ตระหนักถึงการมาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

2 2.เพื่อให้มารดามีความรู้ในการดูแลสุขภาพแม่และเด็กได้ถูกต้องและเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ ลด ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์และการคลอด

 

3 3.หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก อันตรายต่อแม่และบุตร รวมทั้งการ ป้องกันโดยโภชนาการ

 

4 4.หญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการมีการเลือกและบริโภคอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็กเป็นประจำเพิ่มขึ้น

 

5 5. หญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการ งดบริโภคอาหารที่ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก

 

6 6. หญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการ มีภาวะโลหิตจางไม่เกิน 10%

 

7 7. หญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการ มีน้ำหนักตัวไม่ต่ำกว่าเกณฑ์

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 เตรียมบุคคล (ประชุมเจ้าหน้าที่ประจำรพสต.บ้านบันนังดามาร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข) เพื่อชี้แจง โครงการ วางแผนดำเนินการค้นหา และสำรวจหญิงวัยเจริญพันธ์ที่อยู่กินกับสามี และกลุ่มเป้าหมายที่ อาศัยอยู่จริงในพื้นที่รับผิดชอบ 1.2 จัดตั้งแกนนำ.../...

1.2 จัดตั้งแกนนำ ทีม ANC เคลื่อนที่ ( สาระแน แม่และเด็ก )สำรวจข้อมูลหญิงมีครรภ์และหญิงวัยเจริญ พันธ์ที่อยู่กินกับสามีณ ปัจจุบันเพื่อวางแผนการให้ความรู้ 1.3 เตรียมจัดทำเอกสารและเตรียมวัสดุอุปกรณ์( สื่อต่างๆ ที่จำเป็น เช่น แผ่นพับ ,ป้ายไวนิล , แผ่น โปสเตอร์ เรื่องการปฏิบัติตัวและอาหารของหญิงตั้งครรภ์ ) 1.4 ประสานงานกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างความสนใจ และนัดหมายเข้าร่วมกิจกรรม 2. ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และคู่สมรส 2.2 ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงหญิงตั้งครรภ์ทุกราย 2.3 เจาะเลือดในหญิงตั้งครรภ์ทุกรายที่มาฝากครรภ์ก่อนและหลังร่วมโครงการเจาะHct 2.4 ดำเนินการสอนตามแผนโรงเรียนพ่อ-แม่การ สอน 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ตั้งแต่อายุครรภ์ 1 สัปดาห์ - 28 สัปดาห์ ครั้งที่ 2ตั้งแต่อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ขึ้นไป 2.5 มีการจัดตั้งกลุ่มSelf-helpgroupให้หญิงตั้งครรภ์ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซึ่งกันและกัน 2.6 ติดตามผล ประชุมผู้ร่วมโครงการกับทีม “ANCสาระแน แม่และเด็ก”เดือนละ 1 ครั้งโดยให้ทีม
“AN Cสาระแน แม่และเด็ก”ติดตามให้หญิงมีครรภ์ รับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก ต่อหน้า พร้อม กับลงลายมือชื่อในสมุดสีชมพู 3. การประเมินผล 3.1 ทดสอบความรู้ของหญิงตั้งครรภ์ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 3.2 เปรียบเทียบระดับความเข้มข้นของเลือดก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 3.3 หญิงตั้งครรภ์ มีระดับน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยใช้VALLOP WEIGHT LOG 3.4 หญิงตั้งครรภ์มีการเลือกและรับประทานอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงมีครรภ์ในชุมชนมีความตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพแม่และเด็กพร้อมให้ ความร่วมมือ
  2. ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ลดลง ไม่เกินร้อยละ10
  3. หญิงมีครรภ์มีความรู้และสามารถเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม
  4. หญิงวัยเจริญพันธ์ที่อยู่กินกับสามีในชุมชนมีความตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการฝากครรภ์ พร้อมให้ความร่วมมือ
  5. อสม.สามารถติดตามและกระตุ้นให้หญิงมีครรภ์มารับฝากครรภ์แต่เนิ่นๆพร้อมทั้งดูการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆของหญิงครรภ์ในระยะก่อนคลอดและหลัง คลอด
  6. หญิงมีครรภ์ในเขตรับผิดชอบมาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์มากกว่าร้อยละ 80%

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2560 15:20 น.