กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L4141-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่
วันที่อนุมัติ 14 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 6,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดุษฎี ปาลกาลย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.583,101.205place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ต่อประชากร 100,000 คน ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2556 – 2560) เพิ่มขึ้นจาก 12,342.14 (จำนวน 3,936,171 คน) เป็น 14,926.47 (จำนวน 5,597,671 คน) และจากข้อมูลศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุขอัตราการป่วยรายใหม่ของโรคความดันโลหิตสูง ต่อประชากร 100,000 คน ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2558 – 2560) เพิ่มขึ้นจาก 916.89 (จำนวน 540,013 คน) เป็น 1,353.01 (จำนวน 813,485 คน) และนอกจากนี้รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ปีพ.ศ. 2552 และ 2557 พบว่าความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21.4 (ชายร้อยละ 21.5 และหญิงร้อยละ 21.3) เป็นร้อยละ 24.7 (ผู้ชายร้อยละ 25.6 และผู้หญิงร้อยละ 23.9)

        ส่วนโรคเบาหวานนั้น จากฐานข้อมูลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เข้ารับบริการในสถานพยาบาลของรัฐ ผู้ป่วยสะสม รวม 1,219,161 ราย ความชุก 1,863.39 ต่อประชากรแสนคน ผู้เสียชีวิต 12,074 ราย อัตราตาย 18.45 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยรายใหม่ 393,887 ราย คิดเป็นอุบัติการณ์ 602.03 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งมีแนวโน้มคงที่ไม่ลดลง (นพ.อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์) ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพ ที่ไม่ถูกต้อง คือขาดการออกกำลังกาย มีการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอ แม้ประชาชนจะมีความรู้ แต่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง  “มีผลการวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า การควบคุมอาหารอย่างดี รวมถึงการออกกำลังกายเป็นประจำ ส่งผลโดยตรงต่อการป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงสูงทางกรรมพันธุ์ อีกทั้งยังเป็นการควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และป้องกันโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานเพราะการควบคุมอาหารอย่างถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูง”

        การรักษาโรคเรื้อรังโดยการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์จึงไม่เพียงพอ เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือประชาชนทั่วไปต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น ค่ายเบาหวานหรือกิจกรรมชมรมอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเช่นคนปกติโดยปราศจากโรคแทรกซ้อนในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่พบผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 216 ราย โรคความดันโลหิตสูงจำนวน 642 ราย กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน 529 ราย กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 12 ราย มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ ในปี พ.ศ.2562 และ ปีพ.ศ.2563 จำนวน 27 ราย , 30 ราย ตามลำดับ และพบผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ ในปี พ.ศ.2562 และ ปีพ.ศ.2563 จำนวน 14 ราย,11 ราย ตามลำดับ

        ด้วยความตระหนักถึงปัญหาและภัยของภาวะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยง-ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีสุขภาพที่ดี มีความรู้ดูแลตนเอง ลดเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อน ในการสูญเสียของประชากร

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

80.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และลดภาวะแทรกซ้อนได้

ร้อยละ 80 ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง  และภาวะแทรกซ้อนได้อย่างยั่งยืน

80.00
3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น

ร้อยละ 80 ของประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 6,900.00 1 6,900.00
21 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้ 60 6,900.00 6,900.00
  1. เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา
  2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
  3. ประสานงานกับ อสม.ทั้ง 7 หมู่บ้าน เพื่อเตรียมสถานที่กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเป้าหมาย ตามวันเวลาที่ออกดำเนินการ
  4. ประชุมชี้แจงแก่คณะทำงาน
  5. ดำเนินการตามโครงการ โดยแบ่งเป็น   5.1 จัดอบรมกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานจำนวน 30 คน และโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 30 คน   5.2 ติดตามพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง   5.3 ติดตามเยี่ยมและแนะนำในรายที่มีปัญหาไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ กลุ่มเสี่ยงที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้และมีค่าน้ำตาลและความดันโลหิตสูงเพื่อส่งเข้าคลินิกรักษาต่อ
  6. สรุป/ประเมินและรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 80 ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
  2. ร้อยละ 80 ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนได้อย่างยั่งยืน
  3. ร้อยละ 80 ของประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2563 11:46 น.