กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
รหัสโครงการ 63-L8409-02-28
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. รพ.สต. บ้านฉลุง ตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
วันที่อนุมัติ 20 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 34,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรม อสม. รพ.สต. บ้านฉลุง ตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล ตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เป็นตำบลที่มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งประชากรที่อยู่ตามทะเบียนราษฎร์และประชากรแฝง สภาพทางสังคมของประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาหลากหลายพหุวัฒนธรรม อาชีพส่วนใหญ่เกษตรกรรม และรับจ้าง สภาพที่อยู่อาศัยกึ่งเมือง มีการคมนาคมสะดวก ทำให้มีการเดินทางไปประกอบอาชีพหลายพื้นที่ ส่งผลให้เกิดการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพ ตำบลฉลุงจึงได้รับวัฒนธรรม และประเพณี จากประเทศมาเลเซียค่อนข้างมาก เช่นการแต่งงานเร็วมีบุตรมากเป็นต้น ตำบลฉลุง มีประชากรโดยรวมประมาณ ๑๕,000 คน ส่งผลให้เกิดปัญหาสาธารณสุขค่อนข้างมาก เช่น เด็กมีพัฒนาการล่าช้าเด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการ ปัญหายาเสพติดของเยาวชนปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ปัญหาโรคเรื้อรังปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุและผู้พิการ ปัญหาผู้ป่วยติดเตียงเป็นต้น และจากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข  เน้นส่งเสริมสุขภาพการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดการใช้ยาในการรักษาโรค และปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ และเพื่อป้องกันการเสียชีวิต ก่อนวัยอันควรลดการเจ็บ และปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ เน้นการดำเนินการเพื่อสนับสนุนการพึ่งตนเองของประชาชน และการมีส่วนร่วมในการจัดการกับสภาวะสุขภาพของตนเอง บุคคล และชุมชน ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านฉลุง ตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ได้เห็นความสำคัญของการป้องกันโรค และปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้แก่แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ได้เป็นตัวแทนในการถ่ายทอดให้ประชาชนในชุมชนได้มีความรู้ความสามารถ พัฒนาตนให้มีสุขภาวะที่ดีทั้งทางด้าน กาย จิต สังคม และสติปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี ตลอดจนชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อต้องการส่งเสริมให้แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว มีความรู้ความสามารถและส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกายและการรับมือกับภาวะเครียดเพิ่มขึ้น ๒. เพื่อต้องการส่งเสริมให้แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวมีความรู้ความสามารถและส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารมากขึ้น

๑. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวมีความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย และการรับมือกับภาวะเครียด  เพิ่มขึ้นร้อยละ ๘๐ ๒. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวมีความรู้ เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารมากเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๘๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ธีดำเนินการ
๑. ประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้อง ๒. วิเคราะห์พฤติกรรมสุขภาพของคนในชุมชน ๓. เขียนโครงการเสนอกองทุนสุขภาพตำบล
๔. ดำเนินการจัดอบรมแก่แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวทั้งสิ้น ๘๐ คนโดยจัดเป็น ๒ รุ่น ๆ ละ ๒ วัน ๆ ละไม่เกิน ๔๐ คน
๔.๑ ส่งเสริมการออกกำลังกายและการรับมือกับภาวะเครียด ๔.๑.๑ ให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจน
๔.๑.๒ ให้ความรู้เรื่องการรับมือกับภาวะเครียด ๔.๒ ส่งเสริมสนับสนุนการบริโภคอาหารปลอดสารพิษและปลูกผักกินเอง
๔.๒.๑ จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ
๔.๒.๒ สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผัก
๔.๓ ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพ
๔.๓.๑ ให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะการคัดแยกขยะและการนำขยะไปใช้
๔.๓.๒ รณรงค์การจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน ๕. สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวมีความรู้ และส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชน เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลัง และการรับมือกับพระเครียดมากขึ้น ๒. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวมีความรู้ และส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารมากขึ้น
๓. แกนนำสุขภาพประจ้าครอบครัวมีความรู้ และส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการจัดการสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2563 09:42 น.