กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการครอบครัวห่วงใย ใส่ใจสุขภาพจิต
รหัสโครงการ 60-L3368-1(4)
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลศรีบรรพต
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 สิงหาคม 2560 - 25 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 5,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลศรีบรรพต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.645,99.878place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 12 ก.ค. 2560 12 ก.ค. 2560 5,400.00
รวมงบประมาณ 5,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อำเภอศรีบรรพต เป็นอำเภอเล็กๆ แต่มีผู้ป่วยที่เป็นโรคทางจิตเวชจำนวนมาก จากข้อมูล คลินิกสุขภาพจิตโรงพยาบาลศรีบรรพต ปีงบประมาณ 2559 มีผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 90 คน(ตำบลตะแพน 26 คน ) ผู้ป่วยไบโพลาร์ จำนวน 4 คน(ตำบลตะแพน 1 คน) ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จำนวน 188 คน(ตำบลตะแพน 43 คน) ผู้ป่วยโรคตื่นตระหนัก จำนวน 60 คน(ตำบลตะแพน 14 คน) ในปีงบประมาณ 2559 มีผู้ป่วยจิตเวช มีอาการกำเริบ 6 คน (ตำบลตะแพน 2 คน) ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลับเป็นใหม่ จำนวน 2 คน คลินิกสุขภาพจิต กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลศรีบรรพต ร่วมกับ รพ.สต.ตะแพน รพสต.บ้านท่าข้ามและรพ.สต.บ้านสวนโหนด จึงได้จัดทำโครงการ ครอบครัวห่วงใย ใส่ใจสุขภาพจิต ขึ้น โดยจัดการอบรมในผู้ป่วยและญาติหรือผู้ดูแลหลัก เน้นในการดูแลผู้ป่วย จิตเวช ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอาการรุนแรง โดยการพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยของญาติหรือผู้ดูแลหลัก รวมถึงการดูแลตัวเองของผู้ป่วย ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติตามศักยภาพของตนเองต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้องเพื่อมอบหมายหน้าที่ในการจัดทำโครงการ 2.เตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ และสถานที่ในการจัดทำโครงการ 3.จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ หรือผู้ดูแล เกี่ยวกับโรคทางจิตเวชและการดูแล 4.เยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการรุนแรง หรือขาดการรักษาที่ต่อเนื่องร่วมกับแกนนำเครือข่ายอสม. 5.สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดี และมีทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช 2.ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการดูแลแบบองค์รวมตามมาตรฐาน 3.ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการรักษาต่อเนื่องและไม่มีอาการกำเริบกลับเป็นซ้ำ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2560 09:52 น.