กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์
รหัสโครงการ 63-L8278-01-015
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือซู
วันที่อนุมัติ 3 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2563 - 18 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 29,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฟาอีซะ รงโซะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.25,101.233place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจางถือเป็นความผิดปกติทางระบบเลือดที่พบได้บ่อยที่สุดในสตรีตั้งครรภ์โดยมีอุบัติการณ์เฉลี่ยร้อยละ42 ของการตั้งครรภ์แต่ในประเทศที่กำลังพัฒนาพบความชุกมากถึงร้อยละ 35-75 และจะมีความรุนแรงที่มากขึ้นดังมีรายงานการเสียชีวิตของมารดาสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางถึงร้อยละ20โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบแอฟริกาและเอเชียตอนใต้โดยสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากภาวะขาดธาตุเหล็กสถานการณ์ภาวะโลหิตจางของสตรีตั้งครรภ์ไทยจากรายงานของกรมอนามัยพบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีร้อยละ20-30 จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือซู ปี2561 และ 2562 พบว่าผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดในเรื่องภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 37.50 และ ร้อยละ 31.87(เป้าไม่เกินร้อยละ10)จะเห็นได้ว่าผลการดำเนินงานภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์มีแนวโน้มลดลงแต่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดดังกล่าว
ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือซู ได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ เพื่อหาแนวทางการดูแลและป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวส่งเสริมให้มีการเตรียมความพร้อมก่อนแต่งงาน สนับสนุนหญิงวัยเจริญพันธุ์ได้รับความรู้โภชนาการและปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงการรับประทานยาเสริมธาตุเหล็กอย่างสม่ำเสมอตลอดจนในหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพมีการปฏิบัติตนได้ถูกต้องระหว่างตั้งครรภ์เพื่อส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธ์

อัตราภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ลดลง ร้อยละ10

0.00
2 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์มีความรุ้และสามารถปฏิบัติตนเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง

หญิงวัยเจริญพันธุ์ มีความรู้ในการป้องกันและปฏิบัติตนเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขออนุมัติโครงการ และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.คัดกรองตรวจความเข้มข้นของเลือดหญิงวัยเจริญพันธุ์
3.อบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ เรื่องภาวะโลหิตจาง, โภชนาการและปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ที่มีธาตุเหล็กสูงและการรับประทานยาเสริมธาตุเหล็กอย่างสม่ำเสมอ จำนวน 2 รุ่นๆละ70 คน 4.ติดตามและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ลดลง ร้อยละ10 2.หญิงวัยเจริญพันธุ์ความรู้ในการป้องกันและปฏิบัติตนเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ