กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุม และป้องกันโรคติดต่อ ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 2563-L3306-2-045
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. หมู่ที่ 9 บ้านโล๊ะจังกระ
วันที่อนุมัติ 7 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 14,380.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเหมันต์ มณีโรจน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อเป็นโรคที่ต้องมีการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา เช่น โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคไข้เลือดออก โรคตาแดง โรคอาหารเป็นพิษ โรคสุกใส โรคมือเท้าปาก ฯลฯ การแพร่ระบาดของโรคติดต่อมักมีโอกาสที่จะแพร่กระจายได้ง่ายและรวดเร็ว ผลกระทบที่ร้ายแรงคือการทาให้อวัยวะทุกส่วนในร่างกายล้มเหลว อาจถึงแก่ชีวิตได้ จากการคืนข้อมูลสุขภาพของชุมชน พบว่า สถานการณ์โรคติดเชื้อในชุมชนยังคงมีโรคที่ระบาดอยู่เป็นประจาทุกปี แม้ไม่มีอัตราป่วยตายก็ตาม แต่ผู้ป่วยก็จะได้รับความทุกข์ทรมานจากการเป็นโรคและสูญเสียค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น โดยระยะเวลา 5 ปีย้อนหลัง (ปี 2558-2562) พบอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเป็นอันดับหนึ่งและมีแนวโน้มแพรระบาดทุกปี ได้แก่ 1,024.98 , 1,102.36 ,1,700.57 , 1,514.25 และ 1,179.64 ต่อแสนประชากรตามลำดับ , โรคไข้เลือดออก อัตราป่วย 334.82 , 517.78 , 100.40 ,64.56 และ 226.76 ต่อแสนประชากรตามลาดับ , โรคตาแดง อัตราป่วย 160.15 , 503.94 , 300.10 , 59.38 และ 33.70ต่อแสนประชากรตามลาดับ , โรคอาหารเป็นพิษ อัตราป่วย 128.12 , 220.47 , 300.10 , 29.69 และ 33.70ต่อแสนประชากรตามลาดับ , โรคสุกใส อัตราป่วย 32.03 , 125.98 , 33.34 , 89.07 และ 33.70 , โรควัณโรค อัตราป่วย 64.06 , 31.50 ,66.69 , 29.69 , 0 , 0 ต่อแสนประชากรตามลาดับ รวมถึงในปี 2562 เกิดโรคมือเท้าปากขึ้นในโรงเรียน จาวน 1 ราย อัตราป่วย 34.53 ต่อแสนประชากรตามลำดับ (ข้อมูล:กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง ณ วันที่ 1 ม.ค. – 27 พ.ย. 2562) ซึ่งจากการระบาดของโรคดังกล่าวข้างต้น จะทำให้มีโอกาสเกิดโรคระบาดซ้ำอยู่ในปีถัดไป ซึ่งอาจมีปัจจัยของภัยสุขภาพอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องได้แก่ ขยะ มูลสัตว์ น้าโสโครกที่ทาให้เกิดโรคกับประชาชนในชุมชนได้ เช่น ถังขยะไม่มีการเก็บที่มิดชิด เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน สุนัขหรือแมวกัดกินอาหารและขยะตามถังเก็บขยะที่ตั้งอยู่หน้าบ้าน, น้ำขังในบ้านเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
    ดังนั้นหากปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้รับการแก้ไข เร่งสร้างความตระหนักในการป้องกันโรค และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการกำจัดโรคในชุมชนอย่างเหมาะสม จะทำให้อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อและผลกระทบด้านสุขภาพต่อประชาชนในชุมชนลดลง ประชาชนในชุมชนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขด้วย  สุขภาวะที่ดี ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 9 บ้านโล๊ะจังกระ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุงรวมถึงภาคีเครือข่ายอื่นๆ ในชุมชน ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาโรคติดต่อและปัจจัยของภัยสุขภาพอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จึงดำเนินการจัดโครงการควบคุม และ ป้องกันโรคติดต่อ ปีงบประมาณ 2563 ขึ้น เพื่อดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ รวมถึงเป็นการสร้างเกราะป้องกันและรณรงค์ให้เกิดจิตสำนึกของชุมชนให้มีส่วนร่วมในการสร่างสุขภาพที่ดี ส่งผลต่อการลดลงของอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชนของและการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

1 ลดอัตราป่วย(Incidence Rate) ของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ ไม่เกิน ๘๐ ต่อแสนประชากร 2 ไม่มีอัตราป่วยตาย(Case Fatality Rate) ด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ 3 อัตราการค้นพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เสมหะบวกในกลุ่มเสี่ยงร้อยละ ๗๐

0.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้

1 ลดอัตราป่วย(Incidence Rate) ของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ ไม่เกิน ๘๐ ต่อแสนประชากร 2 ไม่มีอัตราป่วยตาย(Case Fatality Rate) ด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ 3 อัตราการค้นพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เสมหะบวกในกลุ่มเสี่ยงร้อยละ ๗๐

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ มีความตระหนัก และร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือน ชุมชนของตนเอง ร่วมกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะ

1 มีการพัฒนาศักยภาพทีม SRRT ของหน่วยบริการ ๑  ครั้ง/ ปี
2 หมู่บ้านมีค่า HI<๑๐ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ 3 สถานที่ราชการ โรงเรียน วัด มีค่า CI=๐ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐๐ 4 หมู่บ้านทุกหมู่บ้านมีอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือน (House Index) ไม่เกิน ร้อยละ ๑๐
5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  สถานบริการสาธารณสุข  และวัด  ในพื้นที่รับผิดชอบปลอดลูกน้ำยุงลาย

0.00
4 เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน มีส่วนร่วมและดำเนินการควบคุมโรค

1 มีการพัฒนาศักยภาพทีม SRRT ของหน่วยบริการ ๑  ครั้ง/ ปี
2 หมู่บ้านมีค่า HI<๑๐ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ 3 สถานที่ราชการ โรงเรียน วัด มีค่า CI=๐ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐๐ 4 หมู่บ้านทุกหมู่บ้านมีอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือน (House Index) ไม่เกิน ร้อยละ ๑๐
5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  สถานบริการสาธารณสุข  และวัด  ในพื้นที่รับผิดชอบปลอดลูกน้ำยุงลาย

0.00
5 เพื่อพัฒนาคุณภาพการควบคุมวัณโรคโดยกลยุทธ์ DOTS ให้มีคุณภาพทำให้เพิ่มอัตราการรักษาหาย/รักษาสำเร็จ

1 อัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค ( Success  rate )  มากกว่า  ร้อยละ ๙๐
2 อัตราการรักษาหาย ( Cure  rate ) มากกว่า ร้อยละ ๙๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 25 14,380.00 4 14,380.00
20 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดณรงค์ในชุมชน 0 0.00 -
20 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 พ่นหมอกควันใน ศพด. 0 800.00 800.00
20 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 ควบคุมโรคขณะเกิดโรค 0 1,500.00 1,500.00
8 - 30 ก.ย. 63 เฝ้าระวังและคัดกรองโรคติดต่อในชุมชน 0 5,500.00 5,080.00
8 - 30 ก.ย. 63 ประชุมอบรมติดตาม สรุปผล 25 6,580.00 7,000.00

๑.๑ ในชุมชน (๑) จัดรณรงค์ในชุมชนภายใต้กรอบแนวคิด “ทุกวันศุกร์ กำจัดลูกน้ำยุงลาย ไม่มีลูกน้ำ ก็ไม่มีไข้เลือดออก (๒) จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ครู
ประชาชน ผู้นำศาสนาเพื่อระดมความคิดในการสร้างกระแสชุมชน และ มีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรค (๓) จัดประชุมอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน เพื่อชี้แจงการดำเนินงาน การจัดกิจกรรม ตามโครงการความรู้โรค การป้องกันโรค และการควบคุม (๔) จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในโครงการฯ เอกสารให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก ทราย กำจัดลูกน้ำยุงลาย น้ำมันดีเซลใช้ผสมสารเคมี และน้ำมันเบนซิน สารเคมีที่ใช้พ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย (๕) ประชาสัมพันธ์โดยการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์  แผ่นพับ  ชี้แจงทางหอกระจายข่าว ของหมู่บ้าน และในที่ประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีการจัดสภาพแวดล้อม ปรับปรุงสภาพสุขาภิบาลในบ้าน/บริเวณบ้าน อย่างพร้อมเพรียงกันในทุกวันศุกร์ เพื่อเป็นการลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และให้ความรู้โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง โรคมือเท้าปาก โรคคางทูม โรคที่มีแนวโน้มจะระบาดเกิดขึ้นใน ปี ๒๕๕๘ ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคตาแดง และโรคมือเท้าปาก
(๖) คณะกรรมการสำรวจลูกน้ำยุงลายระดับหมู่บ้านลงสำรวจลูกน้ำ เพื่อสำรวจบริเวณบ้านให้ สะอาดสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย
(๗) ประธาน อสม.และคณะกรรมการ สรุปผลการดำเนินการตามโครงการ ฯ ของเขตที่ รับผิดชอบส่งหน่วยบริการ (๘) คณะกรรมการควบคุมโรคระดับหมู่บ้านอภิปรายปัญหา พร้อมหาแนวทางแก้ปัญหา เป็น แนวทางการปฏิบัติงานในปีต่อไป
(๙) คณะกรรมการควบคุมโรคระดับหมู่บ้านสรุปและรายงานผล
๑.๒ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (๑) การควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ (๒) ติดต่อประสานงานขอความร่วมมือไปยังศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในการควบคุมและทำลาย แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์อย่างพร้อมเพรียงกัน พร้อมส่งแบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย (๓) สนับสนุนทรายอะเบทให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้เพียงพอต่อการใช้งาน (๔) สำรวจลูกน้ำยุงลายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดย อสม. ที่รับผิดชอบทุกเดือน (๕) ดำเนินการพ่นเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย  ใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเปิดเทอม จำนวน ๒ เทอม ๆ ละ ๒ ครั้ง รวมเป็น ๔ ครั้ง โดยห่างจากครั้งแรกภายใน ๗ วัน (๖) ลงพื้นที่ศพด.เพื่อคัดกรองโรคติดต่อในเด็กนักเรียนเป็นประจำทุกเดือน ได้แก่ โรคตาแดง โรคมือเท้าปาก และโรคคางทูม
๑.๓ ในวัด สถานบริการสาธารณสุข และสถานที่ราชการต่าง ๆ
(๑) ติดต่อประสานงานขอความร่วมมือในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในทุกวัน ศุกร์ (๒) สำรวจลูกน้ำยุงลายในวัด สถานบริการสาธารณสุข และสถานที่ราชการต่างๆโดยอสม. ที่ รับผิดชอบทุกเดือน (๓) สนับสนุนทรายอะเบทให้เพียงพอต่อการใช้งาน (๔) สนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการควบคุมลูกน้ำยุงลาย ๒.การดำเนินการขณะเกิดโรค ๒.๑ ตรวจสอบข้อมูล และประสานผู้เกี่ยวข้องเพื่อทำการควบคุมและป้องกันโรค ๒.๒ พ่นเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย และรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์  ให้ความรู้ประชาชน
ภายใน ๒๔ ชั่วโมง หลังได้รับรายงานการเกิดโรค ๒.๓ ทำการสอบสวนโรค ค้นหาสาเหตุ และเขียนรายงานการสอบสวนเสนอต่อผู้บริหารให้ รับทราบ ๓.การดำเนินการหลังเกิดโรค ๓.๑ รณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง ๔.ดำเนินการตามคุณลักษณะสู่ตำบลควบคุมโรคเข้มแข็ง ๔.๑ คุณลักษณะที่ ๑ (๑) ประชุมประชุมของคณะกรรมการ ๑ ครั้ง/ปี ๔.๒ คุณลักษณะที่ ๒ (๑) ประชุมทีม SRRT เครือข่ายระดับตำบลปีละ ๒ ครั้ง (๒) พัฒนาศักยภาพทีม SRRT โดยการควบคุมและสอบสวนโรค ๑ ครั้ง/ปี จัดอบรมทบทวน
“การเฝ้าระวังเหตุการณ์” แก่ SRRT เครือข่ายระดับตำบล และการแจ้งเตือนข่าวภัยคุกคามทางสุขภาพและการบันทึกข้อมูลทางเครือข่ายSRRT ตำบล           (3) จัดอบรมทีม SRRT น้อย เพื่อเฝ้าระวังโรคติดต่อในพื้นที่
(4) จัดทำรายงานสถานการณ์ทุกเดือน ๔.๓ คุณลักษณะที่ ๓ ซ้อมแผนรองรับการควบคุมโรค/ภัยฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับอำเภอ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ๔.๔ คุณลักษณะที่ ๔ ระดมทรัพยากรหรือการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเป็นรูปธรรม ๔.๕ คุณลักษณะที่ ๕ ประชุมสรุปผลสำเร็จของการควบคุมโรคที่สำคัญตามนโยบายกระทรวง สาธารณสุขและโรคที่เป็นปัญหาในพื้นที่อย่างน้อยประเด็นละ ๑ เรื่อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ๒. ลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ ๓. ประชาชนมีความรู้ มีความตระหนัก และร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือน ชุมชนของตนเอง ร่วมกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะ
๔. ประชาชน ชุมชน มีส่วนร่วมและดำเนินการควบคุมและป้องกันโรค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2563 17:13 น.