กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย ห่างไกลโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 63-L8278-01-010
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลบันนงสตา
วันที่อนุมัติ 3 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2563 - 18 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 25,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพาตีเม๊าะ ฮามิดง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.25,101.233place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค การระบาดของโรคเกิดได้ทั้งปีโดยเฉพาะช่วงฤดูฝน จะพบผู้ป่วยจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้น้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ เพิ่มประชากรของยุงเป็นอย่างดี การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ ควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงลายก่อนจะถึงช่วงการระบาดของโรคเพื่อลดจำนวนยุงลายในพื้นที่
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 – 3 กันยายน 2562 พบผู้ป่วย 81,500 ราย เสียชีวิต 89 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ในปีนี้พบในกลุ่มเด็กเล็ก เด็กวัยเรียน และวัยผู้ใหญ่ตอนต้น พบมากสุดในกลุ่มอายุ 1-14 ปี รองลงมา 15-34 และเด็กแรกเกิด - 4 ปี ตามลำดับ ในตำบลบันนังสตา ตั้งแต่ 1 มกราคม 2562 – 31 ตุลาคม 2562 พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 167 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1235.4 ต่อแสนประชากร และมีแนวโน้มที่จะมีการระบาดเพิ่มขึ้น ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก ได้แก่ การเพิ่มของจำนวนประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้นยุงลายก็จะเพิ่มมากขึ้นตามภาชนะขังน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น การคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศทำให้มีการเดินทางมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกี่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และหากมีการติดเชื้อซ้ำอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิต
    จากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคไข้เลือดออกปี 2562 พบว่าประชาชนยังมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องในเรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออกดังนี้
พบว่าไม่เคยนอนในมุ้งหรือมุ้งลวดในเวลากลางวันร้อยละ 28 เก็บและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายไม่ให้มีน้ำขังเป็นบางครั้งร้อยละ 50 ไม่เลี้ยงปลาหางนกยูงหรือใช้ทรายอะเบท เพื่อกำจัดลูกน้ำร้อยละ 30 สวมใส่เสื้อแขนยาวกางเกงขายาวเพื่อป้องกันยุงกัดบางครั้งร้อยละ 49 ไม่เคยทายากันยุงเพื่อป้องกันยุงกัดร้อยละ 16 จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าประชาชนยังมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องเรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออกซึ่งจะส่งผลให้การระบาดของโรคไข้เลือดออกมีการระบาดอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลบันนังสตา จึงได้หาแนวทางแก้ปัญหาที่พบโดยการจัดทำโครงการ ”โรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย ห่างไกลโรคไข้เลือดออก” ปีงบประมาณ 2563 เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกโดยเริ่มจากโรงเรียนสู่ชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนให้มีความรู้ในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้อง เหมาะสม

เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนให้มีความรู้ในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้อง เหมาะสม

0.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนให้มีความรู้ในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้อง เหมาะสม

ร้อยละ 80 ของโรงเรียนมีค่า CI = 0

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ
  2. ชี้แจ้งรายละเอียดการดำเนินงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ครูอนามัยโรงเรียน และอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน
  3. กำหนดวัน เวลาและสถานที่ในการดำเนินโครงการแต่ละโรงเรียน
  4. เตรียมสื่อแผ่นพับเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก แบบประเมินความรู้และพฤติกรรมโรคไข้เลือดออก
  5. ดำเนินโครงการตามแผนที่กำหนด
  6. ประเมินผลการดำเนินงาน
  7. สรุปผลโครงการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
  2. ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก
  3. มีเครือข่าย/แกนนำสุขภาพการป้องกันโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนครอบคลุมทุกพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ