กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ อนุกรรมการ และคณะทำงานในกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปาดัง ประจำปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L8301-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปาดัง
วันที่อนุมัติ 17 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 4,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวีระ โรจนอาชา
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจอ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 พ.ค. 2560 29 ก.ย. 2560 4,850.00
รวมงบประมาณ 4,850.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปาดัง ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ดำเนินงานหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อให้การบริหารจัดการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณในด้านการสร้างสุขภาพการป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพโดยการดำเนินกิจกรรม 4 ประเภท คือ กิจกรรมการบริหารตามชุดสิทธิประโยชน์ , กิจกรรมสนับสนุนงบประมาณแก่หน่วยบริการสาธารณสุข, กิจกรรมสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพโดยประชาชนและชุมชนในท้องถิ่น และกิจกรรมการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาศักยภาพกรรมการโดยดำเนินเป็นกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม คือ กลุ่มแม่และเด็ก , กลุ่มผู้สูงอายุ, กลุ่มผู้พิการ ,กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง การจัดประชุม / อบรม เพื่อพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นกลไกลสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพราะทำงานบุคคลสำคัญในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และภาคประชาชนที่ทำให้เกิดการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนและเรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาการดำเนินงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพซึ่งส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อมและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ดังนั้น คณะทำงานจึงจำเป็นต้องพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการบริหารงานกองทุนฯ เพื่อให้คณะทำงาน มีความรู้ ความเข้าใจในกฎเกณฑ์ ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งวิธีการปฏิบัติงานในปัจจุบันที่ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับภารกิจที่ระบุในข้อตกลงดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปาดัง จึงได้ดำจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ อนุกรรมการ และคณะทำงานในกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปาดัง ประจำปีงบประมาณ 2560 นั้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ คณะทำงานที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานและบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่น หรือพื้นที่ตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ

สามารถขับเคลื่อนงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานและเป้าหมายของโครงการดังกล่าว

2 2. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ ระเบียบ ประกาศและคำสั่งที่เกี่ยวข้องการบริหารจัดการและดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และคณะกรรมการคณะทำงานของกองทุนฯ

มีความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ ระเบียบ ประกาศ คำสั่งได้อย่างถูกต้อง และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดประชุมอบรมแนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่แก่คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปาดัง 2.ติดตาม ประเมินผล ความรู้ของคณะทำงาน จากผลการดำเนินงานของกองทุนฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คณะกรรมการกองทุนฯ ,คณะอนุกรรมการ, และคณะทำงานกองทุนฯ เทศบาลตำบลปาดัง มีความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การดำเนินงาน และทิศทางระเบียบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
  2. คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ สามารถจัดการบริหารกองทุนฯ และมีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ครอบคลุม 100%
  3. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น มีการบันทึกข้อมูลผ่านโปรแกรมออนไลน์และมีฐานข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานของกองทุนฯ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในงานส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมป้องกันโรคเรื้อรังในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2560 09:21 น.