กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร่วมใจ ลด ละ เลิก บุหรี่ ของ รพ.สต.บ้านฉลุง
รหัสโครงการ 63-L8409-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
วันที่อนุมัติ 20 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 25,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลฉลุง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการสูบบุหรี่ในประเทศไทยทวีความรุนแรง โดยเฉพาะอายุของนักสูบหน้าใหม่ที่ลดน้อยลง และแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม อย่างกว้างขวาง และเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. ๒๕๕๗ ของสำนักงานสติแห่งชาติ พบว่า ประเทศไทยมีผู้สูบบุหรี่ จำนวน ๑๑.๔ ล้านคน อัตราการสูบบุหรี่ในประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ร้อยละ ๒๐. ๗ ต่อประชากรพันคนอยู่ในกลุ่มอายุ ๒๕-๕๙ ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยทำงานมาหาที่สุดร้อยละ ๒๓.๕ รองลงมาคือกลุ่มอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ร้อยละ ๑๖.๖ และกลุ่มอายุ ๑๕-๒๔ ปีร้อยละ ๑๔.๗ ตามลำดับผู้ชาย ร้อยละ ๔๐.๕ และผู้หญิงร้อยละ 2.๒ โดยสูบบุหรี่จากโรงงานอย่างเดียวมากที่สุด ๕.๓ ล้านคน รองลงมาคือบุหรี่มวนเอง ๔.๒ ล้านคน และทั้งบุหรี่โรงงาน/บุหรี่มวนเอง ๑.๙ ล้านคน และมีคนไทยได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านร้อยละ ๒๘.๑ มีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้นราว ๒-๓ แสนคนต่อปีคนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละประมาณ ๕๒,๐๐๐ คนเฉลี่ยวันละ ๑๔๒ คน ชั่วโมงละ ๖ คน และเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากบุหรี่ร้อยละ ๑๒ ของการตายทั้งหมดที่สูบบุหรี่มีโอกาสตายด้วยโรคมะเร็งมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 2๐ เท่า ที่สำคัญ ๑ ใน ๔ เป็นเด็กเล็กที่ตายเพราะได้รับควันบุหรี่มือสองหาการควบคุมการบริโภคยาสูบไม่เข้มแข็งจะมีการตายด้วยโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ถึง ๘ ล้านคน ใน ๒๐ ปีข้างหน้า ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งเป้าหมายไว้ จะดำเนินการเพื่อลดความจำนวนประชากรผู้สูบบุหรี่ที่มีอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป จากปัจจุบันร้อยละ ๑๙.๙ ให้เหลือร้อยละ ๑๖.๗ และลดอัตราการรับควันบุหรี่มือสอง ให้เหลือร้อยละ ๒๕ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฉลุง ตำบลฉลุงอำเภอเมือง จังหวัดสตูล เล็งเห็นถึงปัญหาการสูบบุหรี่ ซึ่งยังมีอยู่เป็นจำนวนมากสมควรที่จะต้องดำเนินการแก้ไขจึงได้จัดทำโครงการ ร่วมใจ ลด ละ เลิกบุหรี่ ตำบลฉลุง อำเภอเมือง  จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ขึ้นเนื่องจากบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตอันดับต้นของคนไทยที่สามารถป้องกันได้โดยการช่วยเหลือให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบและป้องกันหรือลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่ให้ห่างไกลจากการสูบบุหรี่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. ประชาชน มีความรู้ ถึงพิษภัย และโทษของบุหรี่ ๒. ประชาชนเกิดความตระหนัก ถึงพิษภัย และโทษของบุหรี่

๑. ประชาชนมีความรู้ เรื่องพิษภัย และโทษของบุหรี่ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๘๐ ๒. ชุมชนสามารถรับรู้แนวทางปฏิบัติในการลด ละ เลิก บุหรี่

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

แบ่งการดำเนินงาน เป็น ๓ กิจกรรม กิจกรรมที่ ๑ ขั้นเตรียมการ ๑. ศึกษาสถานการณ์การสูบบุหรี่ ๓ ปี ย้อนหลังและปัจจุบัน ๒. ศึกษาข้อมูลการซื้อขายบุหรี่ในชุมชน กิจกรรมที่ ๒ ดำเนินการ ๑. ประชุมชี้แจ้งผู้ที่เกี่ยวข้อง ๒. วิเคราะห์สถานการณ์นักสูบหน้าใหม่ ๓. เขียนโครงการเสนอกองทุนสุขภาพตำบล ๔. ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน จำนวน ๑๐๐ คน โดยจัดเป็นสองรุ่นๆละ ๑ วัน ๆ ละ ๕๐ คน - รับฟังความคิดเห็นจากบุคคลต้นแบบในการลด ละ เลิก บุหรี่ - รับสมัครบุคคลร่วมกิจกรรม ลด ละ เลิก บุหรี่ เพื่อส่งต่อเข้ารับการรักษาต่อไป ๕. ติดป้ายไวนิลเตือนภัยสร้างความตระหนักถึงพิษภัยบุหรี่ในชุมชน กิจกรรมที่ ๓ ถอดบทเรียน ๑. ร่วมกันถอดบทเรียน และอภิปราย
๒. จัดทำแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาอื่น ๆ เพิ่มเติมยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๓. สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชน มีความรู้ ถึงพิษภัย และโทษของบุหรี่ และสามารถถ่ายทอดสู่คนในชุมชนต่อไปได้อย่างถูกต้อง ๒. ประชาชนเกิดความตระหนักถึงพิษภัย และโทษของบุหรี่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2563 15:35 น.